ประเด็นที่ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องการจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1.5 ล้านโด๊ส ในเดือน ก.ค.64 จากสหรัฐอเมริกา (ระบุวัตถุประสงค์ให้ใช้กับบุคลากรทางการแพทย์) จึงขอความเห็นเรื่องการบริหารจัดการวัคซีน ส่วนใหญ่เห็นว่าควรมุ่งเน้นไปที่บุคคล 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบุคคลอายุ 12-18 ปี 2. กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้วัคซีน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ และ 3. กลุ่มบุคลากรด่านหน้า กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นวัคซีนเข็มที่ 3 แต่มีบางเสียงไม่เห็นด้วย ระบุทำนองว่า “ในขณะนี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงว่าเรายอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลในการป้องกันและจะแก้ตัวยากขึ้น”
แม้ทางกระทรวงสาธารณสุข จะออกมาอธิบายว่าเป็นเรื่องการประชุมคณะวิชาการ ข้อมูลที่ถูกนำมาเผยแพร่ก็ไม่ใช่เอกสารบันทึกการประชุมที่เป็นทางการของจริง นอกจากนี้ที่สำคัญคือการประชุมก็ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ก็เริ่มมีการนัดเคลื่อนไหวของกลุ่ม “หมอไม่ทน” ที่ออกมาเชิญชวนประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมสวมเสื้อดำ ติดโบดำ วันพุธ 7 ก.ค. เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 และผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด พร้อมยื่นข้อเรียกร้อง เร่งจัดหา วัคซีน mRNA ให้ได้เร็วที่สุดเพื่อนำมาใช้เป็นวัคซีนหลักในการป้องกันการระบาด รวมไปถึงใช้เป็น วัคซีนฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แก่บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ต้องการฉีดทุกท่าน ฯลฯ
สู้โควิดกลายพันธุ์ต้องรีบฉีด “วัคซีนเข็ม 3”
ทีมข่าว 1/4 Special Report ได้ติดต่อสัมภาษณ์ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รักษาการเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การที่ต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็น กลุ่มแรกที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม แต่สภาวะตอนนี้มีพัฒนาการของเชื้อโรค ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือ ต้องมาพิจารณาว่า วัคซีนที่มีการฉีดตั้งแต่เริ่มแรก ยังครอบคลุมการกลายพันธุ์อยู่หรือไม่ ซึ่งผลที่ออกมาพบว่า ไม่ได้ให้ผลดีเท่าเดิม ดังนั้นวัคซีนที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งไทยยังไม่ได้นำเข้ามา มีความครอบคลุมมากกว่า
สิ่งที่ภาครัฐต้องพิจารณาคือ “บูสเตอร์โด๊ส” ภูมิคุ้มกันให้มีความครอบคลุมเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ให้เท่าทันเชื้อโรคมากขึ้น จะเหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ทุกปีเราต้องฉีดวัคซีนที่มีการพัฒนาให้เท่าทันกับไข้หวัดชนิดใหม่ มีการกลายพันธุ์ และอนาคตเราจะต้องฉีดวัคซีนเพื่อบูส
เตอร์โด๊สในทุกปี ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากตอนนี้ต้องทำงานท่ามกลางเชื้อโรคที่มีมาก และพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 3 จะเป็นตัวช่วยให้พวกเขามีเกราะป้องกัน ที่เมื่อรับเชื้อแล้วจะไม่มีอาการที่รุนแรง ซึ่งการได้เกราะป้องกันที่ดี ย่อมทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกส่วนปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น โดยผลประโยชน์สุดท้ายก็อยู่ที่ประชาชนที่มาใช้บริการ เพราะถ้าบุคลากรทางการแพทย์มีอาการป่วยไป 1 คน คนอื่นก็ต้องทำงานมากขึ้น ยิ่งถ้าบุคลากรทางการแพทย์ป่วยติดกันหลายคนก็อาจต้องปิดหอผู้ป่วย จนส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มาใช้บริการ
“ขณะที่ความเร็วในการนำวัคซีนเข็มที่ 3 มาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ย่อมจะช่วยให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า วัคซีนเข็มที่ 3 ชนิดไหนเหมาะสมและได้ผลดี ตอนนี้อยู่ในกระบวนการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขว่า ควรจะฉีดวัคซีนชนิดไหน ขนาดเท่าไร ที่เหมาะสมมากที่สุด ตอนนี้อยากเป็นกำลังใจให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจัดหาวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์เร็วที่สุด ถ้าข้ามขั้นตอนปกติได้จะดี เพื่อให้เกิดความรวดเร็วทันกับสถานการณ์ และเป็นประโยชน์กับประชาชนในประเทศโดยรวม” รักษาการเลขาธิการแพทยสภา กล่าวทิ้งท้าย
กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ทำงานเสี่ยงสูง
ขณะเดียวกัน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมุมมองเกี่ยวกับการรับมือเชื้อโควิดฯกลายพันธุ์ว่า ตอนนี้บุคลากรทางการแพทย์ในไทยมีประมาณ 2–3 แสนคน ได้รับวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็มในช่วงต้นปี 64 แต่ตอนนี้มีเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์ อัลฟา (อังกฤษ ) และสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ซึ่งวัคซีนที่ไทยนำมาฉีดในช่วงแรกมีประสิทธิภาพลดลง บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้า จึงมีความเสี่ยงได้รับเชื้อจากผู้ป่วย จึงจำเป็นจะต้องมีวัคซีนเข็มที่ 3 ฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพราะถ้าดูกรอบเวลาที่ฉีดกันมา น่าจะถึงเวลาแล้วที่ต้องฉีดกระตุ้นภูมิ
อีกครั้ง
โดยถ้าได้วัคซีนชนิด mRNA ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด เช่น ไฟเซอร์, โมเดอร์นา ฯลฯ จึงมีการเรียกร้องว่า การฉีดวัคซีนในเข็มที่ 3 ควรนำวัคซีนชนิดนี้มาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพราะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งฉีดวัคซีน mRNA ก็มีการวิจัยว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 6 เดือน แต่ในวัคซีนที่ผลิตโดยเชื้อตาย เช่น ซิโนแวค, ซิโนฟาร์ม ยังไม่มีผลวิจัยที่ชัดเจน ดังนั้นจึงเห็นว่าตอนนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนเชื้อตายไป เริ่มมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลง แต่ขณะนี้ก็ยังต้องทำงานกับผู้ติดเชื้อกลายพันธุ์จึงมีความเสี่ยงที่จะติดมากขึ้น
“เค้าลางใหญ่ของปัญหาระบบสาธารณสุขที่ผ่านมาจะเห็นมีทั้งเรื่องเตียงไม่พอ จนทำให้ผู้ป่วยโควิด และป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ไม่ได้รับการรักษา และถ้าบุคลากรทางการแพทย์ต้องมาติดโควิดเข้าไปอีก แม้ติดเพียงแค่คนเดียว แต่คนรอบข้างก็ต้องกักตัวไปด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะทำให้ระบบสาธารณสุขของโรงพยาบาล หรือในพื้นที่นั้น ๆ ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ”
“วัคซีน mRNA” กระตุ้นภูมิ–ครอบคลุม
รศ.ดร.เจษฎา กล่าวต่อว่า ที่น่าแปลกคือตอนนี้ในหลาย ๆประเทศที่เจรจาซื้อวัคซีน mRNA เช่นประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปปินส์ เพิ่งเจรจาซื้อเมื่อไม่กี่เดือนนี้แล้วได้วัคซีน ดังนั้นการเจรจาซื้อวัคซีนหากรัฐมีการเจรจาที่เต็มที่ ไม่ต้องมาจำกัดเรื่องงบประมาณ ก็จะสามารถติดต่อซื้อขายกันได้อย่างรวดเร็ว เพราะการนำเข้ามาอาจไม่ต้องนำมาทีละล้าน ๆ โด๊ส แต่ควรนำเข้ามาให้เหมาะสมกับภารกิจ เช่น การนำเข้ามาเพื่อฉีดกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าประมาณ 2–3 แสนโด๊ส แม้แต่การเจรจากับประเทศอื่น ๆ ที่ซื้อวัคซีน mRNA ไปแล้ว ซึ่งอาจมีการใช้ไม่หมด หรือการขอรับบริจาค รัฐบาลควรมีการเจรจาอย่างจริงจัง เพื่อฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในแนวหน้าก่อน
