โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือ-อีสาน-ตะวันออก-ใต้ ที่จะลุยก่อสร้างตั้งแต่ปี 56-57 แต่คนไทยโชคร้าย! เพราะโครงการดังกล่าวติดหล่ม “ถนนลูกรัง” และเสียเวลา เสียโอกาส แถมต้นทุนแพงขึ้น! จาก “รัฐประหาร” จึงถูกรถไฟฟ้าลาว-จีน (เวียงจันทน์-คุนหมิง) ลงมือก่อสร้างทีหลังไทย แต่เปิดบริการตั้งแต่ ธ.ค. 64

7 ปีที่แล้ว “พยัคฆ์น้อย” ไปประเทศอินโดนีเซีย นั่งรถบัสจากเมืองจาการ์ตา ไปเมืองบันดุง ระยะทางประมาณ 150 กม. แต่สภาพการจราจรติดขัดเอาเรื่อง! ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 4 ชั่วโมง ไปกลับ 8 ชั่วโมง

เผลอไม่กี่ปี เพราะมัวแต่ลุ้นรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายแรกของไทย ช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา ที่ลงมือสร้างตั้งแต่ปลายปี 60 แต่จู่ ๆ รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายแรกของอินโดนีเซีย (จาการ์ตาบันดุง) เปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือนต.. 66 ส่วนรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯนครราช สีมา เมื่อเดือน ต.. 66 สร้างคืบหน้ายังไม่ถึง 35%

นอกจากรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา แล้วยังต้องทำอีกช่วงจากนครราชสีมา-หนองคาย เพื่อเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว ดังนั้นลองนึกภาพกันเอาเองว่ารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย จะเสร็จเมื่อไหร่?

ไหนจะโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ทำความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม.) เชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. เริ่มต้นจากดอนเมือง-บางซื่อ-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ศรีราชา-พัทยา-อู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ที่กลุ่มซีพีและพันธมิตรได้โครงการนี้ไป แต่หลังจากลงนามทำสัญญากับรัฐบาลเมื่อเดือน ต.ค. 62 ปัจจุบันโครงการดังกล่าวยังไม่คืบหน้าไปถึงไหน!

เมื่อโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ล่าช้า! ก็ทำให้โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่กลุ่ม “บีทีเอส-ซิโนไทย” ได้งานไปตั้งแต่ มิ.ย. 63 ล่าช้าตามไปด้วย พูดง่าย ๆ ว่าถ้ารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ไม่คืบหน้าไปเท่าที่ควร โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ จึงยังไม่กล้าตอกเสาเข็ม!

ดังนั้นเมื่อเดือน มิ.. ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จึงต้องลงพื้นที่ระยองชลบุรี เพื่อติดตามความคืบหน้าการก่อสร้าง 2 โครงการเมกะโปรเจกต์ดังกล่าว เพื่อให้เป็นโครงข่ายหลักในการขนส่งจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เข้าสู่ใจกลางเมือง และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยวสู่พื้นที่ “อีอีซี” รวมทั้งยังช่วยลดความแออัดของสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ

นายกฯ ขอให้กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กำกับให้ผู้รับสัมปทาน เร่งก่อสร้างให้เสร็จตามแผนที่กำหนดไว้ และขอให้ภาคเอกชนมั่นใจว่าโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน จะมีความชัดเจนให้เห็นในช่วงปลายเดือน ก.ค.นี้ อย่างแน่นอน!

ปัจจุบันผู้เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน จึงเรียกประชุมกันถี่ยิบ เพื่อเร่งเคลียร์สารพัดปัญหายิบย่อยต่าง ๆ เพื่อให้โครงการนี้เดินหน้าตามไทม์ไลน์ที่นายกฯสั่งการ เพราะโครงการดังกล่าวมีผลต่อการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา-เมืองใหม่อีอีซี-เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์

นอกจากนี้ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย, รถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ยังจะช่วยให้เกิดแหล่งเศรษฐกิจ-ชุมชนใหม่ ๆ บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าตามมาอีกด้วย!!.

……………………………….
พยัคฆ์น้อย

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่…