เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ที่ศาลแขวงปทุมวัน ถ.นครไชยศรี ศาลนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำ 653/2566 ที่พนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องนายพริษร์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิน  จำเลยที่ 1 และน.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ หรือ อั๋ว จำเลยที่ 2 ในความผิดต่อพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

คดีจากการจัดกิจกรรม #Saveวันเฉลิม ทวงความเป็นธรรมให้กับการบังคับสูญหายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพ เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 63

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยทั้ง2 มีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9(2),18 ประกอบมาตราประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 จำคุกจำเลยทั้งสอง คนละ 2 เดือนและปรับคนละ 10,000 บาท จำเลยที่2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่งปรับ 2,000 บาท รวมจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด2เดือนและปรับ 12,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 2 ปี

จำเลยทั้ง 2 อุทธรณ์

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าจำเลยทั้ง 2 ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรม ซึ่งมีพระเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ในลักษณะมั่วสุมประชุมกันหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย โดยได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนข้อกำหนด ออกตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ในทำนองว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงข้อความใน เฟซบุ๊กทั้งไม่ได้ตรวจสอบว่าใครเป็นแอดมินเพจ เฟซบุ๊ก ชื่อบัญชี สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย จำเลยทั้งสองปรากฏตัว ณ สถานที่นัดหมายเนื่องจากพบเห็นข้อความทางเฟซบุ๊ก ดังกล่าวซึ่งเป็นการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ เห็นว่าโจทก์มีตำรวจเป็นพยานยืนยัน ว่าพบจำเลยทั้งสองนำภาพผู้ลี้ภัยวางไว้ที่บริเวณผู้ชุมนุม จำเลยทั้ง2 พูดปราศรัยห่างจากผู้ชุมนุมประมาณ 1 เมตร ผู้ชุมนุมยืนติดกันไม่เว้นระยะห่างไม่มีจุดคัดกรอง ไม่มีเจลแอลกอฮอล์ จำเลยทั้งสองกล่าวปราศรัยถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนี้พฤติกรรมของจำเลยทั้งสอง บ่งชี้ว่ามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมชุมนุมโดยเฉพาะจำเลยที่ 2 เป็นประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทยย่อมมีน้ำหนักรับฟังมั่นคงว่าจำเลยทั้งสองรู้เห็นและมีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมชุมนุมดังกล่าว ที่จำเลยทั้ง 2 อุทธรณ์ว่าจำเลยทั้ง2ปรากฏตัว

เนื่องจากเพราะเป็นข้อความที่ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงได้การที่จำเลยทั้งสอง นำภาพผู้ลี้ภัยทางการเมืองมาวางบริเวณผู้ชุมนุมและปราศรัยเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยอันเป็นปกติวิสัยของบุคคลที่เห็นข้อความเชิญชวน แต่รายงานสืบสวนเอกสารในตอนท้ายที่ระบุว่า “โปรดเตรียมดอกไม้เพื่อร่วมทวงความเป็นธรรมให้ผู้หนีภัยทางการเมือง” ซึ่งปกติวิสัยของบุคคลทั่วไปเห็นข้อความดังกล่าว และประสงค์จะเข้าร่วมก็เพียงแต่นำดอกไม้มาเท่านั้น ไม่มีเหตุให้นำภาพของคนลี้ภัยทางการเมืองมาชุมนุมและขึ้นกล่าวปราศรัยด้วย

การที่จำเลยทั้ง 2 นำภาพผู้ลี้ภัยทางการเมืองมาวางและกล่าวปราศรัย เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยจึงไม่ใช่ปกติวิสัยของคนที่เห็นข้อความเชิญชวน การกระทำเช่นนั้นที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานพิสูจน์ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงข้อความเฟซบุ๊ก ทั้งไม่ได้ตรวจสอบว่าใครเป็นแอดมินของเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว อุทธรณ์จำเลยทั้งสอง ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานไม่ผิดตามคำสั่งพนักงานสอบสวนที่สั่งให้พิมพ์ลายนิ้วมือ โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 หรือไม่ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าพนักงานสอบสวนมีคำสั่งให้จำเลยที่สองพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ใช่เพื่อการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 132 (1) การที่จำเลยที่สองปฏิบัติตามคำสั่งแล้วจึงไม่มีความผิดนั้น

เห็นว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 132 ให้อำนาจพนักงานสอบสวนตรวจผู้เสียหาย เมื่อผู้นั้นยินยอมหรือตรวจตัวผู้ต้องหา ตรวจสิ่งของ หรือทางที่อันจะสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ข้อเท็จจริงจากพยานเบิกความว่าพยานได้จัดให้จำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจว่าจะมีการเพิ่มโทษหรือไม่ แต่จำเลยที่2 ไม่ยินยอมโดยพยานเบิกความตอบทนายจำเลยทั้ง2 ค้านว่าการขอตรวจลายนิ้วมือจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปตรวจหาประวัติอาชญากรบ่งชี้ชัดว่า พนักงานสอบสวนสั่งจำเลยที่ 2 พิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยที่ 2 เคยต้องโทษมาก่อนอันเป็นเหตุให้เพิ่มโทษตามกฏหมายหรือไม่ คำสั่งของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานสอบสวนที่สั่งให้พิมพ์ลายนิ้วมือ โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรที่ศาลชั้นต้นพิพากษานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองทุกข้อฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน