หลังจากถูกนายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย พรรคเพื่อไทย อภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อ 20 ก.ค. 65 กรณีจะมีการแก้ไขสัญญาโครงการเอกชนร่วมลงทุนปรับปรุงขยายการประปาปทุมธานี ระหว่างเอกชนรายหนึ่ง กับการประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.) ภายใต้การกํากับดูแลของนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย

ทําให้เจ้ากระทรวงอย่าง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ต้องรีบโยน “ผ้าขาว” ในสภาว่าไม่มีนโยบายให้กปภ. แก้ไขสัญญาโครงการเอกชนร่วมลงทุนปรับปรุงขยายการประปาปทุมธานี-รังสิต เพื่อต่ออายุสัญญาซื้อน้ําาประปาจากคู่สัญญารายเดิม จากสัญญาปัจจุบันจะสิ้นสุดใน 14 ต.ค. 66 ออกไปอีก 20 ปี

ต่อมา 8 ก.ย.65 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้จัดทําาข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีการแก้ไขสัญญาให้สิทธิดํา เนินการผลิตและจํา หน่ายน้ำประปา กปภ. ตามโครงการเอกชนร่วมลงทุนปทุมธานี-รังสิตให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณา

เพราะเห็นว่าการต่ออายุสัญญาสัมปทาน จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน อีกทั้งทําให้รัฐเสียประโยชน์ ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแก้ไขสัญญา พบว่าการพิจารณาประเด็นสําคัญการแก้ไขสัญญามีความเสี่ยงที่อาจนําาไปสู่การเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายเดิม และอาจส่งผลกระทบต่อการดําาเนินโครงการของ กปภ.

ป.ป.ช. ตั้งข้อสังเกตว่า 1.การผลิตน้ำประปาเป็นการให้บริการสาธารณะของรัฐแก่ประชาชน ที่ไม่ได้มีเป้าประสงค์หลักในการแสวงผลกําไร แตกต่างจากการดําาเนินกิจการของเอกชน ดังนั้นเพื่อให้รัฐบริหารจัดการในการผลิตน้ําาประปาได้อย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด กปภ.ควรเป็นผู้ดําาเนินการผลิตน้ำประปาเอง ซึ่งเป็นแนวทางตามที่รมว.มหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อ 19 ก.ย. 62 และเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

2.กปภ. ควรดําเนินการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการลดน้ําาสูญเสีย ที่มีปริมาณสูงถึงร้อยละ 40.17 (ข้อมูลปี 63) ตามข้อสังเกตของสําานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ที่มีต่อกปภ.ตามรายงานการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดําาเนินงานการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการให้สิทธิดําาเนินการผลิตและจําาหน่ายน้ำประปาของ กปภ. กรณีโครงการเอกชนร่วมลงทุนปทุมธานี-รังสิต เมื่อ 9 ก.พ. 65 โดยเร่งด่วนเพื่อให้มีปริมาณน้ําาประปาพร้อมจ่ายให้แก่ประชาชนได้มากขึ้นพร้อมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาการขาดทุนของโครงการได้

3.การแก้ไขสัญญาให้สิทธิดําเนินการผลิตและจําาหน่ายน้ําาประปา โดยการขยายอายุสัญญาออกไป 20 ปี เสมือนเป็นโครงการร่วมลงทุนใหม่ โดยไม่ผ่านกลไกการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม อาจเป็นความเสี่ยงในการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายเดียว ก่อให้เกิดการผูกขาดโดยเจตนาและหลีกเลี่ยงมิให้เปิดประมูลราคา ดังนั้นหากจะดําเนินการคัดเลือกเอกชนรายใหม่จึงควรดําเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

กปภ. ปลื้ม “คลินิกประปา ประชามีสุข” ประชาชนตอบรับเกินเป้า |  หนังสือพิมพ์รายวัน"ข่าวประเทศไทย" ้ https;//www.thailandworldnews.com

หลังสุด 25 ต.ค. 65 ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกปภ. ทําหนังสือถึง กปภ. และผู้ว่าการ กปภ. เพื่อคัดค้านหนังสือของบริษัทเอกชนที่ส่งมาทวงถามเรื่องการต่ออายุการประกอบการตามสัญญาให้สิทธิดําาเนินการผลิตและจําาหน่ายน้ำประปาโดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กปภ. ขอคัดค้านหนังสือดังกล่าว และ กปภ. โดยผู้ว่าการ กปภ. ต้องไม่เข้าสู่กระบวนการเจรจาใด ๆ เพื่อไม่ให้ขัดต่อ 1.มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

2.ความเห็นของ พล.อ.อนุพงษ์ที่พูดไว้ในสภา 3.ข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. ต่อคณะรัฐมนตรี และ 4.รายงานผลการตรวจสอบของ สตง.

เมื่อมีการท้วงติงกันมาแบบนี้ นายทรงศักดิ์และ พล.อ.อนุพงษ์ต้องทําให้ถูกต้องโปร่งใส จะปล่อยให้เอกชนมาเร่งรัดเพื่อรวบหัวรวบหางโครงการดังกล่าวไม่ได้!!

———————
พยัคฆ์น้อย