กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPCRT) ได้บรรลุความสำเร็จสำคัญในการดำเนินธุรกิจเกษตรอย่างยั่งยืน โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ้วส จำกัด (CPP Myanmar) ผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้ผ่านการรับรองระบบตรวจประเมินการทวนสอบย้อนกลับ(Traceability Verification) และ บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด ผ่านการรับรองตรวจมาตรฐานการตรวจประเมินเกษตรยั่งยืน (FSA) การเพาะปลูกข้าวอย่างยั่งยืนในประเทศไทย จาก บริษัทคอนโทรล ยูเนียน จำกัด ความสำเร็จนี้สะท้อนถึงความมุ่งมันของ CPCRT ในการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับภาคการเกษตร ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล

บริษัท คอนโทรลยูเนี่ยน ประเทศไทย การตรวจประเมินเกษตรยั่งยืนระดับโลก จากประเทศเนเธอร์แลนด์รับรองมาตรฐานทวนสอบย้อนกลับ (Traceability Verification) และมาตรฐานเกษตรยั่งยืน (FSA) ที่มีประสบการณ์ตรวจประเมินรับรองมากกว่า 80 ประเทศ เข้าตรวจประเมินในช่วงเดือน กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีบริษัทที่เข้าร่วมและผ่านการประเมิน ได้แก่

  1. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ้วส จำกัด (CPP Myanmar)
  2. บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด

โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (CPP Myanmar) ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในประเทศเมียนมา ผ่านการรับรองการทวนสอบย้อนกลับ (Traceability Verification) จากการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบ Farmpro Myarmar นั้นคือ ส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกเป็นนักธุรกิจเกษตรบริหารจัดการฟาร์มที่ถูกต้องตามหลักการทำเกษตร ยั่งยืน มีการผลิตข้าวโพดที่ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า และไม่มีการเผาในพื้นที่เพาะปลูก การฝึกอบรมความรู้การจัดการพื้นที่ปลูก ที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม จดบันทึกข้อมูล และมีพนักงานของ CPP Myanmar ดูแลร่วมวางแผนทุกกระบวนการผลิต ส่งต่อไปยัง บริษัท กรุงเทพโปรดิ้วส จำกัด (BKP ในประเทศเมียนมา) สามารถรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบที่มาของแหล่งผลิตได้ ว่าตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตที่เชื่อมั่นได้ถึงความโปร่งใส ส่งผลให้เกิดการรักษาสมดุลการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การรับรองการทวนสอบย้อนกลับ (Traceability Verification) นี้ ใช้หลักเกณฑ์การทวนสอบระบบ CoC (Chain of Custody) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะสามารถพิสูจน์ได้ว่า วัตถุดิบที่บริษัทซื้อขายหรือใช้มาจากแหล่งที่มีการจัดการที่ดีอย่างยั่งยืนและได้รับการควบคุม โดยในทุกปีจะมีการทบทวนระบบภายในและรับรองระบบจากหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง

บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด ผ่านมาตรฐานการตรวจประเมินเกษตรยั่งยีน (Farm Sustainability Assessment) อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ ผู้ผลิตข้าวหอมมะลิ พื้นที่ จ.บุรีรัมย์ จ.ศรีสะเกษ จ.ยโสธร และ จ.พะเยา จากเกษตรกรสมาชิกมากกว่า 5,000 ราย โดยผ่านการรับรองระดับเงิน (Silver) แสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิตข้าวมีการจัดการตามหลักเกษตรยั่งยืนบริหารพื้นที่ จัดการน้ำ ตรวจสอบดิน ใส่ปุ๊ยอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ตามข้อกำหนดFSA 3.0 มาตรฐานเกษตรยั่งยืน Farm Sustainability Assessment 3.0 (FSA Version 3.0) เป็นการทำการเกษตรบนพื้นฐาน ที่ต้องการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล (SAT Platforn) ภายใต้ข้อกำหนดต่างๆมากกว่า 300 รายการที่ครอบคลุมประเด็น ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นายสุเมธ ภิญโญสนิท ประธานคณะผู้บริหารธุรกิจพืชครบวงจร กล่าวว่า “ความยั่งยืนคือหัวใจในการดำเนิน ธุรกิจ และสำหรับปัจจุบัน CPCRT ภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนมาตรฐานการเกษตรยั่งยืนในภูมิภาค ที่ไม่เพียงแค่สร้างคุณค่าเชิงเศรษฐกิจให้กับเกษตรกร แต่ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างระบบการเกษตรที่มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ การรับรองนี้ตอกย้ำถึงความตั้งใจของเราในการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

ในส่วนของกระบวนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมาที่ CPCRT ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ บริษัท เจริญโภค ภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด (CPP Myanmar) และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ้วส จำกัด (BKP ประเทศเมียนมา) ได้รับการรับรองความโปร่งใสในกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งช่วยให้ทุกขั้นตอนของการผลิตสามารถตรวจสอบและยืนยันแหล่งที่มาได้ ความสำเร็จนี้ไม่เพียงแต่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและนักลงทุน แต่ยังเป็นการยกระดับมาตรฐานการเกษตรยั่งยืนในภูมิภาคอีกด้วย

ด้าน Mr. Stephan Moreels Managing Director บริษัท คอนโทรล ยูเนียน (ประเทศไทย) กล่าวถึงความสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนว่า “ระบบตรวจสอบย้อนกลับของ CPCRT ถือเป็นนวัตกรรมที่ช่วยสร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในระบบห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสร้างความไว้วางใจในหมู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลก” ความสำเร็จเหล่านี้ทำให้ CPCRT พร้อมที่จะขยายความร่วมมือในด้านเกษตรยั่งยืนไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยืนหยัดในการดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งนำเสนอแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของโลกยุคใหม่
และนี้คือก้าวสำคัญของการพัฒนาธุรกิจภาคการเกษตรของไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมและมีความรับผิดชอบ ขับเคลื่อนห่วงโซ่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ยกระดับอาชีพเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ข้าว ขนส่งและบริการ (CPCRT)เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมขับเคลื่อนและพัฒนาต่อยอดการเป็นผู้ผลิตต้นน้ำตอบสนองความต้องการบริโภคในยุค ปัจจุบันที่จะรักษาสมดุลให้ไม่กระทบต่อการบริโภคในอนาคต