แผนการจัดฟุตบอลโลก 2030 ในทวีปอเมริกาใต้, แอฟริกา และยุโรป ดูเหมือนเป็นแผนการที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้จริง โดยก่อนหน้านี้ มีครั้งเดียวที่ฟุตบอลโลกมีเจ้าภาพมากกว่า 1 ชาติ นั่นคือฟุตบอลโลก 2002 ที่ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จับมือเป็นเจ้าภาพร่วมกัน ขณะที่ฟุตบอลโลกครั้งต่อไปในปี 2026 ก็จะมีเจ้าภาพร่วมกัน 3 ชาติทั้งสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และแคนาดา

มีเจ้าภาพ 3 ชาติว่ายากแล้ว แต่ยังไม่ดูยากเท่ากับฟุตบอลโลก 2030 ที่ ฟีฟ่า ยืนยันแล้วว่า สเปน โปรตุเกส และโมร็อกโก จะเป็นเป็นเจ้าภาพร่วม แต่ 3 นัดแรก จะมีขึ้นที่อุรุกวัย อาร์เจนติน่า และปารากวัย เพื่อฉลองครบ 100 ปี ของศึกเวิลด์คัพ

6 ชาติ 5 ไทม์โซน 3 ทวีป จะจัดได้จริงไหม? และจะมีผลกระทบอย่างไร? มาหาคำตอบเรื่องนี้กัน

@ 1 ประเทศ สามารถรองรับการแข่งขันของ 48 ทีม ได้หรือไม่?
อุรุกวัย ปารากวัย และอาร์เจนตินา จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันประเทศละเกม ในช่วงเริ่มต้นของทัวร์นาเมนต์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี โดยเกมเปิดสนามจะลงเตะที่อุรุกวัย ส่วนเกมที่ 2 และ 3 จะย้ายไปที่อาร์เจนตินา และปารากวัย ตามลำดับ ส่วนที่เหลือจะไปแช่งขันกันที่แอฟริกาเหนือ และยุโรป ซึ่งก็จะคล้ายกับฟุตบอลโลก 2026 นั่นคือจะแบ่งกันเตะใน 3 ประเทศ

นอกจากนี้ ฟุตบอลโลก 2026 จะมีการเพิ่มจำนวนทีมจาก 32 เป็น 48 ทีม ครั้งแรก โดยจะจัดการแข่งขันขึ้นใน 16 เมือง จากสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และแคนาดา

ส่งผลให้จำนวนเกมการแข่งขันจะเพิ่มขึ้นจาก 80 มาเป็น 104 เกม แต่แม้จำนวนทีมจะเพิ่มขึ้นแต่ทาง FIFA ยังคงยืนยันว่าแต่ละกลุ่มในรอบแบ่งกลุ่มจะยังมีแค่ 4 ทีม นั่นทำให้จะมีรอบ 32 ทีมสุดท้ายเพิ่มเข้ามา ซึ่งตัวเลขจำนวนเกมการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจส่งผลให้ในอนาคตจะมีการเสนอตัวในรูปแบบเจ้าภาพร่วมมากขึ้น

@@@ ฟุตบอลโลก 2 ฤดู ?
การลงสนามใน 2 ทวีป ที่มีฤดูกาลที่แตกต่างกัน อาจส่งผลเสียต่อทีมที่ต้องลงทำการแข่ง 3 เกมแรก เพราะจะต้องลงเตะที่อเมริกาใต้ก่อน จากนั้นต้องกลับมาทำการแข่งขันต่อที่ยุโรป และแอฟริกาเหนือ ซึ่งจะหมายถึงการเปลี่ยนฤดูจากหนาวเป็นฤดูร้อน ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน

ในช่วงเดือนมิถุนายนนั้น อุณหภูมิเฉลี่ยในอุรุกวัย อยู่ที่ 8-15 องศาเซลเซียส ที่อาร์เจนตินาก็เช่นเดียวกัน ขณะที่ ปารากวัย ซึ่งทางตอนเหนืออาจอุ่นกว่าเล็กน้อย เฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 23 องศาเซลเซียส

