“ปล่อยมือจากคนที่แย่ แล้วกลับไปหาแม่ที่สอนให้เราเดิน…รู้สึกแย่แค่ไหน ก็มีแม่คอยให้กำลังใจเสมอ”

หลายท่านคงจะเคยเห็นข่าวเหตุการณ์สลดใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะตำแหน่ง “พนักงานสอบสวน” เกิดความเครียดสะสมจนทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนในครอบครัว หนักที่สุดก็คือตำรวจนายนั้น “คิดสั้น” ฆ่าตัวตาย หรือไม่บางนายก็ขอเกษียณอายุราชการไปก่อนกำหนด

มันจึงกลายเป็นตำแหน่งต้องคำสาปที่ตำรวจส่วนใหญ่ไม่อยากอยู่ในตำแหน่งนั้น เพราะอะไร ทำไม ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในปัจจุบันถึงไม่อยากไปดำรงตำแหน่งเป็น “พนักงานสอบสวน” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ร้อยเวร” หรือ “สารวัตรเวร” ถึงขั้นถ้ามีโอกาสก็จะรีบขอโยกย้าย หรือขอไปช่วยราชการในตำแหน่งอื่นทันที

เหตุผลที่ตำรวจไม่อยากเป็นพนักงานสอบสวน หรือถ้าเป็นพนักงานสอบสวนอยู่แล้วก็พยายามวิ่งเต้นขอโยกย้ายไปอยู่หน่วยอื่น เท่าที่สัมผัสมามันมีสาเหตุสำคัญมาจาก 5 ข้อใหญ่ๆ

Admin in data center runs system diagnostic tests and error checking utilities on laptop to fix problems. Close up shot of worker looking for network issues affecting rigs performance, camera A

1.ความเจริญก้าวหน้า – หากเป็นสมัยก่อนมีแค่พนักงานสอบสวน ที่ถือว่าเป็นแท่งของงานสอบสวนก็คงจะไม่เท่าไรในการที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไปได้เพราะพนักงานสอบสวนก็แค่ต้องแข่งขันกันเอง แต่กับปัจจุบันมันไม่ใช่ เนื่องจากพอมีการทุบแท่งงานสอบสวนนี้ออกไป มันทำให้สายงานอื่นสามารถเข้ามาแย่งมาแข่งมาเป็นพนักงานสอบสวนได้ ปัญหาที่ตามมาคือคนจากสายงานอื่นมักจะทำงานไม่เป็น หรือไม่มีความรู้ด้านงานสอบสวนเท่าใด สุดท้ายพนักงานสอบสวนแต่ดั้งเดิมก็ต้องถูกสั่งให้มาทำคดีอยู่ดี สร้างความน้อยเนื้อต่ำใจเข้าไปอีก

2.เสี่ยงถูกร้องเรียนง่าย – ข้อนี้ตรงไปตรงมาพอสมควร พนักงานสอบสวนต้องทำคดีให้กับคู่กรณีที่มีปัญหากัน และมันก็ต้องมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์กับเสียประโยชน์ ถ้าฝ่ายที่เสียประโยชน์รู้สึกว่าพนักงานสอบสวนเอนเอียงและไม่ให้ความเป็นธรรม ก็จะนำมาสู่การร้องเรียน ซึ่งการร้องเรียนนี่แหละคือปัญหาใหญ่ เนื่องจากตามกฎข้อบังคับของตำรวจ หากพนักงานสอบสวนนายใดโดนร้องเรียนจะมีผลต่อการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายทันที ทั้งๆที่การร้องเรียนนั้นจะยังไม่มีข้อเท็จจริงที่สรุปออกมาแล้วก็ตามแต่ พูดง่ายๆคือมีสำนวนคดีอยู่ในมือ 20 คดี ในจำนวนนี้ถูกร้องเรียน 5 คดี แค่นี้ก็ระทมกบาลหนักแล้ว

3.ค่าตอบแทนไม่คุ้ม  – อย่างว่าเมื่อเราทำงานหนักค่าตอบแทนก็ต้องคุ้มค่า แต่พนักงานสอบสวนมีค่าตอบแทนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับความเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและสมองในการทำคดี ถึงแม้ว่าจะได้ค่าสำนวน ได้เงินค่าตำแหน่ง แต่ถ้าเปรียบเทียบกับงานที่ต้องรับผิดชอบสูง มีเอกสารแต่ละคดีเป็นปึกๆ พนักงานสอบสวนจะรู้สึกทันทีว่ามันไม่เหมาะสมกันอยู่ดี

4.โยกไปฝ่ายอื่นยาก – อันนี้คำตอบชัดเจนในตัว เนื่องจากตำแหน่งพนักงานสอบสวนในปัจจุบันมีน้อย หรือจะเรียกว่าค่อนข้างหายากก็คงไม่เกินไปนัก ทำให้โอกาสจะได้ไปเติบโตในสายงานฝ่ายอื่นลำบาก ถึงขนาดที่ว่าพนักงานสอบสวนยังถูกสั่งห้ามไปช่วยราชการอีกต่างหากด้วย ไม่เหมือนกับฝ่ายอื่นๆที่สามารถวิ่งเต้นขอโยกย้ายไปช่วยราชการได้

