กรณีชายกับหญิงเคยได้มีการจดทะเบียนสมรส และมีบุตรระหว่างสมรสด้วยกัน 1 คน แม้ภายหลังทั้งสองจะได้หย่ากัน บุตรดังกล่าวย่อมมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตรอีก เพราะใช้กับชายที่มิได้เคยจดทะเบียนสมรสกับหญิงมาก่อน

ดังนั้น กรณีชายกับหญิงเคยมีการจดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 1 คน ภายหลังได้หย่ากันแต่ฝ่ายชายไม่ได้จดรับรองบุตร ฝ่ายชายย่อมมีสิทธินำบุตรชอบด้วยกฎหมายของตนมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้

อนึ่ง ชายจะสามารถนำบุตรชอบด้วยกฎหมายของตนมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตนในปีภาษีได้เป็นจำนวนคนละ 30,000 บาท ก็ต่อเมื่อครบตามเงื่อนไข ตามมาตรา 47 (1) () แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้

(1) ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของคู่สมรสของผู้มีเงินได้ และ

(2) ต้องเป็นบุตรผู้เยาว์ หรือในกรณีที่บุตรพ้นจากความเป็นผู้เยาว์ ไม่ว่าบุตรดังกล่าว จะมีอายุเท่าใดก็ตาม บุตรนั้นต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

() เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ

() อายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือชั้นอุดมศึกษา ซึ่งได้แก่ การศึกษาตั้งแต่ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าขึ้นไปจนถึงปริญญาเอก ทั้งนี้ ไม่ว่าจะศึกษาในสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ และ

(3) ต้องเป็นบุตรที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ และ

(4) ต้องเป็นบุตรที่ไม่มีเงินได้พึงประเมิน
หรือมีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีบุตรดังกล่าวมีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี บุตรคนนั้นต้องมีเงินได้ไม่ถึง 30,000 บาท.