เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. จากกรณีตามที่ได้เสนอข่าว ช้างแม่พังสร้อย ที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณปากข้างซ้ายฟันล่าง ทนเจ็บมาประมาณหนึ่งเดือนกว่าที่ผ่านมา ไม่สามารถให้นมลูกช้างเพศผู้ ช่วยรักษาแม่พังสร้อยทอง พังแม่ลูกอ่อน ที่ทนทุกข์ทรมานจากอาการ ปวด บวม อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ต่อมาช่วงเย็นของวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ได้ร่วมประชุมทีมงานที่เพื่อแบ่ง หน้าที่ในการทำงานครั้งนี้

ช่วงเช้าของวันนี้ เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปทำการรักษาช้างแม่พังสร้อยทันที โดยมีหลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน และผู้ก่อตั้งมูลนิธิพิทักษ์คชสาร เป็นประธานในที่ประชุม นายรัชสิต จงจรัสพร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ น.ส.ลักขนา ประสิทธิชัย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สนง. พื้นที่อนุรักษ์ที่3 น.ส.สุธีราชนนท์ พิพิชมณีธรรม นายสัตวแพทย์ ร.พ.สัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิพิทักษ์คชสาร แนวทางในการรักษาเบื้องต้น สัตวแพทย์ของกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป่ายาซึม เข้าไปที่บริเวณหูช้างแม่พังคำสร้อย และลูกช้างเพศผู้ ด้วยกันทั้งสองตัว การรักษาครั้งนี้จะไม่ใช้ยาสลบ ใช้ยาซึม ออกฤทธิ์ได้ประมาณ 2 ชั่วโมง

หลังจากนั้นทีมสัตวแพทย์ของรพ.สัตว์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะเข้าไปทำการรักษาช้างแม่พังคำสร้อย ทันทีตรวจบริเวณ ใบหน้าข้างซ้าย และฟันข้างซ้ายที่มีอาการปวดบวมอักเสบของ ช้างแม่พังคำสร้อย เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี หลังจากทำการรักษาเสร็จติดตามดูอาการจนกว่า ช้างแม่พังคำสร้อยและลูกเพศผู้จะมีอาการที่ดีขึ้น เพื่อคืนสู่ป่าธรรมชาติ

 น.ส.สุธีราชนนท์ พิพิชมณีธรรม นายสัตวแพทย์ รพ. โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กล่าวว่า ในส่วนแนวทางการรักษาหัตถกรรม การรักษาครั้งนี้ต้องเข้าใจว่า เราไม่ได้ทำการรักษาในโรงพยาบาล การเตรียมความพร้อมให้เรียบร้อยรวมถึง ยารักษา เครื่องมือทางการแพทย์ ไม่น่ามีอะไรในความเป็นห่วง ช้างแม่พังคำสร้อยและลูกช้างเพศผู้ยาซึม ที่ใช้ในการรักษามีความปลอดภัยสูง ในตัวของช้างเองหลังจากที่ได้รับยาเข้าไปยังมีสติดี แค่ซึม ชั่วคราวประมาณ 2 ชั่วโมง จัดเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปทำการรักษา จำกัดบุคคลที่จะเข้าไป เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เอง

นายปฐม แหนมกลาง เจ้าหน้าที่มูลนิธิพิทักษ์คชสาร กล่าวว่า  ช้างพังแม่คำสร้อย และลูกเพศผู้ ตนเองและทีมงานต้อนช้าง มาไว้ที่หมู่บ้านแปลง4 หมู่4 ตำบลห้วยเขย่ง อ.ทองผาภูมิ ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะได้ให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์เข้ามาทำการรักษาให้สะดวกขึ้น ในส่วนของช้างป่าเองของในหมู่บ้านมีอยู่ด้วยกัน 12 ตัว และหมู่บ้านใกล้เคียงยังมีอีก 25 ตัว