ว่า ธุรกิจหากขาด 2 สิ่งนี้จะเดินได้ยากในอนาคต อย่างแรก 1. “นวัตกรรม” อย่างเช่น Ai จะมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในธุรกิจ และอย่างที่ 2 คือ “ความยั่งยืน” หรือความกรีนที่จะมาเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในยุคตลาดโลก ภาวะโลกร้อน (Global Warming) ถ้าพูดถึงเทรนที่เป็นท็อปเทนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จริง ๆ ความยั่งยืนน่าจะเป็นหนึ่งในเทรน เมื่อมาดูเม็ดเงินที่ลงทุนเรื่องพลังงานสีเขียวมีจำนวนมาก ปี 2023

จากข้อมูลของบลูมเบิร์กจะเห็นว่า มีการลงทุนเกี่ยวกับเรื่องพลังงานสีเขียว 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนในยานยนต์ไฟฟ้า การลงทุนการพัฒนาวิจัยในธุรกิจใหม่สามารถมาปรับใช้กับในธุรกิจ เปรียบเทียบกับจีดีพีของประเทศไทยแล้วมากกว่าถึง 3 เท่าตัว และจะเพิ่มเป็น 4-6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030 หรือเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่าตัว จะเห็นว่าทั้งโลกเริ่มมีการตื่นตัวในการลงทุนเกี่ยวกับพลังงานสีเขียว และให้ความสำคัญเกี่ยวกับความยั่งยืนมากขึ้น เหตุผลที่มีการลงทุนเรื่องพลังงานสีเขียวมีอยู่ 2 ข้อคือ 1.เพราะเราเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากขึ้น 2.เหตุผลทางธุรกิจจริง ๆ แล้วการลงทุนในกรีนบิสซิเนสสำหรับธุรกิจอาจ
จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ในเวทีโลกได้

ทั้งนี้ภาวะโลกร้อน เกิดผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก จากข้อมูล World Economic Forum ระบุว่าจาก 20 ปีที่ผ่านมาภาวะโลกร้อนทำให้เรามีค่าเสียหายทางเศรษฐกิจไปกว่า 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว เทียบเป็นชั่วโมงละ 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 500 ล้านบาท ผลกระทบเหล่านี้มาจากภัยบัติทำให้เกิดความแห้งแล้ง เกษตรกรต้องปรับตัว ขณะที่ประเทศไทยประสบภัยพิบัตินํ้าท่วม

โลกร้อนทำคนใช้ชีวิตยากขึ้น 

เมื่อมองลึกเข้าไปในสเกลประเทศไทยติดหนึ่งใน 10 ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ล่าสุดมีข้อมูลจากสมิธโซเนียน และมหาวิทยาลัยเทกซัสออฟสกิน บอกว่าภาวะโลกร้อนกระทบกับชีวิตประจำวันของเรา ทำให้เกิด tubulent หรือความปั่นป่วน มากกว่า 55% อาจจะทำให้การวางแผนการเดินทาง ทางอากาศทำได้ยากขึ้น อาจมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเยอะขึ้น เพราะฉะนั้นจะเห็นภาวะโลกร้อน ไม่ได้กระทบเศรษฐกิจ จะกระทบการใช้ชีวิต การเดินทางต่าง ๆ การขึ้นเครื่องบินจะไม่เป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดอีกต่อไป

ล่าสุดผมได้มีโอกาสร่วมงาน Race to energy advature award เชิญผู้นำมาร่วมพูดคุยเพื่อต่อสู้กับวิกฤติโลกร้อน รวมทั้งบิลเกตมาเข้าร่วมงานด้วยหนึ่งในข้อสรุปคือทำอย่างไรที่จะมีนวัตกรรมที่ถูกและดีในการ Decarbonization หรือการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อภาคธุรกิจออกมาควบคุมการปลดปล่อยคาร์บอน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเรื่องของการออกมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CEBAM) ซึ่งในปีนี้เป็นภาคสมัครใจ ปีหน้าจะเป็นภาคบังคับจะทำการค้ากับยุโรปเมื่อการปลดปล่อยคาร์บอนเกินเกณฑ์มาตรฐานจะต้องจ่ายเงินเพื่อชดเชย หรือตัวอย่างของ CORSIA (กลไกการชดเชยและการลดคาร์บอนสำหรับการบินระหว่างประเทศ CORSIA) เป็นอีกนโยบายการเดินทางทางอากาศต้องใช้พลังงานที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทขนาดใหญ่มีเป้าหมายที่จะไปถึงเน็ตซีโร่มากขึ้น ตัวอย่าง บริษัทแอปเปิล
กับเทสล่า มีเป้าว่าปี ค.ศ.2030 และต้องเป็นเน็ตซีโร่ทั้งแวลูเชน หมายความว่าเมื่อต้องการทำการค้ากับแอปเปิลต้องมีคาร์บอน
ฟุตพรินท์ที่ตํ่า

เปิด 3 เหตุผลทำไทยยังเข้าถึงยาก

ถามว่า หากไม่ได้ทำการค้ากับบริษัทที่ไม่มีเป้าเรื่องเน็ตซีโร่ เรื่องของความยั่งยืนยังเกี่ยวข้องหรือไม่ จริง ๆ ต้องบอกว่ามันใกล้กว่าที่คิด เพราะว่าประเทศไทยเริ่มพูดคุยเรื่องความยั่งยืนมากกว่าที่คิด ยกตัวอย่างภาษีการปลดปล่อยคาร์บอน สำหรับธุรกิจที่ใช้พลังงานฟอสซิล กำลังมีการพูดคุยในเรื่องการออกร่างพ.ร.บ. ออกมาใช้ภายในปีหน้า จริง ๆ แล้วเรื่องความยั่งยืนกระทบทั้งเศรษฐกิจและการใช้ชีวิต จึงมีความสำคัญที่ต้องเตรียมความพร้อม

