ตลอดการดำเนินงานในประเทศไทยมากว่า 60 ปี ของ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด จากความสำเร็จของธุรกิจในตลาด โพลียูรีเทน โพลีคาร์บอเนต และผลิตภัณฑ์สารเคลือบ สารยึดเกาะ โดยมีฐานผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ ผสมผสานกับความยืดหยุ่นและมีจุดมุ่งหมาย ขับเคลื่อนนวัตกรรมและความยั่งยืน มีการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการที่มีวิสัยทัศน์ เข้ามาดูแล มีบทบาทในการนำกลยุทธ์ พัฒนาผสมผสานความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่าง ๆ เข้ากับความต้องการของลูกค้าสอดคล้องกับกลยุทธ์ “การขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน” อีกทั้งมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาความยั่งยืนให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยที่ยังสามารถทำกำไรให้แก่ธุรกิจ พร้อมทั้งเพิ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์เฉพาะด้านออกเป็น 7 หน่วยธุรกิจใหม่ให้ตรงใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
ดร.ทีโม สลาวินสกี้ (Dr.Timo Slawinski) กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงนโยบายและกลยุทธ์ว่า “การดำเนินงานตามกลยุทธ์คือ “เป็นตัวเราในแบบที่ดีที่สุด” ขณะนี้ทางกลุ่มบริษัทได้มุ่งเน้นธุรกิจของตนไปที่ความต้องการของแต่ละตลาดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้นกว่าเดิม จัดระเบียบธุรกิจโดยคำนึงจากปัจจัยความสำเร็จของแต่ละส่วนและรวมกิจกรรมการดำเนินงานทั้งหมดไว้ในห่วงโซ่คุณค่าที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในหน่วยงาน ตอนนี้ทางกลุ่มบริษัทโคเวสโตรได้แยกออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ ได้แก่
“กลุ่มโซลูชันและผลิตภัณฑ์เฉพาะด้าน” และ “กลุ่มวัสดุประสิทธิภาพสูง” โครงสร้างกลุ่มบริษัทใหม่ของโคเวสโตรในขณะนี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับการลงทุนและการเข้าซื้อกิจการ ให้สอดรับกับทั้งแง่ของการทำกำไรและความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง มีการตัดสินใจและคำนึงถึง “3P” (PPP) อันได้แก่ “People, Planet, Profit” ซึ่งจำเป็นต้องเป็นไปในเชิงบวกและในขณะเดียวกันก็จะไม่ทำร้ายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง”
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเติบโตของประชากร วิถีชีวิตที่ไม่ยั่งยืน โคเวสโตรได้กำหนดเป้าหมายใหญ่ด้านความยั่งยืนสำหรับ ปี พ.ศ. 2568 ว่าต้องการลดการปล่อยมลพิษส่งต่อมาตรฐานความยั่งยืนขององค์กรไปยังซัพพลายเออร์ มีการปรับการวิจัยขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสหประชาชาติ โดยมุ่งเน้นวิสัยทัศน์ขององค์กรทั้งหมดในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน และเป้าหมายระยะยาวของโคเวสโตรมุ่งสู่ “การหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์” มุ่งเน้นวิสัยทัศน์ขององค์กรทั้งหมด โดยมุ่งหวังที่จะตอบสนองความสนใจของลูกค้าและผู้บริโภค
โคเวสโตรมุ่งหวังที่จะนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความท้าทายในภาคการเมือง วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสวัสดิการของพนักงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ชัดเจน มองหาวิธีใหม่ ๆ ในการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของโลกไปใช้ให้เกิดประโยชน์และนำกลับมาใช้ใหม่
ศูนย์การผลิตของโคเวสโตรที่มาบตาพุดในประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน และเป็นที่ตั้งยุทธศาสตร์สำหรับการผลิตและการลงทุนของโคเวสโตรในภายภาคหน้า เนื่องด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ความสามารถด้านเทคนิค การสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของรัฐบาล และเครือข่ายโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ ในปัจจุบันมีโรงงานผลิตโพลีคาร์บอเนตที่ทันสมัยระดับโลกอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และห้องปฏิบัติการทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โพลียูรีเทนในนิคมอุตสาหกรรมบางปูสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นและความร้อน ตลอดจนการใช้งานในลักษณะพิเศษของผู้ผลิตอุปกรณ์ยานยนต์ อุปกรณ์รองเท้า และอุปกรณ์กีฬา ในระยะยาวของโคเวสโตร (ประเทศไทย) ยังคงมีการเติบโตและการลงทุน ด้วยข้อได้เปรียบในด้านนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม และพนักงานที่มีศักยภาพและความสามารถ ในปี 2565 โคเวสโตรจะมีโรงงานแห่งใหม่ที่ศูนย์การผลิตโคเวสโตร มาบตาพุด เริ่มดำเนินการเดินเครื่องทางกลเพื่อขยายสายธุรกิจขององค์กร
