มองว่าถ้าหากกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ผ่านและมีผลบังคับใช้ ไม่ใช่ดีแค่กับผู้ใหญ่แต่ยังเป็นก้าวสำคัญให้กับเด็กและเยาวชนด้วยในหลาย ๆ เรื่อง“…นี่เป็นเสียงที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน “สิทธิเด็ก” และ “ความหลากหลายทางเพศ” ได้สะท้อนไว้กับ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ถึง “มุมบวก” หาก ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ…. หรือ “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม“ ออกมาเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญรายนี้สะท้อนต่อไปว่า…แม้ส่วนใหญ่มองกฎหมายฉบับนี้ว่าเป็น “เรื่องของ LGBTQ+ กลุ่มผู้ใหญ่” หากแต่…

จริง ๆ แล้ว เชื่อมโยงกับกลุ่มเด็ก“…
รวมถึง เกี่ยวพันเรื่องสิทธิเด็ก“ ด้วย

กรณีความเกี่ยวพันระหว่าง “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” กับ “สิทธิเด็ก” นั้น… พีราณี ศุภลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญและประสานงานด้านสิทธิเด็กและความหลากหลายทางเพศ มูลนิธิช่วยเหลือเด็ก ประเทศ ไทย (Save the Children Thailand) ระบุเรื่องนี้กับ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ว่า… หลังสภายอมรับร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว แม้จะทำให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศดีใจ แต่ก็ต้องยอมรับว่า… ยังมีข้อกังวลหลาย ๆ ประเด็น รวมถึงมีคำถามว่า… เมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้จริง ๆ แล้ว จะส่งผลอย่างไรต่อเด็กและเยาวชนบ้าง?? ทั้งเด็กในครอบครัว LGBTQ+ และเด็กที่เป็น LGBTQ+

ทั้งนี้ เมื่อกฎหมายนี้ผ่านออกมาบังคับใช้จริง ย่อม ส่งผลดีต่อ’สิทธิเด็กในครอบครัวเพศหลากหลาย“ หรือเด็กที่อยู่ในการดูแลของคู่สมรสที่เป็น LGBTQ+ ไม่ว่าจะอยู่ในครอบครัวลักษณะนี้ก่อนหรือหลังการสมรสของคู่รัก LGBTQ+ ก็ตาม เนื่องจากกฎหมาย รับรองสถานภาพการสมรส จึงย่อมถือว่า มีผลทางกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นผู้รับรองสถานะของคู่สมรสกลุ่มนี้ ด้วยเหตุนี้ จะทำให้เด็ก ๆ ในการดูแล หรือในครอบครัว LGBTQ+ ต้องได้รับสิทธิพึงได้” ทุกประการที่ควรได้

“นี่เป็นข้อดีของกฎหมายนี้ เพราะในเมื่อกฎหมายให้การรับรองคู่สมรสเพศหลากหลาย ถ้าเช่นนั้นเด็กที่อยู่ภายใต้ครอบครัวนี้ก็จะต้องได้รับสิทธิที่พึงได้เหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ รวมถึงจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากกฎหมายเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่ากฎหมายนี้จะยิ่งช่วยเติมโอกาสชีวิตของเด็ก ๆ“

ผู้เชี่ยวชาญของ Save the Children ประเทศไทย ขยายเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า… จากเดิมที่ในอดีตมีปัญหาเกี่ยวกับสถานะของเด็กที่โตและใช้ชีวิตท่ามกลางพ่อแม่หรือคู่ที่เป็นเพศหลากหลาย เพราะเดิมกฎหมายการรับรองบุตรต้องมีการระบุว่า…ใครเป็นพ่อหรือแม่ แต่พอกฎหมายสมรสมเท่าเทียมออกมา ซึ่งกฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ใช้คำว่า “คู่สมรส” หรืออาจจะใช้คำว่า “บุพการี” แทนที่จะต้องระบุว่าใครเป็นบิดา-มารดา ก็ทำให้ เด็กสามารถรับสิทธิจากคู่สมรสทั้ง 2 คนได้ ในกรณีที่เกิดมีคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตลงก่อน กรณีนี้ก็จะไม่ส่งผลกระทบกับเด็ก โดย… เด็กยังได้รับสิทธิและการคุ้มครองเช่นเดิม

