“Collective by Cloud 11” งานครีเอเตอร์เฟสติวัลครั้งแรกในไทย รวบรวมงานผลงานสร้างสรรค์ นิทรรศการ ดนตรี ทอล์ก จากเหล่าครีเอเตอร์กว่า 50 ชีวิต มาไว้ในที่เดียว โดยงานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ณ อาคารอุดมพร (ฟีฮาแล็บ) โรงงานเก่าย่าน “South Sukhumvit” ติด BTS ปุณณวิถี ซึ่งมีสถาปัตยกรรมยุค 1960 โดดเด่น

คุณองศา จรรยาประเสริฐ ผู้อำนวยการโครงการ Cloud 11 กล่าวว่า “Cloud 11 มีความตั้งใจที่จะสร้าง festival platform ที่แสดงฝีมือและผลงานสร้างสรรค์ของครีเอเตอร์ไทย เพื่อตอกย้ำแนวคิด ‘Empowering Creators’ และวิสัยทัศน์การสร้างฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จึงเป็นที่มาของการจัดงาน ‘Collective by Cloud 11’ โดย Cloud 11 จะจัดงานนี้อย่างต่อเนื่องในช่วงเดือน 11 ของทุกปี และมุ่งหวังที่จะปั้นให้งาน festival นี้ เป็นแพลตฟอร์มและสะพานเชื่อมนำผลงานครีเอเตอร์ไทยไปสู่ตลาดโลกได้”

“นอกจากความตั้งใจสร้าง festival platform แล้ว Cloud 11 ยังได้เลือกจัดงาน festival ปีนี้ที่โรงงานเก่าบนถนนสุขุมวิท ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโครงการ Cloud 11 เพียง 700 เมตร เพื่อแสดงถึงศักยภาพของย่าน South Sukhumvit โดยครีเอเตอร์กว่า 50 คน ร่วมกันสร้างสรรค์และเล่าผลงานผ่านตัวอาคารฟีฮาแล็บ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตยาปฏิชีวนะแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อสะท้อนถึงจิตวิญญาณการโอบรับนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ และความริเริ่มสร้างสรรค์ของคนและชุมชนในย่าน South Sukhumvit” คุณองศาได้เล่าเสริม

Collective by Cloud 11 มีการพัฒนาอยู่บนหลักคิด 3C ได้แก่

Creativity ความต้องการที่จะนำเสนอผลงานใหม่ๆ ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน รวมถึงเป็นการเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้เห็น และรู้จักวงการ Content Creation มากยิ่งขึ้นด้วย

Collaboration หรือ ความต้องการให้เกิดการทำงานข้ามสาย ข้ามอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นดนตรี การออกแบบ หรือศิลปะ ที่มีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลยี

Community หรือความต้องการที่จะผลักดันวงการ Content Creation และเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์หน้าใหม่ได้มีพื้นที่แสดงผลงาน และหวังให้ Collective by Cloud 11 เป็นจุดเริ่มต้นของคอมมูนิตี้ (Community) สำหรับครีเอเตอร์จากหลากหลายวงการได้มาทำความรู้จัก แบ่งปัน และสร้างคอนเนกชั่นเพื่อต่อยอดสู่ความสำเร็จต่อไป

โดยงาน Collective by Cloud 11 ปีนี้ ทาง Cloud 11 ได้ร่วมสร้างสรรค์กับ คุณหมู นนทวัฒน์ เจริญชาศรี จาก DUCTSTORE The Design Guru และ คุณพอล สิริสันต์ จาก VIBAL Corporation เพื่อวางกลยุทธ์ ออกแบบร่วมคัดสรร (curate) ผลงานจากครีเอเตอร์กว่า 50 คน และจัดงานโดยแบ่งออกเป็น 5 โซนหลัก ได้แก่

โซน COLLECTIVE EXHIBITIONS

โซนจัดแสดงผลงานของครีเอเตอร์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Immersive Art จากสตูดิโอชื่อดังอย่าง From Object to Studio ที่ทำงานร่วมกับศิลปิน Univirtar.io / Anofficerdies และ Youth Brush ถ่ายทอดผลงาน Sanctum: Retreat Your Mind พื้นที่ที่จะพาทุกคนล่องลอยไปกับ Avatar พร้อมกับการฉาย Projection Mapping บรรยายบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงของย่านสุขุมวิทใต้ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยีกับการทำงานร่วมกับศิลปะยุคสมัยใหม่ รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างคนต่างสาย ต่างความเชี่ยวชาญ ผสมผสานกันเป็นผลงานที่แตกต่าง

