ไม่ใช่เรื่องใหม่รายแรกแล้วกับการที่ล่าสุดประเทศไทยมี ’นายกรัฐมนตรีหญิง“ เพราะนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ก็เป็นหญิง นั่นคือ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ซึ่งเป็น “นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก” ของประเทศไทยแต่กระนั้น… นายกรัฐมนตรีหญิง” คนล่าสุด ’นายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2“ นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทยคือ’แพทองธาร ชินวัตร“นั้นก็ ’เป็นเป้าโฟกัสจากทุกฝั่งฝ่ายอย่างมาก“ ซึ่งดู ๆ แล้ว ’ถูกจับตามากยิ่งกว่าตอนนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก“ เสียอีก…ด้วยหลาย ๆ ปัจจัย ที่รวมถึงการเป็น “นายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย” และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเป็น…

’นายกฯ“ อีกคนที่ ’นามสกุลชินวัตร“
ที่บิดา และอาหญิง ก็เคยเป็นนายกฯ
โดยเกี่ยวโยงเรื่องใหญ่ ๆ ในไทยอื้อ!!

ทั้งนี้ การที่ไทยมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ชื่อ ’แพทองธาร ชินวัตร“ถ้าจะ ’เปรียบเทียบกับยุคนายกรัฐมนตรีไทยคนอื่น ๆ ที่ผ่านมา“ และโดยเฉพาะเปรียบเทียบกับยุคอาหญิง “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 หรือเปรียบเทียบกับยุคบิดา คือ “ทักษิณ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 จะเป็นเช่นไร?-อย่างไร?“ นั้นประชาชน ’ก็ยังต้องรอดูกันไป“

อย่างไรก็ตาม ละสายตาจากการโฟกัสนายกรัฐมนตรีหญิงคนล่าสุด ละสายตาจากการโฟกัสการเมือง เปลี่ยนเป็น “โฟกัสปรากฏการณ์ผู้นำหญิง” ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ในภาพรวม ๆ ทั่วไป กับปรากฏการณ์นี้ก็มีนักวิชาการหลากหลายสาขาให้ความสนใจทำการศึกษา และก็มีผลศึกษาที่น่าสนใจ ดังเช่นที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลในวันนี้ โดยหนึ่งในมุมการ ’ศึกษาปรากฏการณ์ผู้นำหญิง“ นั้น ก็มี ’มุมจิตวิทยาเชิงประยุกต์“ด้วย ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์นี้-เรื่องนี้เพื่อจะค้นหาคำตอบเกี่ยวกับการรับรู้ “ความเหมาะสมของผู้นำ” โดยที่มีการเรียกชื่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่า…

ผู้นำหญิงบนหน้าผาแก้ว“

เกี่ยวกับ ’ปรากฏการณ์ผู้นำหญิงบนหน้าผาแก้ว“ ที่ว่านี้…เป็นการศึกษา-เป็นส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์โดย อาริยา บุญสม ในฐานะนิสิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ผศ.ดร.คัคนางค์ มณีศรี เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โดยบางส่วนจากวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มนั้นได้มีการนำมาเผยแพร่ไว้ผ่านบทความเรื่อง ’เพศและการเลือกผู้นำองค์การ“ผ่านทางเว็บไซต์คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.psy.chula.ac.th ซึ่งนี่เป็นอีกชุดข้อมูลทางวิชาการ ว่าด้วย “ผู้นำหญิงในสังคมไทยยุคใหม่” ที่สะท้อนไว้ผ่าน “มุมจิตวิทยาเชิงประยุกต์” ซึ่งก็ ’น่าพินิจน่าคิดยิ่ง“

ในบทความชิ้นนี้มีการหยิบยกนำประเด็นน่าสนใจจากวิทยา นิพนธ์ดังกล่าวมา ฉายภาพปรากฏการณ์เรื่องนี้ โดยระบุไว้ว่า…งานศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทเอกชนขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 200 คน มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 29.67 ปี และส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ กับมีอายุงานในองค์กร 1-3 ปี โดยมี “คำถามสำคัญ” ที่ผู้วิจัยสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ… กรณีที่ “องค์กรกำลังวิกฤติ” และ “ต้องเลือกผู้นำคนใหม่” กลุ่มตัวอย่าง จะเลือกเพศใด? ระหว่างผู้ชาย?-ผู้หญิง? ซึ่งคำตอบที่ได้นั้นปรากฏว่า… ผู้หญิงเป็นตัวเลือกแรก“

