ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางชนิษา วิมลวัฒนา นายกเทศมนตรีเมืองสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯ ร่วมกับประธานชุมชนทั้ง 19 ชุมชน ประกอบด้วย นายพินิจ นพอุดมพันธุ์ ประธานชุมชนเถิดเทิง นางณัฐริยา บุญช่วย ประธานชุมชนบางลี่เล็ก นางจันทรา ไพศาลเสถียรวงศ์ ประธานชุมชนตลาดบางลี่ นางสอิ้ง กิจสีรี ประธานชุมชนปฐมตวงทอง นายณัฐกานต์ แสงอุไรประเสริฐ ประธานชุมชนลาดเข็มทอง นางบุณยนุช เทพาธิป ประธานชุมชนประชาร่วมใจ นายกรกช เดชบุญ ประธานชุมชนร่วมพัฒนา นายมนูญ สำเร็จทรัพย์ ประธานชุมชนคลองมะดัน นางศุทธินีย์ อมรไตรภพ ประธานชุมชนศรีสำราญ นายสิทธาคม กิจพูนวงศ์ ประธานชุมชนรางภาษี ร.ต.อ.กำจร ช่างสมบุญ ประธานชุมชนหน้าอำเภอ นายดิเรก อินทร์บำรุง ประธานชุมชนสองพี่น้อง นางอัญชลี สุขเจริญ ประธานชุมชนสะพานโค้ง นางธนิดา ชาโรจน์ ประธานชุมชนบางใหญ่ นางจำนงค์ สุดโต ประธานชุมชนไผ่หมู่ นางวรรณา ศรีภักดี ประธานชุมชนอำเภอเก่า นายมนตรี กลิ่นคำดี ประธานชุมชนนายจาง นางปราณี เกิดโภคา ประธานชุมชนโพธิ์อ้น นางชมภู กันหา ประธานชุมชนรางโตนด ลงพื้นที่ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงลาย

พร้อมหยอดทรายอะเบท เพื่อตัดวงจรของลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุงเนื่องจากที่ผ่านในเขตอำเภอสองพี่น้อง มีผู้ป่วยไข้เลือดออก และมีผู้เสียชีวิตหลายราย ซึ่งโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาที่สำคัญด้านสาธารณสุขอีกปัญหาหนึ่ง ที่มักจะมีการแพร่ระบาดในช่วงฤดูกาลนี้  โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในเขตเทศบาลเมืองสองพี่น้อง ซึ่งเป็นพื้นที่มีประชากรหนาแน่น 19 ชุมชน ส่วนการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ได้ผลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากประธานชุมชน และพี่น้อง ชาวบ้านประชาชน ที่ถือว่าเป็นสำคัญ ดังนั้นเทศบาลเมืองสองพี่น้อง จึงได้สั่งการให้ นางเนาวรัตน์ วิสัยชนม์ พยาบาลวิชาชีพ รักษาการ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นางสุทิชชา แสงหมี พยาบาลวิชาชีพ นางโฉมศรี เสาวนนท์ นักวิชาการสุขาภิบาล กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม นำเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯ ดำเนินการออกฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย พร้อมหยอดทรายอะเบท เพื่อตัดวงจรของลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง ในพื้นที่ 19 ชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่พร้อมร่วมกับคณะ อสม. ประธานชุมชน ผู้นำชุมชน แนะนำให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ และนำไปใช้ในการป้องกัน และการมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งจะทำให้การป้องกัน และควบคุมโรคเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และได้ผลแบบยั่งยืนต่อไป