ต้องบอกก่อนว่าอาชีพ “นักการเมือง” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่งานหนักมาก เพราะต้องลงพื้นที่เช็กความเป็นอยู่ของประชาชน และต้องนำเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ มาเสนอที่ประชุมเพื่อพากันขับเคลื่อนเดินหน้าประเทศไทย ต้องมีขั้นตอนยุ่งยากสุด ๆ อีกทั้งกว่าจะได้เข้ามาเป็นนักการเมืองในสังกัดพรรค หรือกว่าจะได้รับการโหวตและช่วงชิงคะแนนในพื้นที่แต่ละเขตจากการเลือกตั้ง ให้มาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และเป็นที่ยอมรับในสภาอย่างสมาชิกวุฒิสภาไทย (สว.) เพื่อเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนในรัฐสภานั้นจะได้รับค่าตอบแทนหรืออัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งค่าการราชการการเมืองสักเท่าไหร่กัน

และนาทีนี้สังคมไทยก็กำลังจับตาไปที่ สว.หมอพรทิพย์ และ สส.มัลลิกา กันเป็นอย่างมากขณะนี้ หลังมีคลิปว่อนเน็ตถูกเจ้าของร้านอาหารดังในต่างแดน ตะโกนไล่และด่าสาปแช่งอย่างรุนแรงเรื่องปมการเมือง ซึ่งทำให้เหตุการณ์นี้ตกเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งพฤติกรรมของเจ้าของร้าน และรวมถึงการทำงานของทั้ง สว.หมอพรทิพย์ และ สส.มัลลิกา

ซึ่งวันนี้ “ทีมข่าวเดลินิวส์ออนไลน์” ได้รวบรวมและหาข้อมูลเงินเดือน สว. และ สส. มาฝากผู้อ่านกันว่าแต่ละตำแหน่งที่โหมงานหนักเพื่อประชาชน ได้รับเงินเดือนกันคนละเท่าไหร่ เพียงพอมั้ยและเหมาะสมหรือเปล่า

รายละเอียดดังนี้
เงินเดือนประธานสภาผู้แทนราษฎร
– ประจำตำแหน่ง 75,590 บาท/เดือน
– เงินเพิ่ม 50,000 บาท/เดือน
ทั้งหมด 125,590 บาท

เงินเดือนประธานวุฒิสภา
– ประจำตำแหน่ง 74,420 บาท
– เงินเพิ่ม 45,500 บาท
ทั้งหมด 119,920 บาท

เงินเดือนรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
– ประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
– เงินเพิ่ม 42,500 บาท
ทั้งหมด 115,740 บาท

เงินเดือนรองประธานวุฒิสภา
– ประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
– เงินเพิ่ม 42,500 บาท
ทั้งหมด 115,740 บาท

เงินเดือนผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
– ประจำตำแหน่ง 73,240 บาท
– เงินเพิ่ม 42,500 บาท
ทั้งหมด 115,740 บาท

เงินเดือนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
– ประจำตำแหน่ง 71,230 บาท
– เงินเพิ่ม 42,330 บาท
ทั้งหมด 113,560 บาท

เงินเดือนสมาชิกวุฒิสภา
– ประจำตำแหน่ง 71,230 บาท
– เงินเพิ่ม 42,330 บาท
ทั้งหมด 113,560 บาท

ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าเบี้ยประชุมต่าง ๆ อีกด้วย โดยข้อมูลอ้างอิงตาม : เอกสารสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราฎร 2556