กันไว้ดีกว่าแก้’ ประโยคนี้ใช้ได้จริงเสมอในทุกๆ สถานการณ์ อย่างการเลือกป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เสียหาย ด้วยการติดตั้ง UPS (Uninterruptible Power Supply) หรือเครื่องสำรองไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่องให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง ไฟดับ ไฟกระชากขึ้นมากะทันหัน ก็เป็นสิ่งที่หลายๆ บ้านในยุคปัจจุบันเลือกที่จะมีไว้ให้อุ่นใจ เพราะนอกจากจะช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้ปกติ ไม่ชำรุด เสียหาย ยังช่วยเซฟงบประมาณไม่ให้บานปลายไปกับการซ่อมบำรุงด้วย

และแม้ว่า UPS จะทำหน้าที่เป็นเครื่องสำรองไฟฟ้า แต่ก็อย่าลืมว่า UPS คืออุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทหนึ่งเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากอยากให้รับประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และป้องกันไม่ให้ UPS ชำรุด เสียหาย การให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษา ดูแลส่วนประกอบภายในก็เป็นสิ่งที่ทุกบ้านไม่ควรมองข้าม! ในบทความนี้เราเลยขอพาทุกบ้านที่ติดตั้ง UPS อยู่ มาทำความรู้จักแบตเตอรี่ UPS แหล่งจ่ายพลังงานสำคัญของ UPS มาดูกันว่า แบตเตอรี่ UPS คือ อะไร มีกี่ประเภท และควรเลือกซื้อแบตเตอรี่แบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน 

แบตเตอรี่ UPS คืออะไร

แบตเตอรี่ UPS คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้เครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS ของเรา ให้แจกจ่ายพลังงานไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ ไม่ว่าจะ ไฟดับ ไฟตก ไฟกระชาก และแน่นอนว่าหาก UPS ขาดแบตเตอรี่ไป แบตเตอรี่เกิดการชำรุด รวมไปถึงเลือกประเภทของแบตเตอรี่ไม่เหมาะสม เครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS ก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นเดียวกัน โดยอาจไม่สามารถจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือตัวเครื่องอาจไม่สามารถใช้งานได้เลย ดังนั้น แต่ละบ้าน หรือแต่ละธุรกิจที่ติดตั้ง UPS จึงควรหมั่นตรวจเช็กแบตเตอรี่อยู่เสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง รวมไปถึงเลือกประเภทของแบตเตอรี่ UPS ให้เหมาะสมกับการใช้งานนั่นเอง

แบตเตอรี่ UPS มีกี่แบบ  

หลักๆ แล้ว แบตเตอรี่ UPS มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ โดยแต่ละแบบออกแบบบมาเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน มีข้อกำหนดแตกต่างกัน รวมไปถึงในเรื่องของคุณภาพและราคาด้วย มารู้จักแบตเตอรี่ UPS 3 แบบกันเลย

1) แบตเตอรี่ UPS แบบ Lead-Acid

แบตเตอรี่ UPS แบบ Lead-Acid รือ SLA เป็นแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด และเป็นแบตเตอรี่ UPS แบบดั้งเดิมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เนื่องจากมีความคุ้มค่าสูง ราคาประหยัด แต่มีความทนทานสูง อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ทั้งกับเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS และยานพาหนะ เช่น รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ โดยแบตเตอรี่แบบ UPS สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่

● แบตเตอรี่ Valve-regulated lead-acid (VRLA)

แบตเตอรี่ Valve-regulated lead-acid (VRLA) เป็นแบตเตอรี่แห้ง มีการปิดผนึกแบตเตอรี่ด้วยพลาสติกโพลีโพรพิลีน เพื่อช่วยป้องกันการรั่วไหลของกรดในแบตเตอรี่ อีกทั้งยังมีวาล์วคอยระบายแรงดันแก๊สภายในแบตเตอรี่ มีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ประมาณ 5-10 ปี ข้อดี คือ ดูแลรักษาง่าย สามารถถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ เหมาะสำหรับการใช้งานในอุณหภูมิห้องประมาณ 20-25 °C นอกจากนี้ยังสามารถวางได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สามารถใส่ในช่องแบตเตอรี่ ถาดรองอุปกรณ์ตู้แร็ค หรือใส่ในตู้ก็ได้

● แบตเตอรี่ Vented lead-acid (VLA)

แบตเตอรี่ Vented lead-acid (VLA) เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องการค่าแอมป์ (Ah) สูง เรียกอีกอย่างว่า Flooded Batteries (แบตเตอรี่น้ำท่วม) เพราะมีแผ่นที่ท่วมด้วยกรดอิเล็กโทรไลต์ ข้อดีคือตัวแบตเตอรี่ VLA มีอายุการใช้งานยาวนานมาก นานถึง 20 ปี แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการดูแลรักษาเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดการรั่วไหลของกรดได้ จึงจำเป็นต้องแยกแบตเตอรี่ให้อยู่ในห้องที่ไม่มีอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ และต้องวางแบตเตอรี่ในแนวตั้งเท่านั้น

