เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงสถานการณ์โรคโควิด – 19 ประจำวันที่ 6 ก.ค. ว่า ทั่วโลกติดเชื้อสะสม 184,923,557 ราย เป็นรายใหม่ 336,323 ราย เสียชีวิตสะสม 4,000,520 ราย เสียชีวิตรายใหม่ 6,049 ราย อัตรการเสียชีวิตคิดเป็น 2.16 % นับเป็นวันแรกที่อัตราการเสียชีวิตถึง 4 ล้านราย ถือเป็นโศกนาฏกรรมของโลก ที่เผชิญการระบาดและการกลายพันธุ์ ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 65 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5,420 ราย ติดเชื้อสะสม 294,653 ราย หายป่วยวันนี้ 3,586 ราย หายป่วยสะสม 227,023 ราย เสียชีวิตรายใหม่ 57 ราย ทำให้เสียชีวิตสะสม 2,333 ราย ยังรักษาตัว 65,297 ราย ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เข้ารพ.ต้องการวันนอนในรพ.อย่างน้อย 14 วัน ถ้าอาการหนักก็ต้องการนอนรพ.มากกว่านั้น ทำให้เตียงไม่เพียงพอ ขณะนี้มีผู้มีอาการหนัก 2,350 ราย ในจำนวนนี้ใส่เครื่องช่วยหายใจ 643 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ กทม. 1,492 ราย 5 จังหวัดปริมณฑล 1,372 ราย 4 จังหวัดภาคใต้ 635 ราย จังหวัดอื่น 67 จังหวัด 1,876 ราย และเรือนจำ 37 ราย ส่วนติดเชื้อมาจากต่างประเทศ 8 ราย จาก กัมพูชา 1 ราย เอธิโอเปีย 1 ราย มาเลเซีย 3 ราย เมียนมา 3 ราย สำหรับรายรายละเอียดผู้เสียชีวิต 57 ราย เดินครึ่ง หรือ 33 ราย อยู่ในกทม. สมุทรปราการ 4 ราย เรื่องจากสมุทรปราการเจอวิกฤตทั้งโรคระบาดและเพลิงไม้จึงขอส่งกำลังใจให้ด้วย นครปฐม ระยอง ปทุมธานี ชลบุรี สงขลา สระบุรี จังหวัดละ 2 ราย ส่วนเพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก สมุทรสงคราม นราธิวาส ปัตตานี สกลนคร และนครพนม จังหวัดละ 1 ราย โดยเป็นผู้มีโรคประจำตัว ความดันฯ เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง โรคไต หัวใจ อ้วน จับ มะเร็ง หลอดเลือดสมอง ปอด โรคเลือด กล้ามเนื้ออ่อนแรง และคนที่ไม่มีโรคประจำตัว อายุน้อยลุด 25 ปี มากสุด 91 ปี
ทั้งนี้ 10 จังหวัด ที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดคือ กทม. 1,492 ราย สมุทรสาคร 398 ราย สมุทรปราการ 318 ราย ชลบุรี 266 ราย ปัตตานี 262 ราย นนทบุรี 242 ราย ปทุมธานี 208 ราย นครปฐม 206 ราย ยะลา 135 ราย และ สงขลา 132 ราย ทั้งนี้เฉพาะพื้นที่ กทม. มี 116 คลัสเตอร์ ที่ต้องเฝ้าระวัง โดยมีคลัสเตอร์ใหม่ ที่สถาบันประสาทวิทยา มีผู้ติดเชื้อ 47 ราย จากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก เมื่อปลายเดือน มิ.ย. ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในศูนย์อาหาร และบุคลากรการแพทย์หลายแผนก ส่วนต่างจังหวัดพบคลัสเตอร์ใหม่ ที่สมุทรสาคร เป็นโรงงานผ้าอ้อม พื้นที่เมืองสมุทร ติดเชื้อ 9 ราย คลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้างที่ บางละมุง จ.ชลบุรี ติดเชื้อ 12 ราย คลัสเตอร์ชุมชนหลังเมเจอร์ ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ติดเชื้อ 44 ราย ส่วนจังหวัดปทุมธานี มี 2 คลัสเตอร์ คือที่โรงงานอะลูมิเนียม พื้นที่ธัญบุรี ติดเชื้อ 19 ราย คลัสเตอร์โรงงานผลิตอาหาร ลาดหลุมแก้ว ติดเชื้อ 15 ราย และสุดท้ายที่โรงงานเสื้อผ้าที่อ.แม่สอด จ.ตาก 61 ราย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จากข้อมูลในกทม. ปริมณฑล จะเห็นว่าอัตราผู้ป่วยอาการน้อย หรือสีเขียว กลุ่มอาการมากขึ้น นั้นพุ่งขึ้น ส่วนอาการหนักหรือสีแดงนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นการไต่ระดับแบบช้าๆ ส่วนคนไม่มีอาการเลย หรือกลุ่มสีขาวมีสัดส่วนน้อยกว่าทุกกลุ่มอาการ อย่างไรก็ตาม ทางการแพทย์พยายามช่วยทุกคน โดยใส่เครื่องช่วยหายใจโดยเร็วให้ได้รับออกซิเจนเพื่อสู้กับโรคนี้ อย่างไรก็ตาม ความต้องการเตียง และเครืองช่วยหายใจที่สะสมกันไว้ก็ถูกนำมาใช้ในช่วงนี้ แต่ดูเหมือนยังไม่เพียงพอกับการติดเชื้อที่มากขึ้น โดยเฉพาะขณะนี้มีสายพันธุ์ใหม่มาต้องติดตามต่อเนื่อง เพราะอัตราการเสียชีวิตเพิ่มจะขึ้นตามอัตรการติดเชื้อที่มากขึ้น
