เมื่อเวลา10.00น.วันที่ 5 มิ.ย. ที่อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกทม.2 ดินแดง นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากทม. พร้อมด้วย นางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง นายอํานาจ ปานเผือก รองประธานสภาฯ คนที่สอง และ น.ส.นฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ โฆษกสภากทม. ร่วมกันแถลงผลงานของสภากรุงเทพมหานคร(กทม.) ในวาระการดํารงตําแหน่ง ครบรอบ 2 ปี ซึ่งสภากทม. ถือเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของกทม. มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้งหมด 50 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง

มีอํานาจหน้าที่แยกจากกันกับฝ่ายบริหารกทม. โดยสภากทม.ทําหน้าที่ออกกฎหมาย ติดตามการทํางาน และช่วยสนับสนุนการบริหารกทม. ในขณะที่ฝ่ายบริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบการกําหนดนโยบายและ การบริหารราชการกทม.ให้เป็นไปตามกฎหมาย โดย ส.ก.ชุดปัจจุบัน นับเป็นชุดที่ 13 เริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 และครบวาระการดํารง ตําแหน่ง 2 ปี ในวันที่ 6 มิ.ย.67

โดยตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สภากทม.ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของชาวกทม.อย่างต่อเนื่อง โดยมีหลายภารกิจที่ ส.ก.ร่วมกันดําเนินการให้สําเร็จและเห็นชัดเป็นรูปธรรม อาทิ สะท้อนปัญหากทม.ผ่าน 109 ญัตติ โดย ส.ก. ที่ได้ลงพื้นที่เขตพื้นที่รับผิดชอบของตนเองเพื่อตรวจสอบ รับทราบปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลที่ได้นํามาเป็นกระทู้ ญัตติ เพื่อนํามาอภิปราย สะท้อนภาพให้ฝ่ายบริหารของ กทม.รับทราบ และเร่งแก้ปัญหาต่อไป , จัดตั้งคณะกรรมการสามัญประจําสภากทม. จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษา พิจารณา ติดตาม ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะการ ดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่ของกทม.ทั้งหมด 12 คณะเพื่อร่วมติดตาม ตรวจสอบการทํางานครบทุกมิติ, จัดโครงการ Open House เปิดบ้านต้อนรับเครือข่าย ร่วมเสนอแนะแนวทาง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ฯลฯ

นายวิรัตน์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากภารกิจด้านนิติบัญญัติแล้ว สภากทม. ยังคงเดินหน้าภารกิจด้านการต่างประเทศ เพื่อให้กทม.ก้าวสู่การเป็นมหานครชั้นนําแห่งเอเชีย โดยร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนขยายความสัมพันธ์ สภาบ้านพี่เมืองน้อง ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายของความสัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ

โดยปัจจุบันสภากทม.ได้ทําข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างเมืองต่างๆ ทั้งหมด 17 เมือง มีวัตถุประสงค์สําคัญ คือ การหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหารจัดการเมือง การท่องเที่ยว การขนส่งสาธารณะ การศึกษา การพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสนใจจากการเยือนสภาเมืองต่างๆ เช่น ด้านสวัสดิการและการดูแลผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น สมาร์ทซิตี้เมืองอัจฉริยะของกรุงโซลที่มีการขยายตัวของเมืองอย่าง รวดเร็ว การแลกเปลี่ยนนักเรียนอาชีวะจากไทยมายังนครคุนหมิง การควบคุมมลพิษทางอากาศ และการป้องกันน้ำท่วมของ มองโกเลีย ซึ่งจะนํามาปรับใช้กับการบริหารงานของสภากทม. ในการพัฒนาเมืองให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.