7 มิ..66 พิกัดทางด่วนศรีรัช นักท่องเที่ยวหนีตายระทึก

1 ธ.ค.66 ไฟไหม้รถทัวร์ นักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ชีวิตเอาตัวรอดระทึก

27 ..67 รถทัวร์จากสุโขทัยท่องเที่ยวสังขละ ยางระเบิดไฟไหม้วอดทั้งคัน

1 ..67 รถบัสนักเรียนไฟไหม้ มีผู้เสียชีวิต 23 ราย

ข้างต้นนี้เป็นเพียง“ยอด”ภูเขาน้ำแข็ง ที่โผล่ออกมาให้เห็น และอาจเป็นเช่นนี้อีกหาก“ราก”ใต้ภูเขาน้ำแข็งไม่ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข

ท่ามกลางความพยายามอุดช่องโหว่ปัญหา มี 3โจทย์ใหญ่ถูกเสนอเป็นข้อพิจารณา โดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) ที่มองว่าเรื่องนี้ต้องแก้“เชิงระบบ” 3 ส่วนสำคัญคือ โครงสร้างประกอบการรถบัส , ค่าใช้จ่ายรายหัวในการทัศนศึกษา และ นโยบายพลังงาน

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการ ศวปถ. เผยความเสี่ยงของรากปัญหา และข้อพิจารณาแก้ไข เริ่มจากโครงสร้างประกอบการที่ปล่อยให้รายย่อย(มีรถไม่ถึง 10 คัน) เข้าสู่ระบบจำนวนมาก รายย่อยมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยหลายอย่าง เพราะต้องประหยัดและนำไปสู่การลดต้นทุน เช่น การใช้โครงรถเก่า และการใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง โดยการต่อโครงรถสูงก็เพื่อให้สามารถติดตั้งได้มากขึ้น

การให้ใบอนุญาตรถรายย่อยจำนวนมาก ยังเชื่อมโยงกับการตรวจสภาพรถที่ต้องทำปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากรถมีจำนวนมาก และการตรวจรถใหญ่ต้องดำเนินการที่ขนส่งหลัก จึงอาจขาดความเข้มงวด เพราะปริมาณรถที่มีนับหมื่นคัน กลายเป็นช่องโหว่ว่ามีการตรวจจริง หรือตรวจทิพย์จากเล่มรถอย่างเดียวหรือไม่ ทั้งนี้ เชื่อในเจตนาดีที่ขนส่งต้องการเช็กสภาพเพื่อตรวจสอบ แต่มีข้อจำกัดที่ต้องไปตรวจที่ขนส่งจังหวัด ดังนั้น เสนอให้ปรับโครงสร้างระบบทั้งใบอนุญาตและการตรวจสภาพรถ

ปล่อยโครงสร้างเป็นแบบนี้ไม่ได้ เพราะจะสร้างความเสี่ยงให้ระบบตรวจสภาพที่โหลดมาก ไม่สามารถทำให้มีคุณภาพได้”

ต่อมาคือรากปัญหางบประมาณรายหัวเด็ก ที่มีจำนวนน้อย เป็นเหตุให้ต้องประหยัด เลือกจ้างรถราคาถูก เมื่อต่างฝ่ายต่างประหยัดจึงได้รถบัสติดก๊าซ นอกจากนี้ ด้วยโปรแกรมไปเช้า-เย็นกลับ ทำให้การอนุญาตเป็นอำนาจของโรงเรียน ขาดการเข้าไปมีส่วนร่วมประเมิน ตรวจสอบระบบความปลอดภัยเขตพื้นที่การศึกษา เช่น การจัดเส้นทาง และโปรแกรมเดินทาง เป็นต้น

ดังนั้น งบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวที่มากขึ้น และการจัดระบบทัศนศึกษาที่เหมาะสม จำเป็นต้องทบทวน ยกตัวอย่าง แยกการกลุ่มทัศนศึกษาระหว่างเด็กเล็กกับเด็กโต เด็กเล็กให้ทัศนศึกษาระยะใกล้ เพื่อบริหารงบประมาณได้เพิ่มขึ้นในกลุ่มต้องทัศนศึกษาระยะไกล

ผู้จัดการ ศวปถ. กล่าวต่อว่า โจทย์รถบัสติดก๊าซมีความเกี่ยวข้องกับข้อเสนอสุดท้ายคือ นโยบายเชื้อเพลิง ที่ปัจจุบันไม่ได้ส่งเสริมก๊าซ NGV ปล่อยให้ราคาลอยตัว ทำให้คนใช้น้อย ปั๊มทยอยปิดตัว เมื่อมีปั๊มน้อย รถบัสเหล่านี้แก้ปัญหาโดยการเพิ่มจำนวนถัง เพราะรับงานแล้วมาเวียนเติมบ่อยจะเสียเวลา

นอกจากนี้ ชี้ถึงความสำคัญการวิเคราะห์อุบัติเหตุว่า จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงชัดเจน แต่สำคัญกว่านั้นคือการนำไปแก้ไข พร้อมยกตัวอย่าง ก่อนหน้านี้ในปี 64 เคยมีอุบัติเหตุใหญ่ไฟไหม้รถทัวร์ติดก๊าซ NGV 12 ถัง ที่ จ.ขอนแก่น มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ถือเป็นการส่งสัญญาณ มีทีมวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าไปตรวจสอบสาเหตุพร้อมให้ข้อเสนอแนะ

โดยพบอุปกรณ์การจ่ายก๊าซหลายใบพร้อมกันไม่มีมาตรฐานกำกับในไทย และเสนอให้มีการสร้างมาตรฐานและขั้นตอนตรวจสอบการรั่วไหลที่อุปกรณ์จ่ายก๊าซหลายถังพร้อมกัน เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดในประกาศมอก.และประกาศกรมการขนส่งทางบก จึงเป็นคำถามว่าครั้งนั้นที่มีการทำข้อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบูรณการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา ได้มีการไปดำเนินการต่อหรือไม่

รากปัญหาเดียวกันคือ ประหยัด ปั๊มน้อย วิ่งไม่แวะเติม และลึกกว่านั้นคือ ระบบมาตรฐานวาล์วกรณีติดหลายถังก็ไม่มีมาตรฐานกลางกำกับ คนตรวจก็ไม่รู้จะตรวจยังไง คนทำก็ไม่รู้จะใช้เกณฑ์อะไร เลยใช้แบบบ้านๆ”

ทั้งนี้ เสนอว่าไทยจำเป็นต้องมีหน่วยงานอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบ วิเคราะห์อุบัติเหตุ “ความเป็นอิสระ”จะทำให้กล้าเสนอแนวทางแก้ไขแก่รัฐ ซึ่งยังเป็นสิ่งที่ขาดในไทย.

ทีมข่าวอาชญากรรม รายงาน

[email protected]