ทั้งนี้อินโนพาวเวอร์ได้ประกาศนโยบายจุดยืนของธุรกิจ “Decarbonization Partner” คือพันธมิตรพิชิตคาร์บอน อยู่เคียงข้างผู้ประกอบการไทยให้สามารถก้าวผ่านตลาดภาวะโลกร้อน (Global Warming)ให้ดีขึ้นด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ

“อธิป” ได้ศึกษาลงลึกถึงเหตุผลที่ทำไมแม้ว่าประเทศไทยจะติดอันดับท็อปเทนของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
มากที่สุดในโลกด้วย แต่ผู้ประกอบการไทยยังลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดน้อยมากเมื่อเทียบกับทั่วโลก ได้พบเหตุผล 3 เรื่อง
ที่สำคัญคือหลายบริษัทอาจจะมีปัญหาดังนี้ 1. ผู้ประกอบการบอกว่าเรื่องกรีน หรือความยั่งยืนไม่ได้เป็นสิ่งที่โฟกัส ซึ่งจริง ๆ เป็นเรื่องถูกต้อง เพราะถ้าผมเป็นผู้ประกอบการคงต้องใช้เงินเหล่านั้นในการสร้างกำไรให้บริษัท เรื่องกรีนอาจเป็นเรื่องรอง แต่จริง ๆ ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ถ้ามีพาร์ทเนอร์ที่ถูกต้อง

มองแพงแต่อยากมองช่วยแข่งขัน

ยกตัวอย่างนักลงทุนการลงทุนโซลาร์ ไม่จำเป็นต้องลงทุนโซลาร์เองสามารถใช้พลังงานสะอาดราคาถูกได้ หรือการเข้าถึงสถาบันการเงินถ้าเราบอกได้ว่า เราทำธุรกิจแบบกรีนอยู่ บริษัทอาจเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าได้ 2.ผู้ประกอบการบอกว่ากรีนเป็นเรื่องยาก จริง ๆ ต้องบอกว่าเป็นเรื่องใหม่จริง ๆ แต่เป็นความเชี่ยวชาญของอินโนพาวเวอร์อยู่แล้วว่า ต้องลดพลังงานอย่างไรบ้าง ถ้ามีปัญหาด้านนี้สามารถพูดคุยกับอินโนพาวเวอร์ได้ 3.สิ่งที่ได้เห็นเยอะที่สุดหลังจากคุยกับผู้ประกอบการคือกรีนมีราคาแพง เนื่องจากเขายังไม่
เห็นภาพ แต่จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นตัวช่วยในการแข่งขันที่ดีขึ้น จริง ๆ แล้วโซลูชันเรื่องกรีนถ้าตรงจุดจะทำให้ต้นทุนดี ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น สามารถเข้าไปสู่ตลาดพรีเมียมได้

สำหรับธุรกิจคือการสร้างความตระหนักรู้ว่าธุรกิจมีการใช้พลังงานเท่าไร การปล่อยคาร์บอนเท่าไร เรามีแพลตฟอร์มที่เรียกว่า “Greenhouse Gas Report” ให้บริการแก่ผู้ประกอบการไทยกว่า 100 รายแล้ว เมื่อรู้แล้วว่าธุรกิจปล่อยพลังงานจำนวนเท่าไรแล้วหลาย ๆ ครั้งที่เจอผู้ประกอบการได้รับการกดดันจากตลาดมากแล้ว เขาต้องการโซลูชันเร่งด่วนใน ตลาดพรีเมียม สิ่งที่เราทำได้คือการรับรองการปล่อยคาร์บอนเครดิต เพื่อให้ลูกค้าอยู่ในตลาดพรีเมียมนั้นได้ หลังจากนั้นจะดูว่าสิ่งที่เขาปล่อยคาร์บอนอยู่เยอะ เกิด
จากอะไรจากนั้นจะหาโซลูชันที่เหมาะสม โดยใช้เอไอช่วยบริหารจัดการพลังงาน จะสามารถทำให้บริษัทก้าวไปสู่เป้าหมายได้อย่างแท้จริง

เปิดตัวช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงง่าย

เรามี REC Renewable Energy Certificate หรือแพลตฟอร์มสนับสนุนการขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการใช้ไฟ 100 หน่วย แต่มีแรงกดดันจากตลาด เขาเองต้องใช้พลังงานสะอาด 100 % ในการผลิตของผู้ประกอบการสามารถซื้อเครดิตเพื่อแมตช์และเคลมว่าเขาใช้พลังงานสะอาดได้ จริง ๆ แล้ว REC จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นพลังงานมาจากแหล่งไหน เช่น ลม นํ้า ลดแรงกดดันจากตลาดที่มาจากผู้ประกอบการได้

ที่ผ่านมาประมาณ 2-3 ปี เราได้มีโอกาสเคียงคู่ผู้ประกอบการไทยกว่า 100 รายแล้ว สามารถช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอน
กว่า 1.9 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า กับการปลูกต้นไม้ 80 ล้านต้น เป็นบริษัทเล็ก ๆ แต่มีความฝันที่ยิ่งใหญ่ที่จะลดคาร์บอนให้กับประเทศไทย

“กรีนเป็นสิ่งที่จะมาช่วยให้ผู้ประกอบการที่จะมาแข่งขันได้ดีที่สุดในตลาดที่กำลังเปลี่ยนไป” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ทิ้งท้ายถึงความสำคัญเรื่องของกรีน.