อาชีพขี่มอเตอร์ไซค์ส่งอาหาร หรือไรเดอร์นั้น เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่กำลังได้รับความนิยม ส่งผลให้จำนวนผู้ที่ประกอบอาชีพนี้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การขยายตัวนี้ก็มาพร้อมการแข่งขันที่สูงขึ้น และส่งผลให้คนอาชีพนี้เริ่มมีปัญหาสุขภาพมากขึ้นด้วย“…เป็นการสะท้อนไว้ถึง “สุขภาวะคนอาชีพไรเดอร์” ที่ไม่เพียง “เสี่ยง” กรณี “อุบัติเหตุ”

’ไรเดอร์“ นั้น ’เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพ“
ทั้ง ’สุขภาพกาย“ รวมถึง ’สุขภาพจิต“
’สุขภาวะ“ อาชีพไรเดอร์ ’ก็ต้องใส่ใจ“

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก รายงานวิจัย “อุบัติเหตุและสุขภาพของคนขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหารภายใต้การควบคุมของแพลตฟอร์ม ปี 2566” ที่เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบการสร้างอำนาจต่อรองเพื่อสุขภาวะของแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารและแรงงานในกิจการขนส่ง โดย มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีการสะท้อนปัญหาของ ’อาชีพไรเดอร์“ ไว้ว่า… นอกจากอุบัติเหตุ ซึ่งเฉพาะที่ปรากฏเป็นรายงานข่าว ในช่วงปี 2556-2565 ที่มีอุบัติเหตุเกิดกับคนทำอาชีพไรเดอร์ 154 ครั้งแล้ว ก็ยัง…

’พบแนวโน้ม“ความเสี่ยง’เจ็บป่วย“…
ทั้ง’ทางกายและทางจิต“ที่ ’เพิ่มขึ้น!!“

ข้อมูลในรายงานวิจัยที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” นำมาสะท้อนต่อในวันนี้ ได้มีการฉายภาพ “ปัญหาและความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย” ที่เกิดขึ้นกับ “อาชีพไรเดอร์” โดยมีผลการศึกษาที่พบว่า… นอกจากอุบัติเหตุที่เป็นความเสี่ยงทางถนนของอาชีพไรเดอร์แล้ว มีไรเดอร์เป็นจำนวนมากที่มีอาการเจ็บป่วยด้านร่างกายและเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น โดยมี “ปัจจัย” มาจาก “ชั่วโมงทำงานยาวนาน” และ “ความเร่งรีบในการทำงาน” ภายใต้ “แรงกดดัน” จนทำให้ไรเดอร์ มีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยด้วยอาการคล้าย ๆ กับโรคออฟฟิศซินโดรม ในคนที่ทำอาชีพเป็นพนักงานออฟฟิศ

ภาวะเจ็บป่วยจากการทำงาน” ของ “อาชีพไรเดอร์” ที่ผลศึกษาพบแนวโน้มความเจ็บป่วยด้วยอาการคล้าย ๆ กับออฟฟิศซินโดรมนั้น ในรายงานได้อธิบายไว้ว่า… จากการศึกษาเรื่องนี้ทำให้ ค้นพบความเชื่อมโยงกันของอาการเจ็บป่วยต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของคนที่ทำอาชีพนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีลักษณะอาการที่คล้าย ๆ กับอาการที่เกิดกับกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ จนอาจเรียกชื่ออาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนในอาชีพไรเดอร์ได้คล้าย ๆ กับออฟฟิศซินโดรม คือ…

