“ญี่ปุ่น” ประกาศแผนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ หรือมุ่งไปสู่ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Nuetral) 100% ภายในปี 2593 (ปี ค.ศ. 2050) เป็นความมุ่งมั่นอันน่าชื่นชม แต่กระบวนการทั้งหมดอยู่ในช่วงเริ่มต้น แน่นอน! บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ระดับโลก ได้ขานรับนโยบายและมุ่งมั่นพัฒนายานยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยใช้พลังงานสะอาดอย่าง “ไฮโดรเจน” อย่างต่อเนื่องนับ 10 ปี

และเพื่อให้เห็นพลังงานสะอาด 100% อย่างไฮโดรเจน ถูกนำมาใช้กับรถยนต์ในอนาคตอย่างปลอดภัยและยั่งยืนได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ ซึ่งผู้นำโตโยต้า อย่าง นายอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหาร ของโตโยต้า ถอดหมวกผู้บริหาร มาสวมชุดแข่งในนาม MORIZO และเจ้าของทีม ROOKIE RACCING ใช้รถจีอาร์ โคโรลล่า ไฮโดรเจน คอนเซปต์ หมายเลข 32 ส่วนลูกชายก็ขับโตโยต้า จีอาร์ 86 คอนเซปต์ หมายเลข 28 ใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นรถแข่งในสนามที่ทำการทดสอบความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยกัน

ที่ผ่านมาการส่งรถทั้ง 2 คันลงแข่งในรายการใหญ่ ที่บุรีรัมย์ 2 ครั้งใช้ “ก๊าซไฮโดรเจน” ทำให้การเติมเชื้อเพลิงมีอุปสรรคมาก อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันในรายการ  ENEOS Super Taikyu Series 2024 Empowered by BRIDGESTONE หรือ Super Taikyu Series ที่สนามฟูจิ สปีดเวย์ (FSW) ครั้งนี้ มีการพัฒนาจากก๊าซไฮโดรเจน เป็น “ไฮโดรเจน เหลว” โดยรถสามารถเติมเชื้อเพลิงจากภายใน PIT ได้เลย ใช้เวลาเช่นเดียวกับการเติมน้ำมัน

นอกจากนี้ เปลี่ยนจากถังเชื้อเพลิงทรงกระบอกวงกลมเป็นทรงกระบอกวง ซึ่งการใช้ไฮโดรเจนเหลวมีข้อดีอยู่ 2 ข้อด้วยกัน คือ ข้อแรกเมื่อเปลี่ยนจากก๊าซเป็นของเหลวจะทำให้ความหนาแน่นของพลังงานต่อหน่วยปริมาตรสูงขึ้น ข้อดีข้อที่สองคือสามารถใช้งานไฮโดรเจนเหลวที่แรงดันต่ำได้ทำให้ออกแบบถังให้มีรูปทรงแตกต่างจากเดิมได้จากข้อดีสองข้อนี้ เราสามารถบรรจุเชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้มากขึ้น 2.5 เท่า

ขณะเดียวกันปั๊มจ่ายไฮโดรเจนมีความคงทนมากขึ้น ปั๊มนี้เป็นชิ้นส่วนที่ยากสุดสำหรับเครื่องยนต์ไฮโดรเจน ปีที่แล้วเราต้องเปลี่ยนปั๊ม 2 ครั้ง สำหรับการวิ่ง 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เพราะว่าคงทนไม่พอ แต่ปีนี้เปลี่ยนมาใช้ปั๊มนี้ ทำให้ความคงทนเพิ่มมากขึ้น จึงตั้งเป้าที่จะไม่เปลี่ยนปั๊มเลย