ยิ่งวิกฤติมากยิ่งมีแนวโน้มถูกเลือกสูง

ส่วน “เหตุผลการตัดสินใจเลือกผู้หญิงให้เป็นผู้นำ” นั้น…มีการขยายความไว้ว่า… ถ้าหากในภาวะปกติ กลุ่มตัวอย่างมักจะเลือกผู้ชายให้เป็นผู้นำองค์กรมากกว่าผู้หญิง แต่ ในเวลาที่เกิด ’ภาวะวิกฤติ“ กลุ่มตัวอย่างมักตัดสินใจเลือก ’ผู้หญิง“ ให้ขึ้นมาทำหน้าที่ ’กุมบังเหียน’ โดยเฉพาะถ้าหาก ’ผู้นำคนก่อนเป็นชายและองค์กรประสบภาวะวิกฤติ”

แต่กับการตัดสินใจเลือกผู้หญิงเป็นผู้นำภายใต้ภาวะวิกฤติขององค์กรนั้น ก็มีการระบุไว้ว่า… กรณีนี้ยิ่งเพิ่มโอกาสและแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะเกิด “ปรากฏการณ์” รูปแบบหนึ่ง ที่เรียกว่า… ผู้นำหญิงบนหน้าผาแก้ว (Glass cliff effect)“ ซึ่งหมายถึง…เมื่อองค์กรประสบปัญหา ผู้หญิงมักได้รับเลือกเป็นผู้นำ ส่งผลให้ ’ผู้นำหญิงต้องเผชิญสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวมากกว่า“ผู้นำชาย ที่ถือเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของผู้หญิงอย่างหนึ่ง

และในบทความ “เพศและการเลือกผู้นำองค์การ” ก็ระบุไว้ในช่วงท้ายด้วยว่า…เพื่อป้องกันปัญหาไม่เท่าเทียมทางเพศในบริบทการทำงาน ผู้ที่มีหน้าที่คัดเลือกบุคลากรเข้ารับตำแหน่งผู้นำ ควรพิจารณาจากความเหมาะสมต่อลักษณะงานและศักยภาพของบุคคลเป็นหลัก รวมถึงควรให้โอกาสผู้หญิงได้รับตำแหน่งผู้นำ เมื่อองค์กรกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี

ทั้งนี้ หากจะโฟกัสเพิ่มเติมในภาพรวมกรณี “ผู้นำที่ดี” ก็มีบทความเรื่อง ’ภาวะผู้นำสตรีต่อการบริหารจัดการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ในยุคนิวนอร์มัล“โดย ดร.เสาวนีย์ วิยะบุญ และ ดร.ยุภดี แหยมสุขสวัสดิ์ ที่เผยแพร่อยู่ใน วารสารปรัชญาปริทรรศน์ เดือน ม.ค.-มิ.ย. 2566 ซึ่งได้ระบุถึง ’ลักษณะผู้นำที่ดี“ ไว้ว่า…มี 3 ด้าน คือ 1.ด้านความคิด เช่น ฉลาดกว่าคนทั่วไป วิเคราะห์สถานการณ์ได้ถูกต้อง 2.ด้านมนุษยสัมพันธ์ เช่น ภาพลักษณ์ดึงดูดใจ เข้ากับคนได้ทุกระดับ 3.ด้านความรู้ เช่น มีความรู้ต่าง ๆ ทั้งงานที่ปฏิบัติ องค์กร ความรู้ทั่วไป …นี่เป็นกรณีผู้นำที่ดี ซึ่งก็น่าจะทั้งที่เป็นชายและหญิง

เหล่านี้เป็นเรื่อง ’ผู้นำหญิง-ผู้นำที่ดี“
ที่ไม่ใช่การโฟกัส ’ผู้นำรัฐบาลหญิง“
แต่ ’อาจเป็นคนละเรื่องเดียวกัน??“.