อาการเจ็บป่วย ’ไรเดอร์ซินโดรม“…
ที่ก็เจ็บป่วยโดยมีที่มาจากการทำงาน

ความเสี่ยงเจ็บป่วย อาการเจ็บป่วย ’ไรเดอร์ซินโดรม“ ที่คนอาชีพนี้เผชิญ ในรายงานวิจัยยังแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยทำให้เกิดไว้ว่า… ความเสี่ยงส่วนใหญ่นั้นเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้คือ… อุปกรณ์การทำงาน” อาทิ รถมอเตอร์ไซค์ หมวกกันน็อก โทรศัพท์, สภาพแวดล้อมพื้นที่ทำงาน” เช่น ถนน ซอย, พฤติกรรมการขับขี่” อาทิ การขับขี่ด้วยความเร็ว การขับขี่ที่โลดโผน รวมถึงจาก “กฎระเบียบของแพลตฟอร์ม” เช่น ต้องส่งให้ตรงเวลา ต้องขี่ทำรอบให้ได้ เป็นต้น

เหล่านี้เชื่อมโยงกับอาการเจ็บป่วย…
อาการที่มักพบใน’คนอาชีพไรเดอร์“

ทั้งนี้ ’ความเจ็บป่วยไรเดอร์ซินโดรม“ ที่เกิดขึ้น ที่พบบ่อย ๆ นั้น ในส่วนของอาการ “ทางกาย” ได้แก่… ปวดเมื่อย“ โดยเฉพาะที่พบได้มากคืออาการเกร็งที่ไหล่ ซึ่งมาจากการขับขี่และการยกของหนัก เนื่องจากบางแพลตฟอร์มนั้นทางผู้ให้บริการไม่ได้จำกัดน้ำหนักของที่ส่ง ทางไรเดอร์ต้องยกของหนักอยู่เป็นประจำ หรือแม้แต่ต้องเกร็งร่างกายเพื่อประคองรถขณะขับขี่ เนื่องจากบรรทุกน้ำหนักมาก, ปวดข้อนิ้วนิ้วล็อก“ จากการใช้งาน เช่น บิดคันเร่ง เบรก และหิ้วของเป็นจำนวนมาก

ปวดเอวและก้น“จากการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานในแต่ละวัน หรือเกิดจากการกระแทกในขณะขับขี่, ปวดศีรษะ หู และคอ“จากการต้องใส่หมวกกันน็อกตลอดเวลาเกือบทั้งวัน จนเกิดการกดทับบริเวณดังกล่าว, ปวดเข่าและขา“จากการต้องนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้ปวดเข่าปวดขาเรื้อรัง, เชื้อราในร่มผ้าน้ำกัดเท้า“จากการเปียกชื้นช่วงหน้าฝน, เจ็บตาและจมูก“ จากการต้องใช้ชีวิต
กลางฝุ่นควันมลพิษต่าง ๆ และต้องเพ่งโทรศัพท์เกือบตลอดเวลา, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ“โดยเฉพาะ “ไรเดอร์ผู้หญิง” ที่แต่ละวันอาจต้อง “อั้นปัสสาวะ” เป็นเวลานาน ๆ เพราะการเข้าห้องน้ำทำได้ลำบากกว่าผู้ชาย

และที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เป็นผลจากการเจ็บปวดเรื้อรังตามอวัยวะต่าง ๆ คือมีแนวโน้มมีโอกาส “เสพติดยาแก้ปวด” จากการต้องกินยาปริมาณมาก ๆ ติดต่อกันนาน ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้ทุกวัน… ทั้งนี้ สำหรับอาการ “ทางจิต” นั้นพบว่า… ส่วนใหญ่ ’วิตกกังวลเครียด“ เช่น กลัวขาดรายได้ หรือเกิดจากลูกค้า ร้านค้า เจ้าหน้าที่ตำรวจ และบริษัท จน ’เสี่ยงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตได้“…ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงสุขภาพจากแหล่งดังกล่าวข้างต้น…กับคนอาชีพ ’ไรเดอร์“

ยุคนี้ ’คนที่ทำอาชีพนี้ก็คนกลุ่มใหญ่“
และ ’ก็มีปัญหาใหญ่จากการทำงาน“
ป่วยกันมาก…เป็น ’ไรเดอร์ซินโดรม“.