ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังใกล้ช่วงเปิดเทอมของนักเรียน จนทำให้โรงเรียนต่างๆ หรือหน่วยงานต้นสังกัด มีนโยบายให้คุณครูหลายๆ คนกลับไปฉีดวัคซีนโควิด-19 กันอีกครั้ง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้น

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 เม.ย. นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก “DrJudd Chontavat” ระบุว่า “ข้อมูลนี้อาจมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่อยากฉีดวัคซีนโควิดแต่โดนหน่วยงานบังคับให้ฉีด” ในต่างประเทศมีคดีที่นายจ้างถูกลูกจ้างฟ้อง เนื่องจากไปละเมิดสิทธิของลูกจ้าง บังคับให้ไปฉีดวัคซีนโควิด จนนายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายมากมาย

ตอนนี้มีคดีตัวอย่างในไทย ที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดใช้ เนื่องจากไปบังคับให้ลูกจ้างต้องรับยา ลูกจ้างรายนี้มีความรู้เลยไม่ยอมรับยา เลยถูกกลั่นแกล้งต่างๆ นานา สุดท้ายก็เลิกจ้างแบบไม่เป็นธรรม คดีเข้าสู่ศาล ผู้พิพากษาตัดสินให้ลูกจ้างชนะ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย “กรณีนี้ ลูกจ้างเป็น คุณครู ก็รอดูว่า จะมี ผอ.โรงเรียนอีกกี่รายที่โดนฟ้อง แต่ที่น่ากังวลกว่า คือ จะมีผู้ปกครองอีกกี่รายที่จะฟ้อง ผอ.รร. กรณีบังคับให้เด็กไปฉีดยา ท่าน ผอ.ทั้งหลายกรุณาเตรียมหาทนายไว้เลยครับ”

รายละเอียดคดีอ่านได้ข้างล่างครับ
ทุกคนที่ถูกเลิกจ้างเพราะท่านไม่ฉีด สามารถฟ้องศาลแรงงานได้เพราะถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แต่ถ้าต้องการเป็นคดีอาญา ผมแนะนำให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ คือ การแจ้งจับกุมจะเป็นอาญาทันที

จำเลยยอมจำนนและยอมจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบกฏหมายแรงงาน 400 วัน เป็นเงิน 20,000 และค่าเสียหาย 100,000 กับได้สิทธิเงินสะสม 12% ถ้าจะสู้ต่อไป ก็ยืดไปอีกสองศาล คือ ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ก็กินระยะเวลาไปสามปีอาจจะกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าสู้ไปถึงตรงนั้นมีคนติดคุกแน่นอน เพราะมันจะต่อไปถึงคดีอาญา บังคับฉีดมันก็คงจะยืดออกไปอีกไม่ใช่แค่สามปีแล้ว

ศาลท่านบอกว่า ถ้าสืบพยานจำเลยก็ต้องไปอุทธรณ์และฎีกาต่อไปอีก ศาลเลยบอกจำเลยว่าจะยอมชดเชยเยียวยาให้โจทก์หรือไม่จำเลยไม่ยอม และสืบพยานแล้วแพ้ จำเลยก็ต้องอุทธรณ์และฎีกาต่อ ฉันเลยบอกว่าจบกันแบบง่ายง่ายดีกว่า คือ ยอมจ่ายสุดท้าย จำเลยยอมจ่าย อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่านายจ้างไม่สามารถที่จะมาบังคับพนักงานฉีดยาได้ เราทุกคนที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่ฉีด สามารถฟ้องศาลแรงงานได้เพราะถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ก็ต้องขอกราบขอบพระคุณทุกๆ ท่านที่ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณในการยังชีพและค่าทนาย

สามารถเล่าสู่กันฟังได้และใครที่คิดจะฟ้องเกี่ยวกับคดีนี้
-ฟ้องได้เลย
-ถ้าอยากได้อาญาให้แจ้งความก่อน
-ถ้าเอาเกี่ยวกับเลิกจ้างไม่เป็นธรรมก็แจ้งศาลแรงงาน
-ขอแนะนำให้มีทนายตั้งแต่เริ่มต้นก่อนแจ้งความหรือก่อนฟ้องครับ

สรุปข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในคดีถูกเลิกจ้างเพราะไม่ฉีดวัคซีนโควิด
1.จำเลยออกคำสั่งหรือประกาศ ตามเอกสารบันทึกข้อความฯ กรณีบุคลากรที่ไม่ฉีดวัคซีน สั่งให้ไปตรวจโควิด-19 เบื้องต้นจากโรงพยาบาล และนำใบรับรองผลการตรวจมาแจ้งทุกสัปดาห์ก่อนปฏิบัติงาน

2.ต่อมาจำเลยออกคำสั่งหรือประกาศ ตามเอกสารบันทึกข้อความฯ สั่งบุคลากรให้ต้องไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาล และให้นำใบรับรองผลการตรวจจากโรงพยาบาลส่งให้หัวหน้าฯ ทุกสัปดาห์ หากไม่ตรวจและไม่ส่งผลการตรวจเชื้อโควิด-19 ให้หยุดพักงาน

3.คำสั่งหรือประกาศทั้งสองฉบับของจำเลยในฐานะนายจ้าง เป็นคำสั่งหรือประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดให้อำนาจจำเลย ในฐานะนายจ้างดำเนินการดังกล่าวได้ เพราะตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่จะสั่งให้ลูกจ้าง เฉพาะที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเข้ารับการตรวจจากแพทย์ หรือเข้ารับการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ตามวัน เวลา และสถานที่ที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนดไว้

4.การออกคำสั่งหรือประกาศของจำเลย ต่อบุคลากรลูกจ้างเป็นการทั่วไปทุกคนต้องปฏิบัติตาม โดยไม่เจาะจงตัวลูกจ้างเฉพาะบุคคลผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่อย่างใด คำสั่งหรือประกาศของจำเลยทั้งสองฉบับ จึงไม่ใช่คำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 119 (4) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

5.ต่อมาจําเลยกลับมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ อ้างว่าเป็นบุคลากรที่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ถือเป็นการบอกเลิกจ้างจำเลยโดยไม่ได้มีเหตุอันสมควร จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

6.อีกทั้งเมื่อการเลิกจ้างดังกล่าว เป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลที่สมควรและไม่ใช่ความจำเป็นของกิจการ จึงถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้น หากโจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยอีกต่อไป และศาลเห็นว่าทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @DrJudd Chontavat