มีความเสี่ยงของกระดูกหักมากกว่าผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นของกระดูก (bone mineral density: BMD) ต่ำกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน ในขณะที่ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มักมีความหนาแน่นของกระดูกสูงกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักในผู้เป็นเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนและกระดูกหักในผู้เป็นเบาหวานแบ่งเป็น 2 ข้อ

ข้อแรก คือปัจจัยเสี่ยงทั่วไป เช่น อายุมากกว่า 65 ปี ผอม เป็นผู้หญิง เคยมีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมาก่อน หกล้มบ่อย ใช้ยากลูโคคอร์ติคอยด์ สูบบุหรี่ มีคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน เป็นต้น

ข้อที่สอง คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานโดยเฉพาะ ได้แก่ มีค่าความหนาแน่นของกระดูก (T-score) น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.0  มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย ๆ เป็นเบาหวานมานานกว่า 5-10 ปี ใช้ยาเบาหวานชนิดอินซูลิน ไธอะโซลิดีนไดโอน (thiazolidinedione) และซัลโฟนีลยูเรีย (sulphonylureas) มีค่าน้ำตาลเฉลี่ย (HbA1c) มากกว่าร้อยละ 8 มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (microvascular complication) เป็นต้น

Old senior asian male hand nasal swab testing rapid tests by himself for detection of the SARS co2 virus at home isolate quarantine concept
ภาพ : freepik

การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก (fracture risk assessment) ประกอบไปด้วยการประเมินในหัวข้อดังต่อไปนี้

1) วัดความหนาแน่นของกระดูก โดยแพทย์อาจใช้เกณฑ์การส่งตรวจเป็นเกณฑ์เดียวกันกับของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้สูงอายุ กล่าวคือ ส่งตรวจในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 70 ปี  หรือในคนอายุน้อยกว่านี้แต่มีความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนข้ออื่น อย่างไรก็ตามมีคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานของประเทศสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association; ADA) แนะนำให้พิจารณาส่งตรวจความหนาแน่นของกระดูกในผู้เป็นเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 65 ปีทุกราย หรือในคนอายุน้อยกว่านี้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนชนิดที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานจำนวนหลายข้อ (ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น) หรือส่งตรวจในผู้เป็นเบาหวานที่ไม่มีความเสี่ยงดังกล่าวแต่เป็นเบาหวานมานานกว่า 5 ปี

2) สอบถามประวัติของการเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

3) ประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกพรุน โดยแพทย์จะสืบค้นปัจจัยเสี่ยงทั่วไป และปัจจัยที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างครบถ้วน นอกจากนี้แพทย์มักคำนวนค่าความเสี่ยงทางคลินิกของการเกิดกระดูกหัก โดยใช้ระบบคำนวณ fracture risk assessment (FRAX)

การรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้เป็นเบาหวาน ประกอบไปด้วย การรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยวิธีไม่ใช้ยา การรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยา และการปรับการรักษาโรคเบาหวาน

1) การป้องกันกระดูกหักด้วยวิธีไม่ใช้ยา ประกอบด้วย การได้รับแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ กินอาหารที่ได้สัดส่วนถูกต้องตามหลักโภชนาการ และกินโปรตีนให้เพียงพอ เพิ่มการออกกำลังกาย เลิกสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้เกินกว่า 1-2 หน่วยต่อวัน ระวังการหกล้ม

2) ยารักษาโรคกระดูกพรุน สำหรับคนที่เข้าเกณฑ์เป็นโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  หรืออาจใช้เกณฑ์การเริ่มยารักษาโรคกระดูกพรุนตามความเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและเบาหวาน ซึ่งพบว่ายารักษาโรคกระดูกพรุนดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และลดกระดูกหักในผู้เป็นเบาหวานได้เทียบเท่ากับคนที่ไม่เป็นเบาหวาน

3) ปรับการรักษาโรคเบาหวานตามลักษณะของผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย แพทย์อาจปรับเป้าหมายของค่าน้ำตาลเฉลี่ยให้สูงขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากจำเป็นต้องใช้อินซูลิน และซัลโฟนีลยูเรีย ควรใช้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อย่างไรก็ตามการปรับยารักษาเบาหวานควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เบาหวานเสมอ และไม่ควรปรับ ลด หรือหยุดใช้ยาเอง

การติดตาม

ควรมีการประเมินความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนทุกปี และวัดความหนาแน่นของกระดูกทุก 1-2 ปี ตามความเหมาะสม 

ข้อมูลจาก พญ. หทัยกาญจน์ นิมิตพงษ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ

นายแพทย์สุรพงศ์  อำพันวงษ์

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่