สิ่งที่ต้องย้ำคือเรื่องวัคซีน ถ้าจะลดการป่วย และเสียชีวิต ทุกประเทศใช้ยุทธศาสตร์การฉีดให้กับผู้สูงอายุ และผู้ป่วย7 กลุ่มโรค เพื่อลดการนอนเตียงในรพ. ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่ใช้ยุทธศาสตร์นี้ด้วยโดย ไทยฉีดวัคซีนสะสม ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. – 5 ก.ค. อยู่ที่ 11,058,390 โดส เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 8,022,029 ราย ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว 3,036,361 ราย จะเห็นว่าผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคฉีดได้เพียง 15.1% เท่านั้น ที่ฉีดแล้ว 1 เข็ม ส่วนอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดได้แค่ 12.5% จากจำนวนรวม 2 กล่ม 17 ล้านคน แต่ฉีดได้เพียง 2 ล้านนิดๆ ถือว่าต่ำมาก จึงขอให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายนี้เข้ามารับวัคซีนด้วย ย้ำว่านี่คือยุทธศาสตร์สำคัญที่ต้องปรับกันตั้งแต่ตอนนี้ ขอให้คนหนุ่มสาวเข้าใจตรงนี้ด้วย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า จากการวิเคราะห์ภาพรวมการติดเชื้อทั้งประเทศยังเป็นเชื้ออัลฟา (อังกฤษ) แต่เริ่มพบเดลตา (อินเดีย) ทั้งประเทศ 32.2 % เฉพาะกทม.เป็นเดลตากว่า 52% บางพื้นที่มีสัดส่วนมากกว่าสายพันธุ์อัลฟา ดังนั้นขอทุกคนระมัดระวังอนามัยส่วนบุคคล สำหรับการกระจายเชื้องเดลตา ทางอีสานและภาคเหนือนั้นมีการกระจายวงกว้าง เนื่องจากเรามีมาตรการควบคุมแรงงาน แต่มีบางส่วนกลับไปบ้านเกิด จึงมีรายงานติดเชื้อเดลตาในต่างจังหวัดมากขึ้น ส่วนสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ที่เรากังวลยังกระจุกตัวที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ สุราษฎร์ธานี ชลบุรีบางที่ เป็นต้น อยู่ในการเฝ้าระวังของกรทวิทยาศาสตร์การแพทย์ แต่ขอความร่วมมือจากประชาชนในการควบคุมโรคคือสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง แม้ว่าจะฉีดวัควีนครบ 2 เข็มแล้วก็ตาม
“กระจายเชื้อจากพื้นที่กทม. ปริมณฑลไปยังต่างจังหวัด กรมควบคุมโรคสรุปข้อมูลเมื่อวันที่ 6 ก.ค. พบว่ามีการประจายที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง 18 จังหวัด 254 ราย ภาคเหนือ 9 จังหวัด ติดเชื้อ 75 ราย ภาคตะวันออก 9 จังหวัด ติดเชื้อ 45 ราย และ ภาคใต้ 3 จังหวัด ติดเชื้อ 9 ราย ส่วนลักษณะการติดเชื้อ จากข้อมูลวันที่ 5 ก.ค. พบว่าที่ภาคเหนือ เป็นการติดแบบคลัสเตอร์ 6 คลัสเตอร์รวม 21 คน อีสาน มีการดึงข้อมูลมา 3 จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด พบ 4 คลัสเตอร์ติดเชื้อ 16 คน ดังนั้นภาพของการนำเชื้อกลับไปติดคนในครอบครัวก็เกิดขึ้นแล้ว ทำให้แผนที่ประเทศไทยวันนี้อีสาน และเหนือมีการติดเชื้อใสครอบครัว และชุมชน ขอให้ประชาชนใน 2 ภูมิภาค เข้าใจ รักษาระยะห่าง” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว และว่า ขณะนี้กทม. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการตั้งศูนย์พักคอยผู้ติดเชื้อ 17 แห่ง กทม.จะมีการให้รายละเอียดต่อไป.