ทั่วโลกต่างตื่นตัวเรื่องปัญหาโลกเดือด ล่าสุดธนาคารกสิกรไทย ดึงองค์กรชั้นนำระดับโลกและไทยกว่า 40 องค์กร ร่วมให้ความรู้เพื่อยกระดับธุรกิจและสังคมไทยสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ในทุกมิติ ทั้งโอกาส กฎเกณฑ์ มาตรการต่างๆ การสนับสนุนการเงินของธนาคาร รวมถึงการแชร์ประสบการณ์จากธุรกิจที่ปรับตัวแล้ว เพื่อพร้อมรับมือและปรับตัวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน ภายใต้หัวข้อ เอิร์ธ จั๊มพ์ 2024 ( EARTH JUMP 2024) ซึ่งทีม Sustainable Daily ได้รวบรวมประสบการณ์ของวิทยากรบางส่วนที่ได้ร่วมแชร์ภายในงาน

**GDPหลายประเทศโตสวนทางกับการปล่อยคาร์บอน

ขัตติยา อินทรวิชัยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย มองว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในหลายๆ ประเทศนั้นสวนทางกับอัตราการปล่อยคาร์บอนเป็นอย่างมาก คือ ยิ่งมีการเติบโตของจีดีพีสูงขึ้นเท่าไร่ อัตราการปล่อยคาร์บอนยิ่งน้อยลงเท่านั้น เนื่องมาจากการตระหนักถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่มาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการปรับตัว และปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ประกอบกับศักยภาพด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อวางรากฐานด้านโครงสร้างต่างๆ ให้สามารถต่อยอดและสร้างโอกาสได้อย่างหลากหลาย

ขณะที่ประเทศไทย มีแนวโน้มส่งสัญญานบวกเช่นเดียวกัน เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่เห็นการฟื้นตัวของจีดีพีกลับมา สวนทางกับการปล่อยคาร์บอนที่ลดน้อยลง นับเป็นข่าวดีที่แสดงเห็นว่าทุกภาคส่วนเริ่มให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมอยางเห็นได้ชัด ซึ่งการที่เราจะนำพาประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำได้ ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือกัน และการทำงานร่วมกันก็จำเป็นจะต้องมีการกำหนดกติกากลางขึ้นมาร่วมกัน ในปีนี้ภาพนี้ก็มีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ธนาคารรู้ดีว่าการสนับสนุนให้ธุรกิจตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่สำคัญ ธนาคารจึงจัดงานนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้ทิศทางเป้าหมายของประเทศ กติกาด้านภาษีทั้งภายในและต่างประเทศ ตลอดจนกติกาด้านการเงินและการลงทุน รวมถึงการแชร์ประสบการณ์การปรับตัวจากธุรกิจต่างๆ ที่ได้ลงมือทำและเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้

**ปตท.ปรับพอร์ตมุ่งพลังงานสะอาด

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือปตท. ระบุว่า ปตท. มุ่งมั่นในการสร้างความสมดุลให้กับเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม จึงให้ความสำคัญกับเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)โดยมีนโยบายในการลดคาร์บอน 3 ประการ ดังนี้ 1. การปรับพอร์ตให้เป็น Net zero มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เพิ่มสัดส่วนการลงทุน โดยเน้นธุรกิจพลังงานสะอาด 2. การปรับตัวของ PTT ในฐานะธุรกิจด้านพลังงานและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร 3. การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ และนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนในกระบวนการผลิต ตลอดจนผลักดันการใช้พลังงานจากไฮโดรเจน

**สภาอุตฯชี้กติกาโลกร้อนต้องรับปรับตัว

เกรียงไกร เธียรนุกุลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (...) มองว่า โลกปัจจุบันมีความท้าทายหลากหลายด้าน ที่ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องเร่งปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น การแทรกแซงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Digital Disruption) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ และกฏกติกาใหม่ของโลกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งภายใต้กติกาดังกล่าว ไม่ใช่การทำให้ถูกที่สุดหรือทำให้ดีที่สุด ทว่าสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป คือ เรื่องของสิ่งแวดล้อม

ส.อ.ท.ในฐานะศูนย์กลางการผลิต ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งมีส่วนในการผลักดันเศรษฐกิจ คิดเป็น 30% หรือ 1 ใน 3 ของจีดีพีไทย และการผลิตที่มุ่งเน้นการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นเมื่อกติกาโลก คำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ ภาคเอกชนจึงจำเป็นจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้สอดคล้องกับกติกาโลกให้ได้ นี่จึงเป็เหตุผลให้ ส.อ.ท. จัดตั้ง ‘สถาบัน Climate Change’ ทั้งการให้ความรู้ กฎกติกา

“เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากต้องทำท่ามกลางความเปราะบางของเศรษฐกิจ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องทำ เนื่องจาก 60% ของจีดีพีไทย ต้องพึ่งพาการส่งออก เรามีหน้าที่เสิร์ฟให้กับลูกค้าของเราไม่ว่าจะเป็น สหรัฐ หรือ ยุโรป ซึ่งต้องทำตามมาตรการต่างๆ ที่ออกมา อย่าง มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ที่บังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 1 ..66 ที่ผ่านมา โดยในด้านอุตสาหกรรมนำร่อง ก็เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเยอะ ปล่อยก๊าซเยอะ ทั้งแหล่งกล้า อุตสาหกรรมซีเมนต์ อุตสาหกรรมที่ผลิตไฟฟ้า เหล่านี้ถูกบังคับใช้ แต่เป็นการส่งรีพอร์ต ซึ่งภายใน 2 ปีข้างหน้า ทุกอุตสาหกรรมจะเข้าสู่ CBAM ทั้งหมด ดังนั้นก็จะต้องปรับตัว”เกรียงไกร กล่าว