บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดงาน GC Sustainable Living Symposium 2024: GEN S GATHERING ภายใต้แนวคิด “ยั่งยืนไม่ยาก” พร้อมกันนี้ได้มีเวทีเสวนาในหัวข้อ “นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย  เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” 

นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม(DCCE )  กล่าวในเวทีเสวนาฯว่า ทั่วโลกมองว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำลายสิ่งแวดล้อมมาตลอด ก่อให้เกิดการลดลงความหลากลายทางชีวภาพ ทำให้ทั่วโลกมาคุยกันเพื่อลดอุณหภูมิของโลก ส่งผลให้ตัวอนุสัญญาต่างประเทศต่างๆทยอยออกมาเป็นลำดับ และ195 ประเทศทั่วโลกได้ร่วมลงนามรับรองกันเมื่อครั้งการประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 หรือ COP 21  อย่างไรก็ตามข้อตกลงการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้วฝ่ายเดียวคงจะไม่พอ เพราะมีประเทศกำลังพัฒนาปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) หรือคณะวิทยาศาสตร์ของโลกระบุว่า ถ้าเราไม่สามารถกดอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 1.5 องศาจนถึง 2.5 องศา จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษนี้ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม  จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงจนไม่สามารถกลับมาสู่จุดเดิมได้ ซึ่งประเทศไทยได้นำข้อตกลงปารีส2016 ความตกลงปารีส เป็นความตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่เกี่ยวกับการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้รับมติเห็นชอบจากการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 21 (COP 21)  มากำหนดนโยบายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อนำประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ 

หลังจากประเทศไทยได้ไปลงนามในที่ประชุมคอป 26 เพื่อจะเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือเน็ตซีโร่ในปี 2065  ซึ่งในปี 2030ที่จะถึงประเทศไทยตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 30 %  ภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงคือภาคพลังงาน และขนส่ง โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่กำกับควบคุมว่าแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ากระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำแผนไปปรับใช้ได้อย่างไร ขณะที่เป้าเหมายการปรับก๊าซเรือนกระจกในปี2035จะเป็นปีที่ท้าทายยิ่งกว่า เพราะการประชุมคอป28 ที่ดูไบ สืบเนื่องจากข้อตกลงปารีสไม่สามารถลดอุณหภูมิของโลกได้ 1.5 องศา จึงมองว่าเพิ่มความท้าทาย นั่นหมายความว่าปี 2035 จะต้องเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอาจถึง 60 % ก็อาจเป็นได้” 

นายปวิช กล่าวว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กำลังจัดทำเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกฉบับที่2  (Nationally Determined Contribution  :NDC) ได้เชิญทุกภาคส่วนมาคิดว่าจะลดเป้าหมายไปที่ 60 % ได้หรือไม่ โดยใช้เทคโนโลยี หรือความช่วยเหลือจากต่างประเทศมาช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง เพราะเป้าหมายNDC ฉบับที่1 ประเทศไทยใช้ความช่วยเหลือจากต่างประเทศประมาณ 6-10  % รวมถึงการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเพื่อไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน แต่สิ่งเหล่านี้ประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนา จะเปลี่ยนหน่วยงานภายในประเทศด้วยกำลังความสามารถของประเทศเป็นไปได้ยาก เพราะการปรับเปลี่ยนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับที่ต่ำ ค่อนข้างจะใช้เงินงบประมาณที่สูง  ดังนั้นการประชุมคอปที่ 29 ( COP ครั้งที่ 29 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2568 ณ เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ) ที่กำลังจะเกิดขึ้น หัวข้อการหารือจะว่าด้วยเรื่องการใช้เงินลงทุน เพื่อปรับเปลี่ยนระบบการผลิตรวมทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน  นอกจากนี้ประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนาจะต้องหารือเรื่องเชื่อมโยงเทคโนโลยีระหว่างกัน เพราะว่าการลดก๊าซเรือนกระจกโดยCBAM (มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป) จะถูกบังคับใช้แล้วในยุโรป 

รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สำหรับเครื่องมือสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยลดก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงได้ ต้องใช้ “กฏหมาย”เป็นเครื่องมือ ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างร่างพ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สาระสำคัญจะดูความสมดุลของอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงว่า สามารถจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้หรือไม่ อาจต้องมีการรายงานว่าทุกๆปีถึงสิทธิการปล่อยได้ในปริมาณเท่าไร รวมทั้งพิจารณาดูว่าองค์กรนั้นๆได้ทำเต็มที่แล้วในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือไม่ นั้นหมายความรูปแบบการซื้อคาร์บอนเครดิตอาจไม่ตอบโจทย์  ซึ่งภาคการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆในขบวนการผลิตต่างๆ นั้นต้องลดให้ได้ก่อนแล้วจึงจะมีสิทธิที่ซื้่อคาร์บอนเครดิตมาใช้   

นอกจากนี้ร่างพ.ร.บ.เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ยังให้ความสำคัญของการจัดตั้งกองทุน Climate Change จะเป็นกองทุนที่มาสนับสนุนทุกอย่างในประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี หรือนำเงินเหล่านี้ไปช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ ทั้งนี้ความคืบหน้าพรบ.ฉบับนี้ คณะอนุกรรมการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว เหลือคณะกรรมการชาติพิจารณา หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความต่อไป โดยตั้งเป้าว่ากฎหมายจะสามารถบังคับใช้ได้อีก 2 ปีต่อจากนี้