เอ่ยชื่อ สรดิษฐ์ ปิติสานต์ หรือในวงการ ทนายต่อ สรดิษฐ์ รับรองคนทั้งพันธุ์ทิพย์พลาซ่างามวงศ์วานคุ้นเคยกันดี ในฐานะผู้ชำนาญพระเครื่องทุกสายคนหนึ่งในวงการ

เหรียญจิ๊กโก๋ หลวงปู่โต๊ะ ปี 2512

ทนายต่อ เกิดวันที่ 7 ม.ค. 2520 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร เรียนจบนิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
(เหรียญทอง) จากมหา วิทยาลัยเกษมบัณฑิต (พัฒนาการ) เคยได้โล่เรียนดีจากมหาวิทยาลัย4 ปีซ้อน และเป็นหลานชายคนแรกของ “ครูมนัส ปิติสานต์” ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) ประจำปี 2555 วัยรุ่นเคยทำงานมาหลายอย่าง เคยเป็น PC เป็นพนักงานจัดเรียงสินค้าในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง เคยทำงานเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคลและฝ่ายบัญชีการเงินของบริษัทเอกชน ทำงานไปด้วยและส่งเสียตัวเองเรียน หลังจบนิติศาสตรบัณฑิต ไปสอบใบอนุญาตทนายความ   จากสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สอบผ่านได้ทั้ง “ตั๋วรุ่น” และ “ตั๋วปี” พร้อมกันในเวลา 1 ปี ปัจจุบันเป็นทนายความและมีร้านพระเครื่องตั้งอยู่ที่ห้าง
พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วานชั้น 2 (ตู้ G31)

พญาเต่าเรือน หลวงปู่หน่าย ปี 2518

“ความสนใจในการศึกษาพระเครื่อง เพราะคุณพ่อเคยเป็นทหารผ่านศึก ชื่นชอบพระและเครื่องรางของขลังต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา มักเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเครื่องและอภินิหารต่าง ๆ ให้ผมฟังตั้งแต่เด็ก จึงสนใจใคร่รู้ แอบหยิบพระคุณพ่อมาส่อง สมัยก่อนเอาไปเทียบดูในหนังสือพระ เมื่อเติบโตได้นำเอาวิชาความรู้ไปใช้ทำมาหา กินควบคู่งานประจำ นำเงินใช้จ่ายเรียนมหาวิทยาลัยและใช้จ่ายส่วนตัว ต่อมาเข้ากลุ่มนิยมไทยพระเครื่อง ทำให้รู้จักเพื่อนฝูง ผู้ใหญ่ที่สนใจมากมายจนได้รับความไว้ใจจากประธานกลุ่ม (คุณใหม่ นิยมไทย) แต่งตั้งให้เป็น “แอดมิน” กลุ่ม ยิ่งมีคนรู้จักเยอะขึ้น และเริ่มเข้าสู่วงการพระอย่างเต็มตัว”

“ส่วนตัวชื่นชอบพระเครื่องและเครื่องรางแทบทุกประเภท แต่ที่ชอบเป็นพิเศษจะเป็นประเภทพวกเหรียญปั๊มต่าง ๆ ง่ายต่อการเล่นหา รวมถึงพิจารณาแท้/เก๊ มีตำหนิ ตัวตัด ชัดเจน อีกทั้ง เหรียญปั๊มส่วนใหญ่ ยังระบุถึงชื่อพระเกจิ วัดที่สร้าง ตลอดจนถึงปีที่สร้าง รวมถึงในการซื้อขายแลกเปลี่ยน” ทนายต่อเล่า

เหรียญรุ่น 4 หลวงปู่หน่าย ปี 2517

และกล่าวว่า ส่วนพระเกจิในดวงใจ ที่สนใจมากเป็นพิเศษได้แก่ พระเครื่องของหลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ได้ยินชื่อมาตั้งแต่จำความได้ มุมมองวงการพระเครื่อง ในอดีตเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้า ความรู้จะต้องศึกษาจากหนังสือพระ พูดคุยจากผู้รู้ (เซียนพระ) ซึ่งไม่มีใครบอกหรือสอนเราโดยตรง ต้องสังเกตและจดจำด้วยตัวเอง ปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก มีโลกอินเทอร์เน็ต และมีสำนักออกบัตรรับรองรับประกันพระเครื่องต่าง ๆ มากมายโดยผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าและสะสม  เป็น การยกระดับวงการพระเครื่องให้มีมาตรฐาน คาดว่าในอนาคตจะนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับวงการพระเครื่อง และจะมี platform รวมถึงช่องทางต่าง ๆ ให้เติบโตกว่าเดิมแน่นอน  และฝากบอกถึงคนที่กำลังจะก้าวเข้ามาสู่วงการพระเครื่องว่า “ความซื่อสัตย์” เป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงสัมมาคารวะก็สำคัญด้วยเช่นกัน.


ซูเปอร์มู