2) แบตเตอรี่ UPS แบบ Nickel-Cadmium

ถัดมากับแบตเตอรี่ UPS แบบ Nickel-Cadmium หรือเรียกสั้นๆ ติดหูว่า NiCad เป็นแบตเตอรี่ UPS ที่มีจุดเด่น คือ รองรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย รองรับตั้งแต่อุณภูมิหนาวเย็น -20°C จนถึง +40°C ที่ร้อนระอุเลย มีความทนทานต่อการคายประจุลึกมาก แถมยังมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20 ปี จึงเป็นแบตเตอรี่ UPS ที่นิยมใช้ในการติดตั้งโทรคมนาคมเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากผลิตจากสารเคมีอย่าง Nickel และ Cadmium ที่ถือเป็นสารเคมีไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รีไซเคิลได้ยาก จึงทำให้มีความเข้มงวดในการผลิต และต้องใช้งานด้วยความระมัดระวังสูง นอกจากนี้ยังมีราคาที่สูงมากหากเทียบกับแบบ Lead-Acid

3) แบตเตอรี่ UPS แบบ Lithium Ion

สุดท้ายกับแบตเตอรี่ UPS แบบลิเธียมไอออน (Lithium Ion Battery) ที่นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ของแบตเตอรี่ UPS เลย ออกแบบมาให้ตอบโจทย์กับการใช้งานหลากหลายรูปแบบทั้งใช้งานกับเครื่องสำรองไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ฮิตๆ อย่างสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือแล็บท็อป รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าด้วย จุดเด่นของแบตเตอรี่ Lithium Ion คือเป็นแบตเตอรี่ UPS ที่พกพาง่าย มีขนาดเล็กและเบา ใช้เวลาชาร์จไฟน้อย แค่เพียง 30-60 นาทีเท่านั้น มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ทั้งค่าดูแล ค่าซ่อมแซมตัวเครื่อง นอกจากนี้ สารเคมีในแบตเตอรี่ UPS ชนิดนี้ ยังเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยมากกว่าสารเคมีในแบตเตอรี่ Lead-Acid และ Nickel-Cadmium ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากรอบชาร์จไฟน้อย จึงมีรอบจำกัดในการชาร์จไฟ และมีราคาที่ค่อนข้างสูงนั่นเอง 

ควรเลือกซื้อแบตเตอรี่แบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

ได้รู้จักกันไปแล้วว่าแบตเตอรี่ UPS คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่แบบ แล้วเราควรควรเลือกซื้อแบตเตอรี่แบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน เหมาะสมกับ UPS ของเรามากที่สุด? เรามีหลัก 3 ข้อง่ายๆ ในการเลือกซื้อ UPS มาฝากแล้ว

  • ขนาดแรงดันของแบตเตอรี่ UPS เลือกขนาดของแบตเตอรี่ที่ต้องการใช้งาน ว่ามีขนาดแรงดันเท่าไร โดยเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แบตเตอรี่แรงดันขนาด 12V 48V 72V เป็นต้น
  • ขนาดของแบตเตอรี่ เลือกให้แมตช์กับกับ UPS ที่เราจะนำไปใส่ หรือชาร์จไฟโดยวิธีการวัดก็ง่ายๆ คือคำนวณจากความกว้าง x ยาว x สูง
  • ความจุของแบตเตอรี่ หรือค่าแอมป์ (Ah) หลักการเลือกความจุของแบตเตอรี่ คือ ยิ่งมีความจุของแบตมาก ก็จะยิ่งสำรองไฟในการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น แต่ข้อควรระวัง คือ หากเลือกที่มีความจุมาก ขนาดของแบตเตอรี่ก็จะใหญ่มากขึ้นไปด้วย และอาจไม่เหมาะสมกับขนาด UPS ที่เรามีอยู่ ไม่สามารถสวมใส่เข้ากันได้ หรือ UPS ไม่สามารถดึงพลังงานไปใช้ได้นั่นเอง


เป็นอย่างไรกันบ้างกับข้อมูลเกี่ยวกับแบตเตอรี่ UPS อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานให้เครื่องสำรองไฟฟ้า หรือ UPS ของเรา ให้แจกจ่ายพลังงานไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในกรณีที่เกิดความผิดปกติ ฉะนั้นเพื่อให้เราสามารถดึงความสามารถ UPS ให้สำรองไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสียหายของข้อมูล หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกๆ ชิ้นของเรา แต่ละบ้าน แต่ละธุรกิจที่ติดตั้ง UPS ไว้จึงควรให้ความใส่ใจกับการตรวจเช็กแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ เลือกซื้อและใช้แบตเตอรี่ UPS ให้เหมาะสมกับการใช้งานนั่นเอง

สำหรับผู้ที่สนใจแบตเตอรี่ UPS หรือต้องการเลือกซื้อแบตเตอรี่ UPS ควรเลือกแบตที่ดีมีมาตรฐาน ที่ Chuphotic มีแบตเตอรี่ UPS ที่มีมาตรฐานหลายแบบให้เลือก พร้อมมีการรับประกันคุณภาพของสินค้า บริการให้คำปรึกษา และบริการหลังการขายอย่างน่าประทับใจ