ในด้านอุตสาหกรรมโพลิเมอร์ ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลกในปัจจุบันและอนาคต เพราะมีบทบาทสำคัญมาหลายทศวรรษ ในการปฏิวัตินวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของผู้คนในโลก อีกทั้งยังคงมีการพัฒนาและใช้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ด้วยคุณสมบัติหลักที่มีน้ำหนักเบา ทนทาน แข็งแกร่ง และยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถนำไปใช้และทดแทนวัสดุสิ้นเปลืองที่มาจากธรรมชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุประเภทโพลีคาร์บอเนต และโพลียูรีเทนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์หลักของโคเวสโตร ผู้บริโภคจะสามารถพบโซลูชันด้านวัสดุและการใช้งานของโคเวสโตรในเกือบทุกมิติของชีวิตสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง การก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องไฟฟ้าใช้ในบ้าน ล้วนแต่เป็นอุตสาหกรรมหลักที่โคเวสโตรให้บริการ
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของกีฬา การพักผ่อน เครื่องสำอาง สุขภาพ และอุตสาหกรรมเคมี ดังนั้นจึงถือได้ว่า อุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่จะมีการพัฒนาและเติบโตไปอย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งหมดนี้โคเวสโตรจะดำเนินภายใต้กรอบนโยบายให้กระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นไปในแนวทางการหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบในระยะยาว และเพิ่มพูนผลกำไรให้กับบริษัทมาอย่างต่อเนื่อง
ดร.ทีโม สลาวินสกี้ กล่าวเพิ่มเติมว่า “หากถามถึงการเติบโตของยอดขายแล้ว ในไตรมาสที่สองของปี 2564 โคเวสโตรได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของความต้องการในการซื้อสินค้าทั่วโลก เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ที่ตกต่ำ อันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส ธุรกิจเรซินและวัสดุสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง (RFM) ที่เข้าซื้อจากดีเอสเอ็ม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 ก็มีการผนึกกำลังเป็นครั้งแรกเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบริษัทจึงมียอดขายหลักเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยประมาณ 10% มาจากการควบรวมธุรกิจ RFM ในช่วงแรก ราคาจำหน่ายที่สูงขึ้นอย่างมากส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้น 83.5% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งคิดเป็นเงินสูงกว่า 3.9 พันล้านยูโร จากการเติบโตของยอดขายและมาร์จิ้นโดยรวมที่เพิ่มขึ้น EBITDA จึงเพิ่มขึ้นเป็น 817 ล้านยูโร (จาก 125 ล้านยูโรในปีก่อนหน้า) ผลลัพธ์นี้ยังรวมถึงผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นครั้งที่จำนวน 35 ล้านยูโรจากการควบรวม RFM รายได้สุทธิในไตรมาสที่สองของปี 2564 อยู่ที่ 449 ล้านยูโร (–52 ล้านยูโรในปีก่อนหน้า) และกระแสเงินสดจากการดำเนินการหลังหักการลงทุน (FOCF) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 374 ล้านยูโร (24 ล้านยูโรในปีก่อนหน้า) ในภาพรวมของโคเวสโตรทั่วโลก”
“ถ้ามองแผนการตลาดและเป้าหมายทางธุรกิจในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโลก โคเวสโตรสามารถตอบสนองต่อวิกฤตที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและดำเนินการตามมาตรการที่มีความเด็ดขาด เรามีแผนการรับมือ และติดตามสถานการณ์การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้โคเวสโตรสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ และมีการดำเนินนโยบายในการรักษาต้นทุนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ส่วนของการตลาด ธุรกิจนี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาด แม้จะมีสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย โคเวสโตร ประเทศไทยยังสามารถผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและส่งมอบสินค้าที่มี ประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง ในปี 2565 เราจะมีโรงงานสำหรับผลิตภัณฑ์อีลาสโตเมอร์แห่งใหม่ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในศูนย์การผลิตโคเวสโตร ที่มาบตาพุด เริ่มดำเนินการเพื่อขยายสายธุรกิจของเรา ตามแนวคิดกลยุทธ์การขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน” ดร.ทีโม สลาวินสกี้ กล่าวทิ้งท้าย