5.ความเครียดในการทำงาน – อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพนักงานสอบสวนงานค่อนข้างหนัก เนื่องจากตำแหน่งนี้นั้นมันหมายถึงต้นทางของกระบวนการยุติธรรม คดีต่างๆพนักงานสอบสวนต้องแบกความเครียดจากคู่กรณีทั้ง 2 ฝั่ง เวลาในการทำสำนวนก็ถูกจำกัดเวลา หากช้าก็จะโดนทวงถามว่าไม่คืบหน้า ยิ่งคดีใหญ่ๆก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้น เช่น ถูกเวลาบังคับบีบให้ต้องยื่นฟ้อง เวลาจะขอข้อมูลหรือหลักฐานต่างๆจากหน่วยงานอื่นๆก็ยากเย็น ทุกอย่างต้องรอเวลาไปเสียหมด นี่ยังไม่นับรวมถึงคดีเฉพาะหน้าที่เกิดเป็นข่าวใหญ่ข่าวดัง เพราะผู้บังคับบัญชาก็จะจี้ลงมาให้เร่งรัดทำคดีนี้ก่อน เพิ่มพูนจนกลายเป็นสำนวนคดีล้นมือ กระทั่งเกิดความเครียดสะสม

เชื่อว่ายังมีพนักงานสอบสวนอีกมากที่ภาคภูมิใจในตำแหน่งหน้าที่การงานนี้ และก็คงมีตำรวจฝ่ายอื่นอีกไม่น้อยที่รู้สึกถึงความลำบากของตำแหน่งพนักงานสอบสวนจนไม่อยากจะเป็น ซึ่ง 5 ข้อปมเหตุข้างต้นเป็นข้อสำคัญใหญ่ๆที่จับต้องได้ ยังไม่นับรวมถึงสาเหตุรายละเอียดยิบย่อยเล็กๆน้อยๆ ส่วนตัวลึกๆแล้วก็หวั่นใจว่าในอนาคต ตำแหน่ง “พนักงานสอบสวน” จะขาดแคลนแบบสุดๆ

ข่าวสารตำรวจ

ร่วมเป็นวิทยากร
ร.ต.ท.อดุลย์กิจ นามแดง รอง สว.(ป.)สภ.ชุมแพ จว.ขอนแก่น ปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่(1-2-3) ในเขตพื้นที่อำเภอชุมแพ สีชมพูและภูผาม่าน เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ โทษและพิษภัยของยาเสพติด การปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน การเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา พ.ร บ.จราจรทางบก2522 เครื่องหมาย ป้ายจราจร สัณญาณจราจร มือ นกหวีด รวมถึงมารยาทในการขับขี่อย่างปลอดภัย โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ณ โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น

มอบรางวัล
พ.ต.ท.ปิยะวัฒน์ วงศ์ทรายทอง รองผกก.ป.สภ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ร่วมงานประชุมใหญ่สหกรณ์กอง ทุนสวนยางบ้านเขาซก จำกัด พร้อมจับรายชื่อและมอบรางวัลให้กับสมาชิกผู้โชคดี ซึ่งมี นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ อดีต สส.ชลบุรี เป็นประธานเปิดการประชุม และมี นายธวัชชัย สุระประเสริฐ ประธานสหกรณ์ฯ กล่าวรายงานวัตประสงค์ โดยมี นายสมศักดิ์ จุฑาวงศ์กุล นอภ.หนองใหญ่ สจ.วัฒนพงศ์ ศรีเมธารักษ์ และ นายกมล เลิศประเสริฐเวช นายกเทศมนตรีตำบลหนองใหญ่ ร่วมพิธี โอกาสนี้ได้มีการเลือกประธานคนใหม่ และที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายก กมล เลิศประเสริฐเวช เป็นประธานสหกรณ์ฯ คนใหม่ เมื่อวันก่อน

งานกาแฟสัญจร
นายสราวุธ ชินราช ประธานกต.ตร.สภ.ปากน้ำประแสร์ จ.ระยอง /ผู้บริหารบริษัทชินราช ซีเอ็นอาร์ ทรานสปอร์ต จำกัด พร้อมด้วยคณะกต.ตร.สภ.ปากน้ำประแสร์ ร่วมกิจกรรมงานกาแฟสัญจรจังหวัดระยอง ครั้งที่ 8/2567 โดยมีพ.ต.อ.สมฤกษ์ ค้ำชู รอง ผบก.ภ.จว.ระยอง พ.ต.อ.วราวุฒิ ชัยเจริญ รอง ผบก.ภ.จว.ระยอง ร่วมงานด้วย โดยมีหัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าสถานีตำรวจในสังกัดเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่ง ณ ห้องปทุมวรรณ ชั้น 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี อ.เมือง จ.ระยอง

รู้แล้วทำไมยังถูกหลอก
พล.ต.ต.วัชรินทร์ ประสพดี ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี กล่าวว่า ตามที่ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรีได้แจ้งเตือนกลโกงมิจฉาชีพ หลอกลวงประชาชนในทุกช่องทางในทุกพื้นที่แล้วนั้น แต่ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จังหวัดสุพรรณบุรียังมีคดีเกิดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวม 147 คดี ความเสียหายกว่า 17 ล้านบาท ส่วนใหญ่มักเป็นการหลอกลวงให้ลงทุนและการข่มขู่ทางโทรศัพท์ (call center) รวม 20 คดี มูลค่าความเสียหาย กว่า 16 ล้านบาท ซึ่งตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี จึงขอเตือนท่านให้ระมัดระวังในการสนทนากับบุคคลที่ไม่รู้จัก ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐฯ จะไม่โทรหาท่านและให้โอนเงินไปยังบัญชีใดๆทั้งสิ้น จึงขอให้ท่าน ตั้งสติ รีบวางสาย ปรึกษาบุคคลใกล้ชิด“ไม่คุย ไม่แอด ไม่โอน ตกใจกลัว โทร 191 เท่านั้น”“หากท่านไม่สนใจ อาจโดนหลอกจนหมดตัว” แชร์ต่อ หากท่านห่วงใยตนเองและครอบครัว ด้วยความปรารถนาดีจาก ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี

************************************
คอลัมน์ : สน.รอตรวจ
โดย : บิ๊กสลีป