สำหรับรถแข่งไฮโดรเจน ได้พัฒนาขึ้นมาชัดเจน จากเดิมการเติมก๊าซไฮโดรเจน 1 ครั้ง รถวิ่งได้ราว 10 รอบ ก็ต้องออกมาเติม แต่ทว่าครั้งนี้เชื้อเพลิง 1 ถังวิ่งได้ 30 รอบ หรือราว 135 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ผลการแข่งขันครบ 24 ชั่วโมง พบว่ารถทั้ง 2 คัน สามารถทดสอบความแข็งแกร่ง ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่น่าพอใจ โดยรถหมายเลข 28 ทำรอบได้ 640 รอบ คว้าอันดับที่ 4 บนโพเดี้ยม ในขณะที่รถหมายเลข 32 สามารถวิ่งจนจบการแข่งขันได้สำเร็จ ทำผลงานทั้งสิ้น 332 รอบ จากรถที่เหลืออยู่เพียง 8 คัน ในคลาส ST-Q

Class : ST-Q

PosNoCarLapTTL TimeGAP Ave. km/h
428ORC Rookie GR86 CNF Concept64024:02’21.39475Laps 121.469
32ORC Rookie GR Corolla H2 concept33224:02’21.246383Laps63.006
ผลการแข่งขัน ครบ 24 ชั่วโมง

*** จาก GR Company สู่การพัฒนารถรุ่น GR ***

นายทัตสึยะ มิโยะชิ ผู้อำนวยการ แผนกพัฒนารถ GR บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ให้สัมภาษณ์จุดประสงค์ในการจัดตั้ง GR Company เพื่อพัฒนารถ รุ่น GR และมีบทบาทในการพัฒนารถให้ดีขึ้นผ่านการเข้าร่วมแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต เพราะว่าสนามแข่งขันที่มีเงื่อนไขในการขับขี่ที่เข้มงวดมากกว่า ทำให้ได้พัฒนาเทคโนโลยีและรถ GR ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ และรถที่ได้รับการพัฒนาจะช่วยเพิ่มแฟนรถยนต์ที่ชอบการแข่งขันและชอบมอเตอร์สปอร์ตมากขึ้น

ที่ผ่านมาเข้าร่วมมอเตอร์สปอร์ตหลากหลาย เช่น WEC (World Endurance Championship), WRC (World Rally Championship) ในระดับโลก และ Super Formula, Super GT ในประเทศญี่ปุ่นที่เราได้เข้าร่วม ทำให้สร้างแฟนในกลุ่มมอเตอร์สปอร์ตเพิ่มมากขึ้น และการเข้าร่วมแข่งขัน Super Taikyu ครั้งแรกในปี 2021 เพื่อทดสอบรถเครื่องยนต์ไฮโดรเจนและ GR-86 ที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดพิเศษ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนารถให้ดีขึ้นจากข้อมูลของสนามแข่ง Super Taikyu นอกจากนี้ ยังพัฒนา GR-86 และ Yaris เพื่อเข้าแข่งขัน One Make Race เพื่อเป็นการเพิ่มแฟนระดับรากหญ้าเพิ่มมากขึ้น เพิ่มฐานแฟนมากขึ้น กล่าวคือไม่เพียงแต่ชนะการแข่งขัน แต่ต้องการให้มีแฟนรากหญ้ามากขึ้น และเพิ่มผู้ใช้รถมอเตอร์สปอร์ตมากขึ้น

สำหรับ GR Company กับ Rookie Racing Team มีความเกี่ยวข้องกัน โดย Rookie Racing Team จะเข้าแข่งขันและ maintenance รถแข่งในสนามแข่งต่าง ๆ เช่น Super Taikyu ภายใต้ชื่อทีม Rookie Racing Team ในขณะที่ GR Company จะร่วมกับ Rookie Racing Team ในการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น Corolla เครื่องยนต์ Hydrogen จะถูกนำไปขับขี่ในสนามแข่งเพื่อพัฒนารถให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ใน Rookie Racing Team มีทั้งนักแข่งมืออาชีพ และนักแข่ง Gentleman ทั่วไปเช่น MORIZO เพื่อทดสอบรถ GR

