สร้างผลกระทบเชิงบวกด้วยการฟื้นฟูและส่งต่อโลกที่น่าอยู่ ร่วมกับบางกอกไพรด์ Drag Bangkok และ Miss Trans Thailand จัดกิจกรรม Citizen of Earth by Siam Piwat Presents The Celebration : Love Earth เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายนของทุกปี

ในปีนี้ได้จัดร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน Bangkok Pride Festival 2024 จัดโดย บางกอกไพรด์ และกรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (Diversity, Equality & Inclusion) ในเดือนแห่งความภาคภูมิใจ (Pride Month) โดยเนรมิตแคตวอล์ก ในพื้นที่ SCBX Next Tech ชั้น 4 สยามพารากอน จัดแสดงแฟชั่นโชว์รักษ์โลก ด้วยการนำเสนอแนวคิดเรื่องการ Upcycle ถ่ายทอดไอเดียการนำกระป๋องนํ้าดื่ม ONESIAM และวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาเป็นผลงานสุดสร้างสรรค์ ผลงานการออกแบบของ “จรัญ คงมั่น” แฟชั่นดีไซเนอร์ชาว LGBTQIAN+ และแสดงแฟชั่นโชว์โดยทูตนฤมิต จากกลุ่มบางกอกไพรด์ และยังมีแฟชั่นโชว์รักษ์โลกจาก Drag Bangkok และตัวแทนผู้เข้าประกวด Miss Trans Thailand ประจำปี 2024

ปิดท้ายด้วยชุดฟินาเล่จากการออกแบบของ “วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์” ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานจากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งนำกระป๋องนํ้า ONESIAM และเศษวัสดุต่าง ๆ มาสร้างสรรค์เป็นเสื้อผ้า แอคเซสซอรี่ แบบครบชุด ภายใต้คอนเซปต์ “A Post-Apocalyptic” ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวของความบิดเบี้ยวและผิดเพี้ยนของธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่โลกถูกทำลาย โดยมี “นัท-นิสามณี เลิศวรพงษ์” ยูทูบเบอร์-อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังชาว LGBTQIAN+ ร่วมเดินแฟชั่นชุดส่งท้ายแคตวอล์ก

นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “สำหรับความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญและมีแนวคิดในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว มาร่วมกันจัดงานครั้งนี้ สยามพิวรรธน์นำกลยุทธ์ ร่วมกันรังสรรค์ (Co-Creation) และการสร้างคุณค่าสมประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย (Creating Shared Values) โดยการนำกระป๋องนํ้าดื่ม ONESIAM ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มจากอะลูมิเนียม สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% และขยะรีไซเคิลอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว มาสร้างมูลค่า ด้วยการสร้างสรรค์ของกลุ่ม LGBTQIAN+ และยังได้รับความร่วมมือจากศิลปินนักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์งานจากวัสดุเหลือใช้ มาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงาน เป็นผลงานแฟชั่นโชว์โดยการ Upcycle ขยะ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้นทุกปี รณรงค์ให้ทุกคนร่วมกันดูแลโลกผ่านแนวคิดบริโภคอย่างยั่งยืน

นราทิพย์ ยังกล่าวด้วยว่า “สยามพิวรรธน์ได้บรรจุการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ โดยเราได้คำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ พื้นที่ที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการบริหารจัดการขยะด้วยแนวคิด เลือก ใช้ แยก สร้าง มุ่งพัฒนาระบบจัดการขยะทั้งห่วงโซ่ และได้ร่วมมือกับพันธมิตรหลายภาคส่วนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ไปจนถึงการสร้างแนวทางปฏิบัติที่จะเป็นต้นแบบให้กับองค์กรอื่น ๆ ทั้งยังส่งเสริมให้คนไทย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียงสามารถมีส่วนร่วม และมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพผ่าน Recycle Collection Center (RCC) และในปี 2566 ที่ผ่านมา เราสามารถนำขยะไปรีไซเคิลและสร้างมูลค่าเพิ่มได้กว่า 4,000 กิโลกรัม คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะกลับไปรีไซเคิล 8,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 860 ต้น”

วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานจากวัสดุเหลือใช้ เผยว่า “เวลาที่เราทิ้งขยะ หรือใช้ทรัพยากรอะไรต่าง ๆ จุดจบส่วนมากไหลลงทะเลทั้งสิ้น ดังนั้นจึงคิดไปว่า ถ้าวันหนึ่งโลกใต้ทะเลของเรากลายเป็นโลกที่มีปะการังมีปลานะ แต่ทุกอย่างกลายร่างเป็นขยะ พลาสติก อะลูมิเนียมไปหมดหน้าตาจะเป็นแบบไหน จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชุด โดยหยิบจับเชฟ ฟอร์ม ประการังต่าง ๆ บางส่วนมาประดับตกแต่ง โดยใช้วัสดุหลักเป็นกระป๋องนํ้าอัดลม กระป๋องอะลูมิเนียมที่ทางสยามพิวรรธน์คัดแยก รวมถึงเสื้อผ้ามือสองโดยร่วมกันคิดกับคุณนัท นิสามณี ว่าแบบไหนที่จะมีความสวยงามและเหมาะกับสรีระของคุณนัท”

“ทุกคนมักจะบอกว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเยอะมาก ๆ ดังนั้นเอ๋มองว่าจริง ๆ แล้วเราสามารถรักษ์โลกและใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้บนความสวยงามที่เกิดขึ้นได้ แต่ว่าความสวยงามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เกิดจากการที่เราหมุนเวียนทรัพยากร เกิดจากการที่เราคิดแต่ต้นทางว่าเราจะเอาทรัพยากรอะไรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดคิดตั้งแต่ต้นทาง สวยได้ รักษ์โลกได้และสามารถนำใช้ในชีวิตประจำวันได้

ดีไซเนอร์หรือศิลปินก็ตามเราใช้ทรัพยากรกันเยอะ แต่ถ้าเราตระหนักขึ้นตั้งแต่ตอนคิดในสเกตช์ตอนแรก นอกจากความสวยแล้ว ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ใส่ใจต่อคุณค่าที่เกิดขึ้น การทำงานต่าง ๆ ขึ้นมา ตอนนี้ทุกคนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเยอะมาก แต่อย่าลืมสนใจเรื่องมิติสังคมด้วยว่า วัสดุที่เราใช้ ขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ เราสามารถจ้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับคนที่อยู่เบื้องหลังได้ไหม จะไม่ใช่แค่การรับบริจาค รับซื้อ อย่างเดียวแต่ทำอย่างไรทำให้คนเบื้องหลังเขาเข้าใจว่าการที่เขาเก็บรวบรวมขยะมาสามารถต่อยอดเป็นอะไรได้บ้าง อย่าลืมให้คอมมินิเคตต่อให้กับคนที่อยู่เบื้องหลังเรา ให้เขาสามารถเอาวิธีจัดการรักษ์โลกไปประยุกต์ใช้ต่อได้ในแบบฉบับของตัวเอง Reduce การลดการใช้ทรัพยากรทุกอย่างต้องใช้ทรัพยากรทั้งสิ้น แต่ถ้าเราใช้ที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ใหม่ได้หรือไม่ และ Reuse การใช้ซํ้าให้มากที่สุด ทุกวัสดุ ทุกอย่างที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราไม่ตระหนักต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือสังคมจะสร้างขยะให้กับโลกเยอะขึ้น” วิชชุลดา ทิ้งมุมมองการสร้างความตระหนักเรื่องการรักษ์โลก
ทิ้งท้าย.