เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 ศ.ดร.สุชาติ​ ​ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ ผู้เชี่ยวชาญเศร​ษฐศาสตร์​มหภาค​ และอดีต​รมว.คลัง​ ให้ความเห็นในการฟื้นเศรษฐกิจประเทศ ว่า 1.การฟื้นเศรษฐ​กิจ​ไทย​ที่เติบโตต่ำมากว่า​ 10 ปี และการฟื้นตลาดหุ้น​ จะต้องฟื้นที่ความเชื่อมั่น​ต่อระบบเศรษฐกิจ​ ความเชื่อมั่นจะกลับมาได้​ ต้องทำให้ประเทศมีอนาคต​ คือมี​ GDP​ growth สูงกว่านี้มาก​ GDP จะเพิ่มสูงขึ้นได้​ ก็ต้องไปเพิ่ม​ Potential GDP​ คือเพิ่มการใช้ Smart เทคโนโลยีของเอกชน​ และ Smart infrastructure​ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มได้เร็ว​ขึ้น​​ ก็ต่อเมื่อเอกชนส่งออกแล้วมีรายได้​มากขึ้น รัฐบาลจึงจะเก็บภาษีได้มากขึ้น​

2.การที่จะทำให้มีรายได้​และภาษีสูงขึ้น​ ก็ต้องปรับค่าเงินบาทให้อ่อนลงให้แข็งขันได้ ปรับดอก​เบี้ยที่แท้จริงให้ลดลง และปล่อยเงินเฟ้อให้สูงขึ้น​ เป็น​ 3-3.5%, การส่งออก, การลงทุนเอกชน ก็จะเพิ่มขึ้น​ ทำให้ GDP​ growth สูงขึ้น

3.​อริยสัจ​แห่งปัญหา​คือ​ ค่าเงินบาทแข็งเกินไปมาก, ดอกเบี้ยแท้จริงสูงไป, ​เงินเฟ้อต่ำไป​ จึงควรแก้ที่เหตุ​แห่งปัญหา หากรัฐบาลไปแก้ที่​ผล เช่น​ การบริโภคน้อยไป​ หนี้ครัวเรือนสูงไป​ โดยการเพิ่มรายจ่ายรัฐบาล​ ก็จะแก้ได้ไม่มากนัก

4.ปริมาณเงินบาทในระบบมีน้อยเกินไป​มาก เพราะ​ดอกเบี้ยที่แท้จริง​ (ดอกเบี้ยลบด้วยเงินเฟ้อ)​ สูงเกินไป​ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปด้วย เช่น​ แข็งกว่าอินเดีย​ 2.58 เท่า,​ เวียดนาม​ 1.6 เท่า, แข็งกว่าเพื่อนบ้านมาก​ และแข็งกว่าเกือบทุกประเทศในโลก​ใน​ 20​ ปีที่ผ่านมา​ ทั้งๆ​ ที่เศรษฐกิจ​เราแย่​ จึงเป็น​การแข็งค่าปลอมๆ​ ด้วยมาตรการผิดๆ​

5.แต่ส่งผลให้​การส่งออกตกต่ำ​ การลงทุนเอกชนน้อย​ลง การผลิตไม่เต็มประสิทธิภาพ​ รัฐบาลได้ภาษีน้อย​ รัฐบาล​และครัวเรือนจึงเป็นหนี้มากมาย​

6.ปัจจุบัน​ เรามี​ GDP​ ประมาณ​ 18 ล้านล้านบาท, ส่งออก​สินค้าและบริการ 12 ล้านล้านบาท​ หากเราแก้ปัญหาด้วยการปรับอัตราแลกเปลี่ยน​ ซึ่งเป็นตัวแปรนโยบาย เช่น​ อ่อนลง​ 10% จาก​ 33​ บาทต่อ​$ เป็น​ 36.3 บาทต่อ$ ก็จะทำให้การส่งออกฯ​ ที่ได้เป็น​เงิน $ มาแล้ว​ เปลี่ยนเป็นเงินบาทได้เพิ่มขึ้น​ 10% คือ​เพิ่มขึ้น​ 1.2​ ล้านล้านบาท​ (ทั้งนี้ยังไม่รวมปริมาณการส่งออกที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต​)​

7.​ผลของมาตรการนี้อย่างเดียว​ มีมาก​กว่ารัฐไปกู้เงินเพิ่มมาสนับสนุนการใช้จ่ายรัฐบาล​ นอกจากนี้​ การส่งออกสินค้าและบริการ​ เป็นตัวแปรตัวเดียวที่เป็นรายได้​ ในสมการ​ Y=C+I+G+X-M ตัวแปร​อื่นๆ​ เป็นรายจ่าย​ ซึ่งหากจ่ายมากขึ้น​ จะต้องเป็นหนี้มากขึ้นด้วย