อย่างไรก็ดีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเข็มที่ 3 สำหรับวัคซีน mRNA รัฐควรมีการวางแผนการจัดหาในระยะยาว
ที่ไม่เฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ แต่ต้องมองถึงประชากรกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆและประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกันรัฐควรลดข้อจำกัดในการนำเข้าวัคซีนกลุ่มนี้ลง เพราะจะเป็นเรื่องดีหากประชาชนได้ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ถ้ามองในระยะยาว หากไทยยังยึดติดกับ “วัคซีนเชื้อตาย” เพียง 2 ชนิดที่ใช้อยู่ก็จะไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม จึงต้องควรมองว่าวัคซีนที่มีการผลิตในตัวใหม่ ๆ เพราะยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่รับมือเชื้อกลายพันธุ์ ดังนั้นรัฐบาลควรต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น ไม่ใช่ทำงานแบบตั้งรับในการรอวัคซีนอย่างที่เป็นอยู่
ประเด็นที่ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องการจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1.5 ล้านโด๊ส ในเดือน ก.ค.64 จากสหรัฐอเมริกา (ระบุวัตถุประสงค์ให้ใช้กับบุคลากรทางการแพทย์) จึงขอความเห็นเรื่องการบริหารจัดการวัคซีน ส่วนใหญ่เห็นว่าควรมุ่งเน้นไปที่บุคคล 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มบุคคลอายุ 12-18 ปี 2. กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้วัคซีน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ และ 3. กลุ่มบุคลากรด่านหน้า กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นวัคซีนเข็มที่ 3 แต่มีบางเสียงไม่เห็นด้วย ระบุทำนองว่า “ในขณะนี้ ถ้าเอามาฉีดกลุ่ม 3 แสดงว่าเรายอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลในการป้องกันและจะแก้ตัวยากขึ้น”
แม้ทางกระทรวงสาธารณสุข จะออกมาอธิบายว่าเป็นเรื่องการประชุมคณะวิชาการ ข้อมูลที่ถูกนำมาเผยแพร่ก็ไม่ใช่เอกสารบันทึกการประชุมที่เป็นทางการของจริง นอกจากนี้ที่สำคัญคือการประชุมก็ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ก็เริ่มมีการนัดเคลื่อนไหวของกลุ่ม “หมอไม่ทน” ที่ออกมาเชิญชวนประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ร่วมสวมเสื้อดำ ติดโบดำ วันพุธ 7 ก.ค. เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิต ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 และผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด พร้อมยื่นข้อเรียกร้อง เร่งจัดหา วัคซีน mRNA ให้ได้เร็วที่สุดเพื่อนำมาใช้เป็นวัคซีนหลักในการป้องกันการระบาด รวมไปถึงใช้เป็น วัคซีนฉีดกระตุ้นเข็ม 3 แก่บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ต้องการฉีดทุกท่าน ฯลฯ
สู้โควิดกลายพันธุ์ต้องรีบฉีด “วัคซีนเข็ม 3”
ทีมข่าว 1/4 Special Report ได้ติดต่อสัมภาษณ์ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รักษาการเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การที่ต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากเป็น กลุ่มแรกที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม แต่สภาวะตอนนี้มีพัฒนาการของเชื้อโรค ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือ ต้องมาพิจารณาว่า วัคซีนที่มีการฉีดตั้งแต่เริ่มแรก ยังครอบคลุมการกลายพันธุ์อยู่หรือไม่ ซึ่งผลที่ออกมาพบว่า ไม่ได้ให้ผลดีเท่าเดิม ดังนั้นวัคซีนที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ ซึ่งไทยยังไม่ได้นำเข้ามา มีความครอบคลุมมากกว่า