ตอนนี้ เทคโนโลยีของรถไฮโดรเจนโคโรลล่ายังไม่ออกสู่ตลาดก็จริง ยกตัวอย่าง GR-86 STQ Class ที่กำลังพัฒนาอยู่หรือรถรุ่นอื่นนอกเหนือจาก GR-86 ก็กำลังอยู่ระหว่างพัฒนา เราได้เทคโนโลยีมา Feed back กับชิ้นส่วน หรือบางจุดของรถยนต์ที่ออกสู่ตลาดแล้ว เพื่อให้รถเหล่านั้นดีขึ้นใช้ง่ายขึ้น ซึ่งการเลือกรถรุ่นที่จะมาทำ เวอร์ชั่น GR นั้นพิจารณา เช่น GR-Corolla หรือ GR-Yaris ต่างก็เป็นรถรุ่นเดิมอยู่แล้วพัฒนาพิเศษคือ GR ขึ้นมาเฉพาะและมีความพิเศษเหมาะกับมอเตอร์สปอร์ต คือเครื่องยนต์ก็มีกำลังมากขึ้น สมรรถนะตัวถังมีความแกร่งมากขึ้น ช่วงล่างก็มีสมรรถนะดีขึ้น หรือรุ่น Yaris ก็มีเกรด 4WD ออกมาเป็นต้น นอกจากนั้น ยังมี GR-Supra หรือ GR-86 ที่เป็นรถรุ่นที่มีเฉพาะเกรด GR

ที่ผ่านมา MORIZO ก็ลงมาร่วมพัฒนากับตัวรถมากขึ้นตั้งแต่รถต้นแบบ เพราะเป็น Master Driver ที่จะร่วมกันวิเคราะห์รถ โดย MORIZO จะขับรถจนพัง แล้วกลุ่มวิศวกรก็เข้ามาซ่อม พอซ่อมเสร็จก็จะขับจนพังอีก ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อพัฒนารถให้ดีขึ้น

ปีที่แล้วตอนแข่ง Fuji 24 hours เป็นครั้งแรกที่ก็ส่งรถโคโรลล่า ไฮโดรเจนเหลวลงแข่ง หนึ่งปีผ่านไป ได้วิวัฒนาการให้รถโคโรลล่า ไฮโดรเจนเหลวนี้ดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีรถไฮโดรเจนก๊าซอีกต่อไป เพราะไฮโดรเจนเหลว หรือไฮโดรเจนก๊าซต่างก็มีข้อดีของตัวเอง เราคิดว่าต้องพัฒนาให้แต่ละตัวดีขึ้นกว่าเดิม

ส่วนความคืบหน้าในการทำกีฬามอเตอร์สปอร์ตให้เป็นที่แพร่หลายในทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วและปีก่อนหน้า เราได้ส่งรถลงแข่งที่บุรีรัมย์ และสนามแข่งอื่น ๆ ซึ่งทำให้ GR Company ได้รับรู้ว่ามีแฟนตัวยงจำนวนมากในกีฬามอเตอร์สปอร์ตของไทย นอกจากนั้น Super Taikyu นี้ได้ถูกยกระดับเป็น Super Taikyu Mirai Organization (STMO) โดย MORIZO ก็เข้ามาเป็นประธานขององค์กรด้วย และต้องการที่จะให้กีฬามอเตอร์สปอร์ตเป็นที่แพร่หลายในเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะชาวไทยช่วยให้กีฬามอเตอร์สปอร์ตเป็นที่แพร่หลาย และคิดว่าคงจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ในเอเชียมากขึ้น

ความแตกต่างของ Gazoo Racing Team กับ Rookie Racing Team ต่างกัน โดย Gazoo Racing Team จะเข้าแข่งขัน WEC (World Endurance Championship), WRC (World Rally Championship) ในระดับโลกในฐานะตัวแทนของโตโยต้า ในขณะที่ Rookie Racing Team จะเข้าแข่งขันในสนามแข่ง Super Taikyu เพื่อร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของโตโยต้า และ Rookie Racing Team ยังเข้าแข่งขัน Super GT หรือ Super Formula เอง

MORIZO เป็นประธานคณะกรรมการของบริษัทโตโยต้า ซึ่งเป็นเจ้าของทีม Gazoo Racing Team ขณะเดียวกันยังเป็นเจ้าของและนักแข่งของ Rookie Racing Team ในฐานะทีมส่วนตัวอีกด้วย และจากหลายบทบาทของ MORIZO ก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมาก ทำให้สามารถลองทดสอบเทคโนโลยีใน Super Taikyu ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น.