“กีฬามวยไทย” ภายใต้การดำเนินการของสหพันธ์สมาคมมวยไทยนานาชาติ (IFMA) สร้างชื่อกระหึ่มอีกครั้ง เมื่อรายการ Challenger Battleground รายการซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่อิงตามความเป็นจริง ผงาดคว้ารางวัล “เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ดส์ 2024” ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 28 ในงานประกาศรางวัล ที่ฮัว บิน เธียเตอร์ นครโฮจิมินห์ ซิตี้ ประเทศเวียดนาม เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา
โดย Asian Television Awards เป็นองค์กรที่มอบรางวัลแห่งความเป็นที่สุดในวงการโทรทัศน์และวงการบันเทิงในเอเชีย การได้รับเสนอชื่อเพื่อชิงรางวัลเป็นเกียรติสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โปรดิวเซอร์ นักแสดง และอื่นๆ การได้รับรางวัลนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ซึ่งหนึ่งในรายการที่ได้รับเกียรติเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ได้แก่ รายการ Challenger Battleground และได้คว้ารางวัลสาขา Reality Show ในการประกาศรางวัลครั้งนี้ โดยมี สเตฟาน ฟ็อกซ์ เลขาธิการ IFMA ขึ้นรับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้
Challenger Battleground ถือเป็นรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับมวยไทย ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ไม่เพียงแต่สำหรับโปรดิวเซอร์ผู้ก่อตั้ง Imagine TV Group ที่ผลิตรายการทีวีมากมาย เช่น Biggest Loser, Apartment และ Inn เท่านั้น ในปี 2007 ยังได้ร่วมมือกับ IFMA และ สภามวยไทยโลก (WMC) เพื่อผลิตรายการและที่รับรางวัล เช่น Contender Muaythai และ Challenger Muaythai Battlegrounds อีกด้วย
ดร.ศักดิ์ชาย ทัพสุวรรณ ประธาน IFMA เปิดเผยว่า IFMA แสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมของมวยไทย ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา IFMA ได้มีทำการโปรโมตและส่งเสริมความเป็นมวยไทยอย่างแท้จริง ภายใต้ชื่อมวยไทย ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) โดย IFMA โปรโมตเฉพาะมวยไทย ที่มีความเป็นมวยไทยอย่างแท้จริงเท่านั้น ไม่หมายรวมถึงการต่อสู้ประเภทอื่นๆ อาทิ MMA หรือ มวยสากล เราสนับสนุนเฉพาะมวยไทย และกีฬาประจำชาติของไทย ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล อีกทั้งยังได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับโลกมากมาย เราได้สนับสนุนงบประมาณจำนวนมากเพื่อสนับสนุนให้แก่นักกีฬา และการคว้ารางวัล “เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ดส์ 2024” ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นการแสดงถึงความสำเร็จที่โดดเด่นอีกครั้งที่ IFMA ได้ทำให้แก่มวยไทย ในฐานะกีฬาประจำชาติของไทย
ในขณะเดียวกัน เราต้องขอขอบคุณ 152 ประเทศสมาชิกทั่วโลกที่ได้ทำงานร่วมกัน และ IFMA ยังจะมีข่าวดีมาให้ประเทศไทยในเร็วๆ นี้อีกด้วย ที่ผ่านมา IFMA, สมาคมกีฬามวยไทยสมัครเล่นฯ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) โดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. รวมไปถึงกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (NSDF) โดย ดร.สุปราณี คุปตาสา ผู้จัดการกองทุน NSDF ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี ซึ่งทั้ง กกท. และกองทุนฯ มีส่วนช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จของวงการมวยไทยสู่โอลิมปิกเกมส์
สเตฟาน ฟ็อกซ์ เป็นทั้งพิธีกรและที่ปรึกษารายการ Challenger Battleground กล่าวว่า ขอบคุณทุกคนที่เชื่อมั่นและสนับสนุนรายการนี้มานานกว่า 15 ปีตั้งแต่ปี 2007 เมื่อครั้ง ยอดแสนไกล แฟร์เท็กซ์ เป็นแชมป์คนแรก ไม่เพียงได้เข็มขัดแต่ยังได้เงินรางวัลอีก 7 ล้านบาท ขอขอบคุณนักกีฬาทุกคนที่มีความน่าประทับใจในทุกด้าน ไม่มีใครเห็นถึงตอนที่นักกีฬาทำทุกอย่างทั้งวินัย การฝึกซ้อม ความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคมากมายในช่วงเวลาที่ท้าทาย และเมื่อเวลามาถึง พวกเขาจะยืนขึ้นอย่างแข็งแกร่ง นักกีฬาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นมวยไทยแท้จริงด้วยสโลแกนที่ว่า “เคารพทุกคน และไม่กลัวใคร” ที่แสดงความเคารพอยู่เสมอ แต่ในทุกช่วงเวลาก็ต้องเผชิญหน้ากับทุกความท้าทายที่ชีวิตนำมาให้ ผู้ชมเห็นทั้งหมดของความเป็นมวยไทยอย่างแท้จริง ประเพณีไหว้ครู ความเข้าใจเกี่ยวกับปี่มวย หรือปี่พาทย์ ชีวิตของนักมวย การอยู่ การกิน การฝึกซ้อม และการอยู่ด้วยกันในบ้านเดียวกันกับผู้แข่งขัน ทำให้เห็นว่าการใช้ชีวิตร่วมกันกับคู่แข่งเคารพกันก็เป็นไปได้เช่นกัน นี่คือความพิเศษที่ต้องการส่งต่อของมวยไทยของรายการ Challenger Battleground
ริอาซ เมห์ตา ผู้ผลิตรายการ Challenger Battleground กล่าวว่า มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเมื่อรายการของเขา รายการที่ตามติดฝันของนักมวยไทยจากทั่วโลกได้เริ่มต้นการเดินทางของพวกเขาเพื่อเป็นแชมป์แท้จริง ด้วยความร่วมมือของ IFMA และ WMC ที่มีมากว่า 15 ปี ประเพณีและวัฒนธรรมของมวยไทยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเคร่งครัด ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือย่างเต็มที่ รวมถึงรัฐบาลของมาเลเซีย, IFMA, โปรดิวเซอร์, นักกีฬา เราทำงานร่วมกันเป็นทีม และทำความฝันสามารถเป็นจริงร่วมกัน ในนอดีตการถูกเสนอชื่อเข้าชิงถือเป็นความสำเร็จในวงการบันเทิง แต่การได้รับรางวัลคือ ชัยชนะและคือสิ่งที่สำคัญที่สุดและจะนำไปสู่โครงการที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งเราจะทำต่อไปอย่างแน่นอนกับพาร์ทเนอร์ทุกคน สำหรับมวยไทย IFMA และ WMC นี่เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มาก ที่ทั่วโลกจะได้เห็นมวยไทยแท้จริงผ่านทางรายการนี้ พวกเขาไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงอดีตความเป็นมาเท่านั้น แต่ยังทำให้เห็นถึงปัจจุบัน และอนาคต และเป็นสิ่งสำคัญในความฝันกับการผลักดันมวยไทยบรรจุแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์
“นี่เป็นความสำเร็จอีกครั้งที่สำคัญสำหรับแผ่นดินแม่ของมวยไทย คือประเทศไทย เนื่องจากในรายการนี้โลกเข้าใจว่ามวยไทยไม่เป็นเพียงเป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุด แต่ยังเป็นหนึ่งในกีฬาที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก และมีบางสิ่งที่อยู่ในทุกคน เช่น วัฒนธรรม, คุณค่า, ประเพณี, และความน่าสนใจที่ผู้ชมไม่เคยเห็นมาก่อน” ผู้ผลิตรายการ Challenger Battleground กล่าว
ดาโต๊ะชาห์ อัซมี ประธานสมาคมมวยไทยแห่งมาเลเซีย และกรรมการบริหารของ IFMA กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐบาลมาเลเซียที่สนับสนุนงานนี้อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ปี 2007 IFMA ใช้แพลตฟอร์มที่สำคัญเพื่อส่งเสริมมวยไทยเป็นกีฬาต่อสู้ที่น่าตื่นเต้นที่สุด อีกทั้งยังให้ความสำคัญในเรื่องความเคารพและให้เกียรติซึ่งกัน และกันเป็นที่ตั้ง เรื่องการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นควบคู่กับความปลอดภัยได้ถูงสื่อสารออกไปถึงผู้ชมนับล้านที่ดูอยู่ทั่วโลก เพื่อเป็นการโปรโมทคุณค่าแห่งมวยไทย และยังดำเนินการตามทางแห่งโอลิมปิกอีกด้วย ขอขอบคุณรัฐบาลมาเลเซียอีกครั้ง ที่สนับสนุนงานนี้อย่างเต็มที่ และนี่คือช่วงเวลาแห่งความภาคภูมิใจสำหรับมาเลเซียเช่นเดียวกับมวยไทย เราทุกคนภูมิใจมากเมื่อมวยไทย และ Challenger Battleground ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรอบสุดท้ายของรางวัลใหญ่อย่าง เอ็มมี่ อวอร์ดส์ Emmys 2024 ตอนนี้การคว้ารางวัล Asian TV Awards เป็นพิสูจน์ถึงมวยไทยแท้จริง และมวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เคยเสนอชื่อเข้าชิงทั้งใน Emmies และ Asian TV Awards นี้เป็นความสำเร็จอย่างสูงของ IFMA
เจย์นีซ ลิน นักมวยไทยสาวจากแคนาดา กล่าวว่า รายการนี้มีความเสมอภาคทางเพศอย่างเต็มรูปแบบซึ่งเป็นการส่งเสริมครั้งยิ่งใหญ่สำหรับมวยไทยหญิง เนื่องจากมีทั้งนักกีฬาชาย และหญิงเท่าเทียมกันในรายการ และนักมวยหญิงได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นนักกีฬาที่มีความน่าตื่นเต้น เชี่ยวชาญและมีความมุ่งหวัง มุ่งมั่นมากไม่ต่างจากนักกีฬาชายเลย นี่เป็นการยืนยันวิสัยทัศน์ของ IFMA ต่อความเสมอภาคทางเพศ และยังเป็นการส่งเสริมครั้งยิ่งใหญ่สำหรับมวยไทยหญิงทั่วโลก การได้รับการเสนอชื่อร่วมกับรายการดัง เช่น Survivor และ MasterChef เป็นเกียรติอย่างใหญ่หลวงสำหรับมวยไทย เนื่องจากรายการแต่ละรายการล้วนเป็นรายการดัง มีแฟรนไชส์ที่มีมูลค่าสูงหลายล้านดอลลาร์ การคว้ารางวัลนี้เหมือนเป็นสิ่งที่ท้าทาย
ชาริสา ไทนาน ผู้อำนวยการทั่วไปของ IFMA กล่าวว่า เริ่มทำงานกับ IFMA เมื่อปี 2006 นี่เป็นโครงการแรกที่ทำในเวลานั้น เธอเป็นผู้ดูแลทั้งไทย และต้นสังกัด หลายปีต่อมาได้เห็นความสำเร็จที่ต่อเนื่องของ IFMA ทุกปีๆ เริ่มตั้งแต่การได้รับการรับรองจาก IOC ไปจนถึงการมีชื่อเข้าชิงรางวัล Emmie และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในยูโรเปี้ยน เกมส์ และตอนนี้ยังได้รับรางวัลทีวีเอเชียอีก นี่แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของ IFMA และการทำงานร่วมกันที่มุ่งมั่น.