สรุปแล้ว! กระทรวงการคลัง โดยคณะอนุกรรมการโครงการเติมเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต หรือ “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” สรุปเกณฑ์คุณสมบัติแบบชัดเจน ทั้งเรื่องรายได้ เงินฝาก และอายุ ของผู้ที่มีสิทธิรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

1. เกณฑ์อายุ

  • ต้องเป็นสัญชาติไทย
  • อายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567
  • หรือต้องเกิดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2551

2. เกณฑ์เงินฝาก

  • มีเงินฝากไม่เกิน 500,000 บาท
  • นับรวมเงินฝากสกุลเงินบาททุกบัญชี
  • นับรวมเงินฝากธนาคารพาณิชย์ และธนาคารของรัฐ เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์, บัญชีเงินฝากประจำ เป็นต้น
  • ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์ สลากออมสิน
  • เงินฝากจะถูกนับถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567

3. เกณฑ์รายได้

  • รายได้ไม่เกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี หรือไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน
  • เก็บข้อมูลจากกรมสรรพากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
  • เท่ากับว่าต้องเป็นบุคคลที่ยื่นภาษีในปีล่าสุด

รายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ยังคงเหมือนเดิม ดังนี้
– เปิดลงทะเบียนภายในไตรมาส 3 ปี 2567 หรือระหว่างเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2567
– เริ่มใช้จ่ายครั้งแรกภายในไตรมาส 4 ปี 2567 หรือระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2567
– ใช้แอปพลิเคชันทางรัฐ เชื่อมข้อมูล และอาจนำมาใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท
– ใช้จ่ายภายในอำเภอ ระยะเวลาภายใน 6 เดือน
– ใช้ซื้อสินค้าร้านค้าขนาดเล็ก เช่น โชห่วย ร้านสะดวกซื้อ
– ยกเว้นซื้อสินค้าที่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

สินค้าประเภทไหนบ้างเข้าร่วมใช้จ่าย “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง?

  • สินค้าทุกประเภท (ยกเว้นตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด)

“เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ซื้อสินค้าอะไรไม่ได้บ้าง?

  • เบื้องต้นมี 16 รายการไม่เข้าร่วม ใช้ซื้อไม่ได้ (กระทรวงการพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติมอีกครั้ง) ประกอบด้วย
    1. สลากกินแบ่งรัฐบาล
    2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    3. ยาสูบ
    4. กัญชา
    5. กระท่อม
    6. พืชกระท่อม
    7. ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
    8. บัตรกำนัล
    9. บัตรเงินสด
    10. ทองคำ
    11. เพชร
    12. พลอย
    13. อัญมณี
    14. น้ำมันเชื้อเพลิง
    15. ก๊าซธรรมชาติ
    16. บริการต่างๆ ไม่สามารถเข้าร่วมได้

ที่มา : กระทรวงการคลัง ณ วันที่ 8 พ.ค. 67