นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เปิดเผยว่าการจัดงานวิชาการประจำปี 2567Dongtan Engineer Forum 2024 ของสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากการที่มีผู้ให้ความสนใจเต็มห้องประชุมทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนมาร่วมรับฟัง ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าหัวข้อวิชาการที่ร่วมกันระดมสมองในวันนี้ เป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นั้นก็คือการตั้งธงความคิดว่าจากใช้ AI มาพัฒนาชาติได้อย่างไร ภายใต้หัวข้อ “ AI . ARTIFICIAL INTELLIGENCE ปัญญาประดิษฐ์ พลิกโฉมเศรษฐกิจของชาติ” ประกอบกับผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมเป็นองค์ปาฐก ต่างเป็นผู้นำระดับสูงขององค์กรชั้นนำในภาคธุรกิจแขนงต่างๆ และรวมถึงภาครัฐด้วยแต่ละท่านนั้นต่างประสบความสำเร็จในการใช้ AI มาเสริมสร้างศักยภาพในการขับเคลื่อนองค์กรจนประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล ได้ให้ข้อมูลเรื่องปัญญาประดิษฐ์กับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินการคลัง ท่านคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศ.ดร.วันชัย ยอดสุดใจ ได้เล่าถึงความก้าวหน้าของวิศวกรรมการสร้างอนาคตด้วยปัญญาประดิษฐ์ และความสำเร็จของโครงงานต่างๆ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ดำเนินมาทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ในขณะที่ทางภาคราชการและเอกชน ว่าที่ ร.ต.ประยุทธ เสตถาภิรมย์ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ได้บรรยายถึงเรื่องราวของ AI ที่จะมาสนับสนุนงานภาครัฐได้อย่างไร เพื่อเดินหน้าประเทศไทยสู่ความยั่งยืน คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเรื่องความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมจากบทบาทของ AI ที่นับวันจะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
ด้านเอกชนในส่วนของภาคการเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิสโก้ไฟแนนซ์เชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คุณศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ได้เสริมในเรื่องศักยภาพและการสานประโยชน์ต่างๆ ในด้าน AI Finance with a Face : Building Trust and Connection in the Age of AI ภาคพลังงานที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศโดยดร.รสยา เธียรวรรณ Executive Vice President Technology Development for Future Energy New Business and Infrastructure PTT.Publice Company Limited ได้ให้แง่มุมต่างๆ ของการประยุกต์ใช้ AI กับธุรกิจด้านพลังงานผู้ประกอบการInfluencer คนสำคัญและเป็นผู้มีประสบการณ์ในภาคธุรกิจ Start up ที่ประสบผลสำเร็จมาอย่างยาวนาน คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท อุ๊คบี (Ookbee) จำกัดมาแบ่งปันประสบการณ์ด้าน AI กับโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ และ Startup
ส่วน ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director & Distinguished Visionary Architect, KASIKORN BUSINESS TECHNOLOGYGROUP (KBTG) มาเพิ่มเติมในเรื่องของ AI Impact on Global and National Economy อีกท่านหนึ่งที่เป็นนวัตกรคนสำคัญคือ คุณนิติ เมฆหมอก Honorary President Thai loTAssociation CEO., Synergy Technology & Syn Hub Digi-Tech Community ได้เล่าถึงแนวโน้มการพัฒนาบุคลากรด้าน AI เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมในอนาคตได้อย่างน่าสนใจ
นายประสิทธิ์ กิจวิวัฒนการ ประธานที่ปรึกษาการจัดงาน Dongtan Engineer Forum 2024 เปิดเผยว่า นอกจากมุมมองความรู้ในการนำ AI มาพัฒนาชาติได้อย่างไรแล้ว ผู้เข้าร่วมงานยังประจักษ์ว่า นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ของเมืองไทยนั้นไม่แพ้ชาติใดในโลก เพราะในงานนี้ยังได้มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สามารถคว้ารางวัลระดับโลกกว่า 25 โครงการ และโครงการเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดผล นำไปใช้พัฒนากิจการสำคัญและความมั่งคงของประเทศ โดย