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อุณหภูมิที่โมร็อคโก อาจสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส ขณะเดียวกันที่สเปน โปรตุเกส และโมร็อกโก จะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยต่อวันประมาณ 35 องศา ในช่วงเดือนกรกฎาคม

@@@ การเดินทาง กำหนดการ และสิ่งแวดล้อม ?
แม้จะยังไม่มีรายละเอียดที่แนย่นอนในตอนนี้ แต่ที่แน่ ๆ คือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องเดินทางกันอุตลุด ไม่ว่าจะทั้งทีมงาน นักเตะ รวมถึงแฟน ๆ ที่ต้องตามไปเชียร์ทีม

แผนสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น จะไม่สามารถวางแผนได้จนกว่าจะเห็นรายละเอียดทั้งหมดเสียก่อน และเมื่อทุกอย่างชัดเจน การต้องเดินทางข้ามประเทศและข้ามทวีป ก็อาจทำให้ค่าใช้จ่ายมันพุ่งสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน

นอกจากนี้ ผู้ที่รับชมจากทางบ้านอาจมีปัญหาได้ ด้วยเวลาระหว่างปารากวัย กับสเปน มีความต่างกันของเวลาอยู่ที่ 5 ชั่วโมง นั่นก็หมายถึงทีมที่ต้องลงสนามเกมแรกที่อเมริกาใต้ จะต้องใช้เวลาเดินทางโดยใช้เวลาเฉลี่ย 13 ชั่วโมงต่อเที่ยวบิน

และด้วยเหตุนี้ มันอาจก่อให้เกิดคำถามถึงความมุ่งมั่นของ FIFA เรื่องการรักษ์โลกอย่างยั่งยืนด้วย

@@@ การเดินทางคือฝันร้ายของแฟนบอล?
ฟุตบอลโลกมีความหมายกับเจ้าภาพ การจัดเตรียมการแข่งขัน และโอกาสสำหรับทีมและแฟน ๆ ที่จะได้มีส่วนร่วมในทัวร์นาเม้นต์ที่ยิ่งใหญ่นี้ และจากการที่เจ้าภาพทั้ง 6 ประเทศ จะได้รับสิทธิ์เข้ารอบสุดท้ายอัตโนมัติ ทำให้และมีแนวโน้มว่าหลายประเทศจะมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันในทัวร์นาเมนต์เดียวกัน
.
หากข้อเสนอดังกล่าวได้รับการอนุมัติในการประชุมใหญ่ของ ฟีฟ่า ในปีหน้า โมร็อกโก จะกลายเป็นประเทศที่ 2 จากแอฟริกา ที่ได้เป็นเจ้าภาพ หลังจากแอฟริกาใต้ เมื่อปี 2010 รวมถึงโปรตุเกส จะได้เป็นเจ้าภาพเป็นครั้งแรก และสเปน จะได้กลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง นับตั้งแต่ปี 1982

แต่นั่นมันจะทำให้ความสนุกสนานกับการเดินทางตามไปเชียร์ทีม ต้องหดหายไปด้วยปัญหาเรื่องสเกลและค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือไม่?

เรื่องนี้แฟนบอลว่าอย่างไร ?

การ์ฟอร์ด เบค แฟนบอลชาวอังกฤษที่ตามไปเชียร์ “สิงโตคำราม” ในทัวร์นาเมนต์ระดับเมเจอร์มาแล้วหลายครั้ง กล่าวว่า “สำหรับแฟนบอล มันจะเป็นฝันร้ายด้านการเดินทาง ผมเคยเจอความลำบากมาแล้วในฟุตบอลโลกที่รัสเซีย ในการเดินทางจากกรุงมอสโกไปยังเมืองซามารา เพื่อเชียร์อังกฤษในรอบก่อนรองชนะเลิศ เพราต้องใช้เวลาเดินทางบนรถไฟ 18 ชั่วโมงในขาไป และขากลับอีก 18 ชั่วโมง”

“ผมคิดว่าสิ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจคือ แฟนบอลไม่ได้อยากตามไปเชียร์ทีมในทัวร์นาเมนต์ที่มีเจ้าภาพ 2 ประเทศ ยิ่งเจ้าภาพร่วม 3 ประเทศหรือ 6 ประเทศ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย”