Excited and happy big family team watch sport match together on the couch at home

อีก 6 วัน มหกรรมกีฬายอดนิยมของหมู่มวลมนุษยชาติ อย่าง ฟุตบอลโลก 2022 จะเปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางกระแสเรียกร้องหา “อัศวินม้าขาว” มาช่วยเติมเต็มความสุขให้กับบรรดาคอบอลคนไทย

ถามว่า? ทำไม ถึงต้องมีการถ่ายทอดมหกรรมความสุขครั้งนี้ อย่างแรก ก็เพื่อสนองตอบความสุขให้กับคอบอลนั่นแหละ ต่อมา ก็เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับสารพัดสินค้า ต่อมา เมื่อมีเงินเข้ามาในระบบและนอกระบบรวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท นั่นก็หมายความว่า… จะยิ่งช่วยสนับสนุนช่วยขับเคลื่อนช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตมากขึ้น

FIFA World Cup Qatar 2022 Preview

ม.หอการค้าไทย ได้สรุปผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงมหกรรมฟุตบอลโลก 2022 จะมีเงินสะพัดรวม ๆ กันแล้วประมาณ 75,815 ล้านบาท แยกเป็นเงินในระบบเศรษฐกิจ 18,561 ล้านบาท และเงินนอกระบบเศรษฐกิจหรือที่มาจากการพนันบอลประมาณ 57,253 ล้านบาท

เงินสะพัดจำนวนมหาศาลเช่นนี้!! ก็หนีไม่พ้นที่จะช่วยผลักดันช่วยเสริมสร้างบรรยากาศเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่น ให้พุ่งทะยานเติบโตได้มากขึ้น

หากคิดเฉพาะเม็ดเงินในส่วนที่สะพัดในระบบกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ไม่พูดถึงเรื่องการพนันขันต่อ ก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ให้เติบโตได้มากถึง 4-4.5% ทีเดียว

The close up of the five rows coins

งานนี้…ไม่ต้องพูดถึงการหาเสียง ที่มักเป็นเรื่องปกติที่บรรดา คนการเมือง ย่อมนำเรื่องการเติมเต็มความสุขให้กับคนไทย มาแลกเปลี่ยนกับคะแนนนิยม

เอาเพียงแค่เรื่องของเศรษฐกิจ…ที่เวลานี้!! ยังมีอีกหลายคนโดยเฉพาะบรรดารากหญ้า รากแก้ว ทั้งหลายที่กำลังเดือดร้อนกันถ้วนหน้า จากการที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย

แม้หลายฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายรัฐบาล ที่ดาหน้าออกมาบอกว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาได้บ้างแล้ว และจากนี้ไปก็จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ

แต่อย่าลืมว่า!! การฟื้นตัว การที่ผงกหัวขึ้นมาได้นั้น ก็เป็นการฟื้นตัวขึ้นมาเพียงบางกลุ่ม บางก้อนเท่านั้น ไม่ได้ฟื้นตัวกันแบบ ถ้วนหน้าซึ่งเท่ากับว่า…ยิ่งตอกย้ำ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยให้มากขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่มีใครปฎิเสธว่า เรื่องของฟุตบอลโลก ไม่มีประโยชน์กับประเทศ ไม่มีประโยชน์กับคนไทย แม้คอบอลคนไทยจะไม่ใช่ประชากรทั้งกว่า 70 ล้านคน ก็ตาม

โดยผลสำรวจของบริษัทวิจัยต่างชาติ นีลเส็น เผยแพร่เมื่อกลางปีที่แล้ว เกี่ยวกับความนิยมกีฬาของคนไทย ระบุว่า คนไทยนิยมดูกีฬามากถึง 43 ล้านคน หรือคิดเป็น 84% ของคนทั้งประเทศ

ผลสำรวจยังบอกอีกว่า คนไทยส่วนใหญ่ ต่างหาช่องทางในการรับชมผ่านฟรีทีวีมากถึง 74% ตามมาด้วยโซเชียลมีเดีย 69% บริการสตรีมมิ่ง 46% และเปย์ทีวีหรือทีวีระบบบอกรับสมาชิก 37% เป็นต้น

Soccer players in action on professional stadium

ที่สำคัญ!! มหกรรมฟุตบอลโลก ได้กลายเป็น กีฬายอดนิยมในดวงใจมากถึง 61% รองลงมาคือ เอเชี่ยนเกมส์ 55% ซีเกมส์ 54% และเอเชียน วอลเลย์บอล คัพ 53%

มีสารพัดเหตุผล!! ที่ต้องมีการถ่ายทอดฟุตบอลโลก!! คำถามที่ตามมา? แล้วทำไม? ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่เตรียมการ เตรียมตัวให้พร้อมกับการถ่ายทอดสด

อย่าลืมว่า มหกรรมกีฬายอดนิยมของมวลมนุษยชาตินี้ ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปีจนตั้งตัวเตรียมตัวไม่ทัน แต่เกิดขึ้นทุก 4 ปี!!

แล้วเหตุใด?… การตั้งปัญหาจึงเพิ่งเกิดขึ้นในห้วงเวลาไม่ถึง 1 เดือนก่อนหน้าฤดูกาลแข่งขัน

ไม่ว่าจะเป็นกฎ “มัสต์แฮฟ” และ “มัสต์แคร์” ตัวเจ้าปัญหาที่เป็น “ก้างใหญ่” ของบรรดาภาคเอกชน แม้เป็นเจตนาที่ดีของ กสทช.ที่ตั้งขึ้น เพราะต้องการให้คนไทยได้ชมฟรีทั้งประเทศในมหกรรมกีฬาขนาดใหญ่

ในเมื่อ!! เห็นว่าเป็นปัญหา เป็นอุปสรรค แล้วทำไม ไม่แก้ไข เรื่องนี้ มีตัวอย่างให้เห็นมาแล้ว ในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 เมื่อกลางปีที่แล้ว

รู้จัก 'โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ' 'พี่สาม'...ผู้ Low Profile แต่ High Profit  เลือดแท้ 'ตระกูลจึง' นอกรั้วธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์

จนสุดท้าย…“โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ” ประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิท ฟุตแวร์ จำกัด เจ้าของแบรนด์รองเท้าชื่อดังอย่าง “แอโร่ซอฟท์” ต้องสวมวิญญาณ “ใจป๋า” ควักเงิน ประมาณ 310 ล้านบาท ทุ่มซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2020 เพียงผู้เดียว และมอบให้ NBT ถ่ายทอดสดให้ชม ทำให้คนไทยได้ชมการแข่งขันแบบครบทุกคู่ ทั้ง 51 แมตช์

หรือจะเป็นกรณีที่ฟรีทีวี 2 ช่องใหญ่ ที่ได้รับคำตอบจากตัวแทนฟีฟ่า ถึงค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสด เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ที่เสนอแพ็กเกจการถ่ายทอดบอลโลก ครั้งนี้ โดยเป็นแพคเกจสูงสุดที่ถ่ายทอดสดครบ 64 แมตช์ เป็นวงเงินเพียง 882 ล้านบาท

หรือการติดต่อทาบทามบรรดา “เจ้าสัว” ที่ได้รับผลประโยชน์มหาศาล ให้เข้ามาร่วมลงขันซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด หรือความพยายามในการต่อรองเพื่อให้การจ่ายค่าลิขสิทธิ์อยู่ในวงเงินที่สมน้ำสมเนื้อ

ปัญหาเหล่านี้ เหตุใด? ผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงไม่ทำหน้าที่เสียแต่เนิ่น ๆ หรือเพียงแค่ว่า “ไม่สมประโยชน์” จึงต้องอาศัยแรง “สังคม” มาต่อรอง!!

……………………………………….
คอลัมน์ : เศรษฐกิจจานร้อน
โดย “ช่อชมพู”