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม DecideKit ที่ได้มาจุดประกายขยายขอบเขตงานศิลปะที่แตกต่าง และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ภายใต้คอนเซปต์การผสมผสานศิลปะแห่งเสียงเพลงกับศิลปะแห่งภาพ เพื่อให้เข้าถึงบทเพลงของศิลปินอย่าง ภูมิ วิภูริศ

นิทรรศการงานอินสตอลเลชั่น Dark Frequency Room ที่ผสานกับเทคโนโลยีใหม่แห่งโลกยุคดิจิทัลจาก Kor.Bor.Vor ร่วมกับศิลปินด้าน New Media อย่าง SQUARE DOTS

รวมถึง Exhibition จาก Yellaban ในชื่อ Lucid Dream ที่เน้นการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ให้ผู้ชมเข้าไปมีส่วนร่วมกับผลงาน นอกจากนี้ยังคัดสรร (curate) ศิลปินอีกมากมาย อาทิ STUPID SHIT / PAVEE และ CHARLIE N. ที่แต่ละผลงานถ่ายทอดเรื่องราวเฉพาะตัวได้อย่างน่าสนใจและสะท้อนการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสานความคิดสร้างสรรค์ สู่งานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Interactive Generative Art / Immersive Interactive Installation / Audio Visual Art Installation และ Sound Installation

นอกจากนิทรรศการจากครีเอเตอร์แล้ว ยังมีโซน Arts จากศิลปินชื่อดัง อาทิ ธนชัย อุชชิน (ป๊อด โมเดิร์นด็อก) / เมธี น้อยจินดา (เมธี โมเดิร์นด็อก) / Nev3r / ธีธัช ธนโชคทวีพร (Tetat) / KOB B.O.R.E.D / แก้วตระการ จุลบล / ยูน ปัณพัท เตชเมธากุล และกลุ่ม Temporary West

นอกจากนี้ ยังมี Photo Exhibition จาก ชำนิ ทิพย์มณี ช่างภาพระดับแนวหน้าของเมืองไทยที่มาในคอนเซปต์ Past Present Future การเปลี่ยนผันจากอดีตผ่านปัจจุบันไปสู่อนาคต พร้อมกับเหล่า Young Generation ที่ทำให้งานนี้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น และเบื้องหลัง Photo Exhibition โดย SIXTYSIX หรือพจน์ – พรพจน์ กาญจนหัตถกิจ ที่ได้มาร่วมถ่ายทอดเสน่ห์สถาปัตยกรรมในยุค Modernism ของตึกฟีฮาแล็บ (Phihalab)

รวมถึง Art Market ร้านค้าศิลปะจากครีเอเตอร์ในหลากหลายวงการ อาทิ Yuree Kensaku / Tanasan Kanakasem / Dojo / TU!! / Gupoong / Praewphapa / Asin / Bonus Tmcvinn Patararin X Phannapast และผลงานจากศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย

โซน COLLECTIVE MUSIC SHOWS

โซน COLLECTIVE MUSIC SHOWS จัดแสดงดนตรีจากศิลปินและดีเจชื่อดังที่ได้มาร่วมสร้างสีสันกันอย่างเต็มอิ่มตลอดทั้ง 2 วันของการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็น Whal & Dolph วงดนตรีอินดี้ป็อปสัญชาติไทยจากค่าย What the duck / AUTTA แร็ปเปอร์อัจฉริยะ จากค่าย Yupp! ซึ่งในระหว่างโชว์ ทั้งสองศิลปินได้จัดเซอร์ไพร้ส์ให้ผู้ชม โดยได้ถ่ายทอดบทเพลงในดนตรี แบบ Acoustic ที่ถือว่าไม่ได้หาชมกันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Whal & Dolph ที่มีการถ่ายทอดบทเพลงแบบ Acoustic ที่นี่เป็นที่แรก นอกจากนี้ยังมี ดีเจ Aopsherrrrr / MJMA / Mae HappyAir / Club Mascot / Winkieb และ Marmosets ที่ยกขบวนกันมาจัดการแสดงอย่างเต็มอิ่ม

โซน COLLECTIVE TALKS

โซนที่รวบรวมครีเอเตอร์ระดับท็อปมากประสบการณ์จากสายต่างๆ มาร่วมพูดคุย และจุดประกายไอเดียให้กับครีเอเตอร์ยุคใหม่อย่างสุดความสามารถตลอดทั้ง 2 วัน ไม่ว่าจะเป็น

