ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.รวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ นายสิทธิศักดิ์ แย้มพรายภิรมย์ นายอำเภอด่านช้าง นายสุชาติ ศิลปหัสดี นายก อบต.ห้วยขมิ้น และกลุ่มเกษตรกว่า 100 คน ร่วมรับฟังประชุมติตตามและประชาสัมพันธ์การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและการตลาดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าห้วยขมิ้น ป่าพุน้ำร้อน ป่าหนองหญ้าไซ” ที่ศาลาประชุมวัดกกตาด ต.ห้วยขมิ้น อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

ดร.รวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ กล่าวว่า ในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี-กรมป่าไม้ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยการนำนโยบายรัฐบาลในเรื่องของการจัดที่ดินทากินให้ชุมชนมาดาเนินการอย่างต่อเนื่อง (ราษฎรอยู่อาศัยมาก่อนการสำรวจตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้า 3, 4 และ 5) การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในลักษณะแปลงรวม ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งในพื้นที่บ้านกกตาดได้รับอนุญาตแล้วจำนวน 2 ครั้ง เนื้อที่รวมประมาณ 267 ไร่ รายละเอียดดังนี้ ครั้งที่ 1 ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยขมิ้น ป่าพุน้ำร้อน และป่าหนองหญ้าไทร กรมป่าไม้ได้มีการออก หนังสืออนุญาตอนุญาตเล่มที่ 125 ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 เนื้อที่รวม 362-0-87 ไร่ (บ้านกกตาด เนื้อที่ประมาณ 208 ไร่) และครั้งที่ 2 ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยขมิ้น ป่าพุน้าร้อน และป่าหนองหญ้าไทร กรมป่าไม้ได้มีการออกหนังสือ อนุญาตเล่มที่ 16 ฉบับที่ 01 ลงวันที่ 30 กันยายน 2563 เนื้อที่รวม 352-3-85 ไร่ (บ้านกกตาด เนื้อที่ประมาณ 59 ไร่)

สำหรับพื้นที่บ้านกกตาดที่เหลือ อยู่ในระหว่างดำเนินการอนุญาตจากกรมป่าไม้ เนื้อที่รวมประมาณ 735 ไร่ ที่รวมอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยขมิ้น ป่าพุน้าร้อน และป่าหนองหญ้าไทร เนื้อที่รวม 15,417-3-77 ไร่ และในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกา และป่าเขาห้วยพลู เนื้อที่รวม 20,151-0-17 ไร่ ซึ่ง คทช. จังหวัดสุพรรณบุรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการ และยื่นเรื่องขออนุญาตใช้ประโยชน์กับกรมป่าไม้แล้ว

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ไปพื้นที่บ้านกกตาดและหมู่บ้านใกล้เคียงในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยขมิ้น ป่าพุน้าร้อน และป่าหนองหญ้าไทร ได้ดำเนินการจัดคนลงในพื้นที่แล้ว จำนวน 137 ราย 155 แปลง และได้จัดทำสมุดประจาตัวผู้ได้รับการคัดเลือก จำนวน 155 เล่ม และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐในการดูแลรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพในพื้นที่ คทช. ส่งผลให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


อย่างไรก็ตาม พื้นที่แห่งนี้ นับว่าเป็นพื้นที่ที่มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการโดยชุมชนได้ดี และทําให้การบริหารจัดการที่ดินของชุมชนเกิดความยั่งยืน​ สํานักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติจะดําเนินการเพื่อยกระดับการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชน​ โดยปรับเปลี่ยนให้ผู้ขอใช้ประโยชน์การอยู่อาศัยและทำกินในป่าสงวนแห่งชาติจากผู้ว่าราชการจังหวัด​เป็นสหกรณ์​ วิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ที่ดําเนินการจัดที่ดินทํากินให้ชุมชนตามนโยบาย คทช.​ ภายใต้เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติของกรมป่าไม้ มาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และเป็นไปตามแนว​ทางการประเมินความเข้มแข็ง​ในการบริหาร​จัดการ​ของสหกรณ์​โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์​ และเสนอผ่าน คทช.จังหวัด เพื่อให้ความเห็นชอบการขอเปลี่ยนผู้ขอใช้ประโยชน์ และเสนอไปยังกรมป่าไม้เพื่อดําเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง​ต่อไป


ด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้ ดำเนินงานภายใต้นโยบายของรัฐบาล และนโยบายขอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยนโยบายขจัดปัญหาความยากจน และแก้ไขปัญหาการมีที่อยู่อาศัย และที่ทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้ประชาชนอยู่ในพื้นที่ได้อย่างถูกกฎหมาย เป็นไปตามนโยบายของ คทช. นอกจากนี้ กรมป่าไม้ยังมีแนวทาง ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ ได้มีรายได้จากการปลูกไม้เศรษฐกิจ และส่งเสริมให้คนอยู่กับป่า ในลักษณะของโครงการป่าชุมชน

นายวิทยา อุดมพงษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 ต.ห้วยขมิ้น กล่าวว่า ในนามของตัวแทนชาวบ้านขอขอบพระคุณหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ช่วยเหลือในการจัดสรรพื้นที่จากพื้นที่ป่าไม้ เป็นพื้นที่ คทช. ชาวบ้านมีความดีใจอย่างยิ่ง ส่วนสิ่งที่อยากฝากให้ช่วยเหลืออีกเรื่องคือในหมู่บ้านห้วยขมิ้น เป็นพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร อยากให้ช่วยการจัดตั้งสหกรณ์ในการประสานงานเพื่อช่วยเหลือเรื่องราคาพืชผลการเกษตร

โดยในวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ อิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะมาติดตามผลการดำเนินงาน และมอบนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเรื่องการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินทั้งประเทศอย่างบูรณาการ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหาของทั้งประเทศ และขับเคลื่อนดำเนินงานเพื่อพี่น้องประชาชนในมิติต่างๆ อาทิ การจัดสรรที่ดินทำกิน การแก้ไขแนวเขตที่ดินทับซ้อนกัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน.