ขึ้นชื่อว่า “อนิเมะญี่ปุ่น” ในปัจจุบันนั้นขึ้นชื่อในเรื่องของ “คุณภาพ movement และสีสันของภาพ” ในทุกๆ ฉาก ทั้ง Demon Slayer, My Hero Acaedmia, One Piece (บางตอน) แต่ในตอนล่าสุดของ Jujutsu Kaisen Season 2 ตอนล่าสุดนั้น ชาวเน็ตต่างวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของภาพที่บางฉากนั้น เช่น ฉากปล่อยลำแสงที่จริงๆ แล้วควรจะมีสีที่สดและสว่าง แต่กลับมีแสงที่ดร็อปลง รวมถึงมีบางฉากมีภาพซ้อนๆ ดูไม่รู้เรื่อง จนเกิดคำถามว่า ทำไมทีมผู้สร้างอย่าง Mappa ที่เรียกว่าเป็นสตูดิโอระดับเทพ ถึงทำงานได้ดร็อปลงขนาดนี้ ซึ่งก็มีผู้รู้มีให้ความเห็นว่า มันเป็นเรื่องของ “Pokemon shock Effect” หรือที่เรียกกันเป็นทางการว่า การใช้เทคนิค “Ghosting & Dimming” แล้วมันคืออะไร วันนี้เราจะพาไปรู้จักมันกันครับ
“Ghosting & Dimmed” คือเทคนิค 2 อย่างที่แยกเป็น Dimming คือ การลดแสงลง เพื่อไม่ให้สว่างเกินไป ซึ่งมักเกิดในฉากปล่อยพลัง และ Ghosting เทคนิคที่จะสร้าง Layer ตัวละครแบบกึ่งโปรแสงหรือจางๆ และขยับออกจากตัวละครจริงๆ เล็กน้อย ซึ่งเทคนิคทำเพื่อให้รายการทีวี ภาพยนตร์ หรือ อนิเมะเรื่องนั้นๆ ผ่านการทดสอบ Harding test ซึ่งเป็นมาตราฐานตาม กฎหมายทีวีญี่ปุ่น เพื่อปกป้องผู้ที่มี อาการลมชักที่เกิดจากอาการไวต่อแสง หรือ Photosensitive epilepsy จากเหตุการณ์ Pokemon Shokku หรือ “โปเกมอนช็อก” ในปี 1997
โดย “โปเกมอนช็อก” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.1997 มีเด็กและเยาวชน จำนวน ประมาณ 600 กว่าคน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยรถพยาบาลถูกนำตัวตัวส่งโรงพยาบาล ด้วย อาการลมชักรุนแรง หลังจากรับชม Pokeman ตอน Dennō Senshi Porygon ที่มีฉากแฟลชวาบ สีแดง-น้ำเงิน จากการระเบิดพลังของปิกาจู และจาก 150 ราย ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีถึง 2 ราย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลนานกว่าสองสัปดาห์เลยทีเดียว ซึ่งนั่นทำให้เรตติ้งของโปเกมอนเรตติ้งลดฮวบฮาบ จนถูกพักการฉายอนิเมะ 4 เดือน และโปเกมอน ถูกถอดออกจากชั้นวางในร้านเช่าวิดีโอเลยทีเดียว
โดยการทดสอบ Harding test ก็จะแตกต่างกันไปแต่ละประเทศโดยใน ญี่ปุ่น หากในอนิเมะที่มีแสงแฟลชกะพริบโดยเฉพาะ แสงสีแดงจะต้องไม่กะพริบเร็วกว่า 3 ครั้ง/วินาที ถ้า ไม่มีสีแดงไม่ควรกะพริบเร็วกว่า 5 ครั้ง/วินาที และ ไม่ควรมีฉากแสดงกะพริบเกิน 2 วินาที และต้องมีคำเดือนสำหรับผู้ชมด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “โปเกมอนช็อก” ขึ้นอีก และเพื่อความต่อเนื่องในฉากพวกนี้ เทคนิค “Ghosting & Dimmed” จริงถูกนำมาใช้เพื่อให้ผ่านข้อกำหนดมาตรฐานเหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ Harding test กับทั้งเกม อนิเมะ และภาพยนตร์ ไปทั่วโลก และมีการเปิดให้ทดสอบแบบออนไลน์ด้วย
อันนี้จริงแล้วเทคนิคการ “Ghosting & Dimming” จะออกมาสู่สายตาคนภายนอกญี่ปุ่นค่อนข้างที่จะน้อย เพราะทีมงานผู้ทำอนิเมะส่วนใหญ่ เช่น ทีมผู้ทำอนิเมะของ “ดาบพิฆาตอสูร” ก็มักจะนำอนิเมะเวอร์ชันที่ไม่มีการ Ghosting & Dimmed มาลงในสตีมมิ่งแพลตฟอร์มมากกว่าเพื่ออรรถรสของผู้ชม หรือบางคนก็ชิน เพราะบางทีไม่ได้ใช้เยอะ หรือเห็นได้เด่นชัดด้วยองค์ประกอบต่างๆ แต่ในกรณีของ Jujutsu Kaisen นั้นไม่ได้ส่งไฟล์เวอร์ชันต้นฉบับให้ เลยทำให้ภาพอาจจะไม่ถูกใจใครหลายๆ คน ซึ่งหากใครอยากสัมผัสเวอร์ชันต้นฉบับคงต้องรอลงแผ่นแบบ Blue-Ray แทน
ทั้งนี้ทั้งนั้น เทคนิค “Ghosting & Dimmed” นั้น ก็มีขึ้นเพื่อทำให้ทีมงานผู้สร้างอนิเมะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากมังงะต้นฉบับได้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการปกป้องผู้ชม โดยเฉพาะเด็กที่มีประสาทสัมผัสไวต่อแสง และโอกาสเป็นโรคลมชัก ให้ดูอนิเมะ ภาพยนตร์ หรือแม้แต่เล่นเกม ฯลฯ ได้อย่างปลอดภัย แม้จะต้องลดความสวยงามไปบ้างก็ตาม ส่วนในส่วนอื่นๆ ใครจะชอบไม่ชอบ นั่นเป็นเรื่องส่วนของบุคคล