สิ่งที่ภาครัฐต้องพิจารณาคือ “บูสเตอร์โด๊ส” ภูมิคุ้มกันให้มีความครอบคลุมเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ให้เท่าทันเชื้อโรคมากขึ้น จะเหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ทุกปีเราต้องฉีดวัคซีนที่มีการพัฒนาให้เท่าทันกับไข้หวัดชนิดใหม่ มีการกลายพันธุ์ และอนาคตเราจะต้องฉีดวัคซีนเพื่อบูส
เตอร์โด๊สในทุกปี ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากตอนนี้ต้องทำงานท่ามกลางเชื้อโรคที่มีมาก และพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 3 จะเป็นตัวช่วยให้พวกเขามีเกราะป้องกัน ที่เมื่อรับเชื้อแล้วจะไม่มีอาการที่รุนแรง ซึ่งการได้เกราะป้องกันที่ดี ย่อมทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกส่วนปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น โดยผลประโยชน์สุดท้ายก็อยู่ที่ประชาชนที่มาใช้บริการ เพราะถ้าบุคลากรทางการแพทย์มีอาการป่วยไป 1 คน คนอื่นก็ต้องทำงานมากขึ้น ยิ่งถ้าบุคลากรทางการแพทย์ป่วยติดกันหลายคนก็อาจต้องปิดหอผู้ป่วย จนส่งผลกระทบต่อประชาชนที่มาใช้บริการ
“ขณะที่ความเร็วในการนำวัคซีนเข็มที่ 3 มาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ย่อมจะช่วยให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า วัคซีนเข็มที่ 3 ชนิดไหนเหมาะสมและได้ผลดี ตอนนี้อยู่ในกระบวนการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขว่า ควรจะฉีดวัคซีนชนิดไหน ขนาดเท่าไร ที่เหมาะสมมากที่สุด ตอนนี้อยากเป็นกำลังใจให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจัดหาวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์เร็วที่สุด ถ้าข้ามขั้นตอนปกติได้จะดี เพื่อให้เกิดความรวดเร็วทันกับสถานการณ์ และเป็นประโยชน์กับประชาชนในประเทศโดยรวม” รักษาการเลขาธิการแพทยสภา กล่าวทิ้งท้าย
กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ทำงานเสี่ยงสูง
ขณะเดียวกัน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมุมมองเกี่ยวกับการรับมือเชื้อโควิดฯกลายพันธุ์ว่า ตอนนี้บุคลากรทางการแพทย์ในไทยมีประมาณ 2–3 แสนคน ได้รับวัคซีนซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็มในช่วงต้นปี 64 แต่ตอนนี้มีเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์ อัลฟา (อังกฤษ ) และสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ซึ่งวัคซีนที่ไทยนำมาฉีดในช่วงแรกมีประสิทธิภาพลดลง บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้า จึงมีความเสี่ยงได้รับเชื้อจากผู้ป่วย จึงจำเป็นจะต้องมีวัคซีนเข็มที่ 3 ฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพราะถ้าดูกรอบเวลาที่ฉีดกันมา น่าจะถึงเวลาแล้วที่ต้องฉีดกระตุ้นภูมิ
อีกครั้ง
โดยถ้าได้วัคซีนชนิด mRNA ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในตลาด เช่น ไฟเซอร์, โมเดอร์นา ฯลฯ จึงมีการเรียกร้องว่า การฉีดวัคซีนในเข็มที่ 3 ควรนำวัคซีนชนิดนี้มาฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพราะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งฉีดวัคซีน mRNA ก็มีการวิจัยว่า สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 6 เดือน แต่ในวัคซีนที่ผลิตโดยเชื้อตาย เช่น ซิโนแวค, ซิโนฟาร์ม ยังไม่มีผลวิจัยที่ชัดเจน ดังนั้นจึงเห็นว่าตอนนี้บุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนเชื้อตายไป เริ่มมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลง แต่ขณะนี้ก็ยังต้องทำงานกับผู้ติดเชื้อกลายพันธุ์จึงมีความเสี่ยงที่จะติดมากขึ้น