“โอกาสชีวิตของเด็ก“ ก็ ไม่ต้องสะดุด“

ส่วน “ผลดี” ประการต่อมาหาก กฎหมายสมรสเท่าเทียม ออกมาใช้จริง ผู้เชี่ยวชาญคนเดิมสะท้อนว่า… จากที่ลงพื้นที่ติดตามและทำงานกับ กลุ่มเด็กที่เป็น LGBTQ+ ก็ได้รับเสียงสะท้อนน่าสนใจว่า… เด็ก ๆ กลุ่มนี้ ที่ยังมีอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์จนสามารถที่จะแต่งงานกับคู่รักได้ เด็ก ๆ เกือบทั้งหมดตอบตรงกันว่า… เมื่อมีกฎหมายนี้
เด็ก ๆ เหล่านี้จึง “กล้าฝันไกลขึ้น” กับช่วยให้ “มองเห็นอนาคตมากขึ้น” จากเดิมที่แทบไม่คิดถึงเลย โดยมองว่า… กฎหมายนี้ช่วยให้เห็นภาพที่ สังคมเปิดใจยอมรับความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งสะท้อนว่า… ปัจจุบันไม่ได้มีแค่ “ระบบ 2 เพศ ชายหญิง” เพียงอย่างเดียว

“คำตอบที่เด็กตอบมาน่าสนใจ โดยบอกว่าแม้ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ตรง แต่กฎหมายนี้ก็ทำให้พวกเขามั่นใจที่จะแสดงตัวตนมากขึ้น จากเดิมที่ไม่กล้าจากการถูกกดทับไว้ทั้งที่บ้านที่โรงเรียน ทำให้กล้าที่จะวาดอนาคตของตัวเองได้ไกลมากขึ้น“…ทาง พีราณี ศุภลักษณ์ ระบุถึง “มุมสะท้อน” ที่ “เด็ก LGBTQ+” ส่วนใหญ่สะท้อนไว้ และว่า…

“ผลดี” ประการที่สามเมื่อกฎหมายนี้ออกมาใช้จริง คือ… จะยิ่งฉายภาพให้เห็นชัดเจนว่าในโลกสมัยใหม่ “สังคมไทยโอบรับความหลากหลายเพิ่มขึ้น“โดยอาจไปสั่นคลอนต่อ “ฐานคิดเรื่องเพศในสังคม” ที่จากอดีตจะมีแค่ระบบ 2 เพศ หรือแค่เพศชายกับเพศหญิง แต่ก็ย่อม ดีต่อชีวิต “เด็ก LGBTQ+” หรือแม้แต่ “เด็กในครอบครัวเพศหลากหลาย” โดยการที่สังคมโอบรับความหลากหลายมากขึ้นนี้ ทำให้เกิดการสร้างนิเวศใหม่ ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ทำให้เด็ก ๆ กลุ่มนี้… ไม่ป่วยเป็นโรคเครียด ซึมเศร้า มีปัญหาสุขภาพจิต จากการ “ต้องปกปิดตัวตน“ หรือ “ถูกบังคับให้เปลี่ยนเพศสภาพ!!“

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ Save the Children ประเทศไทย ยังให้ข้อมูลจากที่ทางมูลนิธิฯ ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนที่เป็น LGBTQ+ เมื่อปี 2566 ว่า… ที่น่าตกใจคือ เด็กกว่า 42% ยอมรับว่า… ถูกกดดันหรือบังคับให้เปลี่ยนเพศสภาพ และกว่า 70% ป่วยซึมเศร้าเพราะเครียดจากการถูกบูลลี่ และที่สำคัญ เริ่มพบว่า… มีเด็ก LGBTQ+ จำนวนหนึ่งมีแนวโน้มคิดสั้นฆ่าตัวตาย เพราะ “ทนแรงกดทับจากการถูกกดดันไม่ไหว” ดังนั้น แม้เด็ก ๆ เหล่านี้จะยังไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจาก “กฎหมายสมรสเท่าเทียม“แต่การมีอยู่ของกฎหมายดังกล่าวนี้ก็ ทำให้ เด็ก ๆ“ กลุ่มนี้ กล้าจะฝันถึงอนาคตมากขึ้น“

นี่เป็นอีก มุมบวก“ ที่มีการสะท้อนไว้
กรณี ไทยมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม“
เรื่องผู้ใหญ่ เด็ก-สิทธิเด็ก…ก็เกี่ยว“.