ทีม Fungjai แพลตฟอร์ม Music Streaming / Nino เกริก ชาญกว้าง มิวสิกครีเอเตอร์จาก Hype Train Entertainment และ เจ-มณฑล จิรา นักดนตรีและโปรดิวเซอร์ชื่อดัง ที่มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ The digital revolution in music transforming creation, distribution and consumption

คุณพรรณธร ลออรรถวุฒิ จาก VUCA / คุณภารุต เพ็ญพายัพ จาก Idyllias / คุณเมธากวี สีตบุตร จาก DUCTSTORE the design guru / คุณชนาธิป และคุณตฤณ จาก AI-DEATE ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน ในหัวข้อ How do you best approach the technological implementation of your work in the creative process?

Kor.Bor.Vor / Decide Kit / Pomme Chan 3 ครีเอเตอร์ตัวท็อป ในหัวข้อ The evolution of design and technology over the past decade

IGLOO STUDIO และคุณคอด สตรูสายาง จาก Houghton Street Production ที่มาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนในหัวข้อ the impact of technology on storytelling: from script to screen

โซน COLLECTIVE FOOD & BEVERAGE

หลังจากที่เดินชมงานจนเต็มอิ่มแล้ว ด้านหลังของตึกยังมีโซนที่ให้คนที่มาร่วมงานได้ดื่มด่ำไปกับอาหาร และเครื่องดื่มจากหลากหลายร้านชื่อดังมาไว้ในงานเดียว รวมถึงบรรยากาศชิลชิล พร้อมกับลมเย็นๆ ในช่วงต้นหนาวแบบนี้ โดยภายในงานได้นำร้านชื่อดัง อาทิ ร้านอาหารตะวันตก จาก God of Grill Steak และ Guten Appetit homemade Germany ร้านอาหารฟิวชั่น จาก Chunn.bkk และ Baan Head Chef ร้านอาหารเกาหลี จีน และเอเชียน จาก OVERSEOUL / yapooyapla / Hosek by Porrin Kitchen / Yum Lum Kha-nad และ Mori Kitchen Lab รวมถึงร้านเครื่องดื่มและของหวาน จาก ROOTS / MIRAI BANGKOK / Go Coffee & Ice cream / SHADE COMMUNE / Tea Lovers Everyday และ Miltshake. มาให้ทุกคนได้เลือกสรร

โซน COLLECTIVE NETWORKING SESSION

โซนที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของ Studio 11206 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้มาทำความรู้จัก และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยใช้ Talk Card เป็นสื่อกลาง ภายใต้หัวข้อ “Talk That Talk: Does AI Dream of Electric Sheep? ในการสำรวจความสัมพันธ์ และผลกระทบระหว่าง AI กับมนุษย์ ผ่านมุมมองเชิงปรัชญา ศีลธรรม จรรยาบรรณ และศาสตร์ความรู้

และสุดท้ายที่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของงานคือ การแสดง Projection Mapping ที่ฉายไปยังตัวตึกฟีฮาแล็บ ซึ่งเป็นการผสมผสานความงามของตึกที่มีดีไซน์แบบยุค 60s เข้ากับการออกแบบ Lighting และ Ambience ที่ใช้ศิลปะ และเทคโนโลยีแห่งโลกยุคใหม่ทำให้เกิด immersive experience ได้อย่างลงตัว และเป็นไปตามคอนเซปต์ของงาน

“Cloud 11 ขอบคุณทุกเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ที่มาร่วมงานทุกคน ตลอดจนคำชื่นชมมากมายที่ทุกคนได้เมนชั่นมาหาเราใน social media เราจะนำความคิดเห็นของทุกท่านไปพัฒนา และหวังว่าจะได้เจอกันอีกในครั้งถัดไป นอกจากนี้ เรายังหวังว่างาน Collective by Cloud 11 จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้แนวคิด Empowering Creators ติดปีกคอนเทนต์ครีเอเตอร์ มีความเป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้ และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับครีเอเตอร์จากหลากหลายวงการได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ทำให้ครีเอเตอร์ได้มาทำความรู้จัก แบ่งปัน และสร้างเครือข่ายเพื่อต่อยอดสู่ความสำเร็จต่อไป” คุณองศา กล่าวปิดท้าย

ติดตามรายละเอียดของ Cloud 11 เพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/cloud11bangkok
https://www.cloud11bangkok.com/