สาวชาวจีน เตียวอา เคยมีประสบการณ์อันน่าสยดสยอง ที่เกือบเสียชีวิตเพราะนอนดึก วันหนึ่งตอนตีสาม เตียวอา นั่งทำงาน ทันใดนั้นเธอก็รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ตามมาด้วยอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ชาที่มือและเท้า เหงื่อออก ตอนนั้นเธอตื่นตระหนกมาก คิดว่าตัวเองจะไม่รอดแล้ว เธอพยายามหลับตาเพื่องีบหลับ แต่ก็นอนไม่หลับ อาการของเธอแย่ลงเรื่อย ๆ เริ่มตาพร่ามัว หูอื้อ แทบไม่ได้ยินอะไรเลย น้ำตาลในเลือดของเธอต่ำ ทำให้ตกอยู่ในอาการโคม่า เธอพยายามโทรฯ หาเพื่อนบ้าน เพื่อให้ช่วยพาเธอไปโรงพยาบาล เมื่อถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉิน เตียวอา สติสัมปชัญญะค่อย ๆ หายไป ร่างกายสั่นสะท้าน เป็นอัมพาต และค่อย ๆ สูญเสียความรู้สึก แพทย์ต้องรีบปฐมพยาบาล วัดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และให้ออกซิเจน แม้เธอจะยังมีสติอยู่ แต่เธอไม่สามารถควบคุมร่างกายได้อีกต่อไป ทำได้แค่นอนนิ่ง ๆ มองดูร่างกายของตัวเองสั่นเทา หลังได้รับการฉีดยา อาการของเธอก็ค่อย ๆ ดีขึ้น แขนขาเริ่มจะมีแรง จากนั้นเธอถึงได้รู้ว่าร่างกายของเธอเปียกโชกไปด้วยเหงื่อ ใบหน้าซีดขาว เนื่องจากร่างกายของเธออ่อนแอมาก เธอจึงต้องให้ออกซิเจนต่อไป และอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อเฝ้าระวัง หลังจากนั้น เธอก็ไม่กล้าอดนอน และนอนดึกอีกเลย

แพทย์ผู้รักษาเปิดเผยว่า เตียวอา นอนหลับไม่สนิทมาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เนื่องจากเครียดจากงานที่ยุ่งมาก และวันนี้เธอก็ต้องทำงานจนดึกดื่น ก่อนร่างกายจะถึงขีดจำกัด

“อย่าคิดว่าอายุยังไม่มาก จะนอนดึกแค่ไหนก็ได้ ไม่ว่างานจะสำคัญแค่ไหน มันก็ไม่สมเหตุสมผลที่จะเสียสุขภาพอีกต่อไป”

ในชีวิตยุคใหม่ หลายๆ คนคุ้นเคยกับการนอนดึก มักจะใช้เวลาเลื่อนดูโทรศัพท์ ดูหนัง โดยที่ไม่รู้เลยว่าพวกเขากำลัง “ทำลาย” สุขภาพของตนเองอยู่

แล้วการนอนดึกเป็นอันตรายต่อร่างกายขนาดไหน?

จากการวิจัยของ Foreign Cardiovascular Hospital – Chinese Academy of Medical Sciences และ Chinese University of Hong Kong ที่ศึกษาผู้ใหญ่วัยกลางคน และผู้สูงอายุมากกว่า 136,000 คน จาก 26 ประเทศ ที่มีอายุระหว่าง 35-70 ปี โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามเวลานอน :

กลุ่มที่ 1: นอนตั้งแต่ 18.00 น. ถึง 20.00 น
กลุ่มที่ 2: นอนตั้งแต่ 20.00 น. ถึง 22.00 น
กลุ่มที่ 3: นอนตั้งแต่ 22.00 น. ถึง 00.00 น
กลุ่มที่ 4: นอนตั้งแต่ 00.00 น. ถึง 02.00 น
กลุ่มที่ 5: นอนตั้งแต่ 02.00 น. ถึง 06.00 น.

พบว่าคนที่นอนดึกและนอนหลับไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอ้วน การนอนหลับระหว่างวันไม่สามารถขจัดความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์

ผู้ที่เข้านอนหลัง 22.00 น. มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนสูงกว่าผู้ที่เข้านอนระหว่าง 20.00 น. ถึง 22.00 น. ผู้ที่เข้านอนหลังตี 2 มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้น 35%

การนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน ถือเป็นการอดนอนอย่างรุนแรง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนถึง 27% เพื่อสุขภาพที่ดีควรเข้านอนก่อน 22.00 น. ทุกวัน

นอกจากนี้ นักวิจัยจาก Beijing Institute of Life Sciences และ Institute of Biomedical Intersection Research – Tsinghua University (China) ยังค้นพบว่าการอดนอน ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย คนที่ไม่หลับไม่นอน 4 วันติดต่อกัน มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80%.

ที่มาและภาพ : Soha, Sammy-Sander, muntazar mansory / Pixabay