27 พ.ค. 67 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาฯ “สภาพัฒน์” เปิดเผยว่าไตรมาส 4/66 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.4 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.0% ชะลอลงจาก 3.4% ของไตรมาสก่อนหน้า โดยหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มการขยายตัวที่ชะลอลง

30 พ.ค.67 กระทรวงการคลังประกาศยอด “หนี้สาธารณะ” ณ 31 มี.ค. 67 มีจํานวน 11,474,153.99 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.67 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยเป็นหนี้รัฐบาล 10,087,188.39 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นหนี้รัฐวิสาหกิจ-หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทําธุรกิจในภาคการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) -หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

เมื่อเห็นหนี้ 2 กอง (หนี้ครัวเรือนหนี้สาธารณะ) “พยัคฆ์น้อย” จึงต้องถามคนไทยว่าเป็น “บทเรียนราคาแพง” เราปล่อยให้ “คณะรัฐประหาร” บริหารประเทศอย่างต่อเนื่องถึง 9 ปี นานเกินไปหรือไม่?

โดย 5 ปีแรกหลังรัฐประหาร คนไทยติดกับดักอยู่กับปัญหาทางการเมือง-ความขัดแย้งในประเทศ นายกรัฐมนตรีออกไปเจรจาค้าขายในเวทีโลกไม่ได้! แถมยังเจอสหภาพยุโรปลงแส้! ธุรกิจประมงด้วยกฎระเบียบ IUU ทำให้พี่น้องชาวประมง 22 จังหวัด และธุรกิจต่อเนื่องได้รับความเดือดร้อนกันอย่างสาหัสไปตาม ๆ กัน

ส่วนข้าวสารจากโครงการรับจำนำข้าว ที่มีอยู่ในโกดังจำนวน 18 ล้านตัน ก็เอาคดีแพ่ง-อาญา ไปปักหลังเจ้าของโกดังที่เก็บรักษาข้าวสาร โดยกล่าวหาเขาว่าเก็บรักษาข้าวไม่ดี ข้าวหายไปจากโกดังบ้าง!

ข้าวสาร 18 ล้านตัน ถ้าประมูลขายปกติตามมาตรฐานกระทรวงพาณิชย์ ไม่ต้องมาก! แค่กก.ละ 10 บาท รัฐจะได้เงิน 180,000 ล้านบาท แต่เล่นแร่แปรธาตุกันขายเป็นข้าวเกรดซี (อาหารสัตว์) มากถึง 12 ล้านตัน กก.ละไม่ถึง 5 บาท

“พยัคฆ์น้อย” อ่านจดหมายของโกดังต่าง ๆ ที่รอดคดีแพ่ง-อาญา จนตาแฉะ! เช่น เจ้าของโกดังในภาคอีสานขอซื้อข้าวสารที่ตัวเองเก็บรักษาไว้ กก.ละ 26.40 บาท แต่ “อธิบดี” ในยุคปี 58 ของกระทรวงพาณิชย์ ตอบกลับไปว่าเป็นข้าวเกรดซี อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินคดี ดังนั้นการพิจารณาจำหน่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากประธาน นบข.

หลังเลือกตั้งเดือน มี.. 62 ยังได้นายกฯคนเดิมมาบริหารประเทศ 4 ปีเต็ม ๆ และประกาศยุบสภาเมื่อ 20 มี.. 66

เป็นห้วงเวลา 4 ปี ที่คนไทยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพลำบากจากปัญหาโรคระบาด “โควิด-19” ปัญหาเศรษฐกิจทั้งในประเทศ-นอกประเทศ ความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาความยากจน มีหนี้สินรุมเร้าเต็มไปหมดทั้งภาครัฐและประชาชน กระหน่ำซ้ำเติมด้วยนโยบายดอกเบี้ยแพง! เนื่องจากตลอด 9 ปี ประเทศไทยมี “GDP” รั้งท้ายในกลุ่มอาเซียน และเป็น 9 ปีที่รัฐบาลจัดงบประมาณ “ขาดดุล” แดงเถือก!

ยุบสภา 20 มี.. 66 จัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ 14 ..66 กว่าจะได้รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ปาเข้าไปเกือบกลางเดือน ก.. 66 รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน กว่าจะมีงบปี 67 มาจับจ่ายใช้สอยลงทุนจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศก็ล่วงเลยมาถึง 26 เม.. 67 โชคยังดีภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวมาช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไว้ได้บ้าง

ปัจจุบันปัญหาใหญ่ทางเศรษฐกิจ คือภาระหนี้สิน 2 กอง! ท่ามกลางนโยบายดอกเบี้ยแพงของแบงก์ชาติ คนไทยส่วนใหญ่ต้องทำงานใช้หนี้-จ่ายดอกเบี้ย กำลังซื้อจึงหดตัว รวมทั้งปัญหางบปี 67 ล่าช้า! ตอนนี้จึงเห็นข่าวโรงงานเลิกจ้างพนักงาน โรงงานปิดกิจการบ่อย ๆ

ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพัวพันกับหลายธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ก็อาการหนัก เพราะลูกค้าที่ซื้อบ้านราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท ส่วนใหญ่ขอกู้ผ่านยาก! ขนาดไตรมาส 1/67 ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่ง โกยกำไรสุทธิ รวมกัน 6.39 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.35% จากไตรมาส 4/66 แต่ธนาคารก็ระมัดระวังตัวกันแจ!

ถ้าไม่มีรัฐประหารในปี 57 หรือมี! แต่ไม่อยู่ต่อยาวนานถึง 9 ปี เราจะไม่ลำบากกันขนาดนี้!!.

………………………………………….
พยัคฆ์น้อย

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่..