เมื่อวันที่ 27 ต.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,247 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างสนใจติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 77.47 อยากให้สื่อนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลาง ให้ข้อมูลครบถ้วน ร้อยละ 67.74 โดยมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะส่งผลต่อไทยในด้านการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการค้าระหว่างกัน ร้อยละ 73.70 หลังการเลือกตั้งเศรษฐกิจไทยก็น่าจะยังเหมือนเดิม ร้อยละ 57.02 โดยคิดว่าคามาลา แฮร์ริส (พรรคเดโมแครต) จะชนะการเลือกตั้ง ร้อยละ 43.06

Print

น.ส.พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยคาดหวังให้สื่อไทยรายงานอย่างเป็นกลาง ครบถ้วน และวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทย ในด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เชื่อว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักหลังการเลือกตั้ง เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้คาดว่าคามาลา แฮร์ริสจะชนะ โดยมีคะแนนนำไม่เกิน 5% ซึ่งสอดคล้องกับผลโพลหลายสำนักในสหรัฐฯ จึงต้องจับตาดูว่าผลจริง จะเป็นอย่างไร

รอง ศาสตราจารย์ ดร.รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต อธิบายว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นได้รับความสนใจจากหลายประเทศรวมถึงไทย เนื่องจากผลกระทบของผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ต่อเศรษฐกิจ การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลสำรวจของสวนดุสิตโพลเผยว่า 77.47% ของ คนไทยติดตามการเลือกตั้ง โดยสนใจทิศทางนโยบายเศรษฐกิจที่อาจมีต่ออาเซียน (73.70%) หากคามาลา แฮร์ริส จากพรรค เดโมแครตชนะ นโยบายการค้าเสรีระหว่างประเทศอาจขยายตัว โดยเฉพาะกับจีนและอาเซียน ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้ภาคการผลิตไทยเติบโต แม้ GDP ไทยจะคาดการณ์ไว้ที่ 2.5% ในปี 2567 แต่อุตสาหกรรมการผลิตไทยอาจได้ประโยชน์หากท่าทีของแฮร์ริสสนับสนุนการค้าเสรี ในทางกลับกันหากโดนัลด์ ทรัมป์

สรุปวิเคราะห์ผลโพล : คนไทยกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2024 จากพรรครีพับลิกันชนะ นโยบาย “America First” อาจกีดกันการค้ากับไทยด้วยภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นและเงื่อนไขทางการค้า ซึ่งจะส่งผลลบต่อภาคการผลิตและส่งออก รัฐบาลไทยจึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น การส่งเสริมการผลิตให้ทันสมัยและพัฒนาโครงสร้างการเงินเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมให้แข่งขันได้ ในตลาดโลก