“เค้าลางใหญ่ของปัญหาระบบสาธารณสุขที่ผ่านมาจะเห็นมีทั้งเรื่องเตียงไม่พอ จนทำให้ผู้ป่วยโควิด และป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ไม่ได้รับการรักษา และถ้าบุคลากรทางการแพทย์ต้องมาติดโควิดเข้าไปอีก แม้ติดเพียงแค่คนเดียว แต่คนรอบข้างก็ต้องกักตัวไปด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะทำให้ระบบสาธารณสุขของโรงพยาบาล หรือในพื้นที่นั้น ๆ ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ”
“วัคซีน mRNA” กระตุ้นภูมิ–ครอบคลุม
รศ.ดร.เจษฎา กล่าวต่อว่า ที่น่าแปลกคือตอนนี้ในหลาย ๆประเทศที่เจรจาซื้อวัคซีน mRNA เช่นประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ฟิลิปปินส์ เพิ่งเจรจาซื้อเมื่อไม่กี่เดือนนี้แล้วได้วัคซีน ดังนั้นการเจรจาซื้อวัคซีนหากรัฐมีการเจรจาที่เต็มที่ ไม่ต้องมาจำกัดเรื่องงบประมาณ ก็จะสามารถติดต่อซื้อขายกันได้อย่างรวดเร็ว เพราะการนำเข้ามาอาจไม่ต้องนำมาทีละล้าน ๆ โด๊ส แต่ควรนำเข้ามาให้เหมาะสมกับภารกิจ เช่น การนำเข้ามาเพื่อฉีดกระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าประมาณ 2–3 แสนโด๊ส แม้แต่การเจรจากับประเทศอื่น ๆ ที่ซื้อวัคซีน mRNA ไปแล้ว ซึ่งอาจมีการใช้ไม่หมด หรือการขอรับบริจาค รัฐบาลควรมีการเจรจาอย่างจริงจัง เพื่อฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในแนวหน้าก่อน
อย่างไรก็ดีการฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันในเข็มที่ 3 สำหรับวัคซีน mRNA รัฐควรมีการวางแผนการจัดหาในระยะยาว
ที่ไม่เฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ แต่ต้องมองถึงประชากรกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆและประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกันรัฐควรลดข้อจำกัดในการนำเข้าวัคซีนกลุ่มนี้ลง เพราะจะเป็นเรื่องดีหากประชาชนได้ฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ถ้ามองในระยะยาว หากไทยยังยึดติดกับ “วัคซีนเชื้อตาย” เพียง 2 ชนิดที่ใช้อยู่ก็จะไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสม จึงต้องควรมองว่าวัคซีนที่มีการผลิตในตัวใหม่ ๆ เพราะยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่รับมือเชื้อกลายพันธุ์ ดังนั้นรัฐบาลควรต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น ไม่ใช่ทำงานแบบตั้งรับในการรอวัคซีนอย่างที่เป็นอยู่
วัคซีนไฟเซอร์
วัคซีนโควิดไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นวัคซีน ชนิด mRNA โดยสังเคราะห์สารพันธุกรรมเลียนแบบเชื้อไวรัสขึ้นมา เมื่อ mRNA ถูกฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรตีนส่วนหนาม เหมือนกับโคโรนาไวรัส ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการติดเชื้อจนเป็นโควิด-19 เมื่อร่างกายเห็นโปรตีนส่วนหนามของไวรัสแล้ว จึงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันไว้สำหรับป้องกันไวรัสจริง ๆ ที่จะเข้ามาได้ ทั้งนี้วัคซีนโควิดไฟเซอร์ ฉีดทั้งหมด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 21-28 วัน ใช้วิธีการฉีดเข้ากล้ามเนื้อแขนด้านบน ภูมิคุ้มกันจะเริ่มเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไฟเซอร์ไปแล้ว 12 วัน แต่ภูมิคุ้มกันจะทำงานเต็มที่หลังจากฉีดครบ 2 เข็ม.