รศ.ดร.สิริพล อนันตวรสกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา รศ. ดร.กาญจนพันธ์ สุขวิชัย รศ.ดร.เชาวลิต มิตรสันติสุขและอีกหลายๆ ท่านที่นำผลงานทุกวิทยาการ สัมผัสถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่นำไปสู่การระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อันเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตของประเทศ ทั้งนี้ใน 25 โครงการที่นำมาเปิดโฉมให้เห็นนั้น ประกอบไปด้วยนวตกรรม AI ที่นำไปใช้เกิดประโยชน์ในหลากหลายภาคส่วน อาทิเทคโนโลยีไฮโดรโฟน KU-CoWS เพื่อตรวจจับการรั่วในระบบท่อจ่ายน้ำประปา แว่นตา AI ช่วยผู้ป่วยทางสายตา การใช้ AI ออกแบบและพัฒนากลไกกรีดยางพารา AGV ความปลอดภัยสำหรับการเดินทางผู้ใช้ wheelchair ระบบระบุจุดเสี่ยงสำหรับรถจักรยานยนต์ด้วยเซนเซอร์ในสมาร์ทโฟน หุ่นยนต์อารักษาพืชกล้วยไม้ ลดแรงงาน สร้างต้นแบบ FARM BOT การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในศาสตร์ของวิศวกรรมเคมี (The emergence of AI in Chemical Engineering) กล้อง 3 มิติหลายย่านแสง นวัตกรรม Auto Train AI การประยุกต์ใช้ immersive Technology (AR/VR/MR) และ AI ในงานอุตสาหกรรม ระบบจุดเสี่ยงสำหรับรถจักรยานยนต์ด้วยเซนเซอร์ในสมาร์ทโฟน ระบบจอดรถอัตโนมัติ Automatic CarParking และDimenseprinter, เครื่องพิมพ์วอลล์เปเปอร์ เป็นต้น
ด้านนายอดิศักดิ์ ปิยะสุวรรณ ประธานจัดงาน Dongtan Engineer Forum 2024 สรุปความสำเร็จการจัดงานและสิ่งที่ประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าชมและรับฟังไว้5 ประเด็น
1. สมาคมฯ ได้ทำหน้าที่เพื่อเป็นตัวกลางการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับประชาชนทุกภาคส่วนให้ได้รับความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เป็นทั้งประโยชน์และมหาภัยได้อย่างถ่องแท้เพื่อให้เกิดมุมมองการบริหารทางธุรกิจและอุตสาหกรรมในอีกหลากหลายด้านเช่น การขนส่ง การแพทย์ การศึกษา การท่องเที่ยว ถือเป็นยุค New Normal ที่มี AI ช่วยตอบโจทย์การผลักดันเศรษฐกิจของชาติให้พัฒนาต่อไปได้เป็นอย่างดี
2. เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการผลักดัน AI ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร ให้สามารถไหลเข้าสู่สังคมไทยได้อย่างไม่ติดขัด ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศ
3. ขยายผลทางการศึกษาทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจได้มีช่องทางการเรียนรู้เป็นวงกว้าง ให้มองเห็นโอกาสในการต่อยอดธุรกิจในอนาคตได้อย่างเหมาะกับองค์กร และเหมาะกับผู้บริโภค
4. ประชาชนได้เข้าใจและเรียนรู้ความสำคัญของ AI ที่จะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถมีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับประเทศและเศรษฐกิจโลก
และ 5. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น ช่วยธุรกิจให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้อีกด้วย สามารถดำเนินธุรกิจและชีวิตได้รวดเร็วมากขึ้น ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล ที่ต้องการความรวดเร็ว กระชับ และฉับไว
“สมาคมฯ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดงานอย่างเต็มที่ทั้งจากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์กรต่างๆ จากภาครัฐและเอกชนสื่อมวลชนทุกสาขา รวมทั้งคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ทำให้การจัดงานครั้งนี้ไม่ต้องเก็บใช้จ่ายใดๆ กับประชาชนผู้สนใจ และยังนำรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กับการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อีกด้วย อีกทั้งสมาคมฯ ตั้งใจจะจัดงานเผยแพร่ความรู้แบบนี้ให้กับประชาชนทุกๆปี ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 และจะทำต่อไปให้เกิดการพัฒนาการของสังคมและประเทศชาติ สำหรับท่านที่มิอาจเข้าร่วมรับฟังในครั้งนี้ ท่านสามารถติดตามได้ใน Facebook ของสมาคมฯ” นายอดิศักด์ กล่าวในที่สุด