จากกรณีเกิดเหตุสะพานข้ามแยกทรุดตัว บริเวณหน้าโลตัสลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยลาดกระบังกำลังไปที่เกิดเหตุ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย และบาดเจ็บอีก 7 ราย โดยเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการค้นหาผู้บาดเจ็บเพิ่มเติม และปิดจราจร ด้านถนนหลวงแพ่งฝั่งขาเข้า ตามที่ได้นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
จากกรณีเกิดเหตุคานโครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ถล่ม บริเวณหน้าโลตัสลาดกระบัง ถนนหลวงแพ่ง แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง กทม. มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย นั้น
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา หรือ ดร.จอห์น ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย ได้เคยยื่นกระทู้ถามในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เข้าประชุมด้วย ถึงความคืบหน้าของสะพานดังกล่าว เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ซึ่งสะพานยกระดับจะสิ้นสุดในวันที่ 11 ส.ค.นี้
การก่อสร้างสะพานยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง มีระยะทางเพียง 3.3 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 1,664,550,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งเจ้าหน้าที่เขต และผู้อำนวยการเขตต่างก็ไม่ทราบข้อมูล หรือเป็นที่ปรึกษาในโครงการนี้
มีระยะเวลาดำเนินการ 900 วัน ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. 64 สิ้นสุดวันที่ 11 ส.ค. 66 โดยการก่อสร้างไม่มีความคืบหน้า และมีวัสดุอุปกรณ์กีดขวางทางจราจร ทำให้การจราจรติดขัด สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน
นายสุรจิตต์ ได้กล่าวในการยื่นกระทู้ถามครั้งนั้น ระบุว่า แผนของการก่อสร้าง สัญญาจะมีอยู่ 2 ช่วง คือ 11 ส.ค. 66 ต้องแล้วเสร็จ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดก็ได้ขยายสัญญาออกไป เป็นการปรับปรุงครั้งที่ 1 ผลงานสะสมก็อยู่เท่าเดิม แต่ละวันมีช่างมาดำเนินการไม่กี่คน สร้างปัญหารถติดมากมาย แผนที่ 1 หลังจากการได้รับผลกระทบจากโควิด คุยกันเรียบร้อย ต่อสัญญาเพิ่มเติมเป็น 16 ธ.ค.67 เสร็จทันไหม ไม่ทัน 3.3 กม. 1600 ล้าน 1 กม. 495 ล้าน เกือบ 500 ล้านบาท เข้าใจว่าโครงการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสมัยผู้ว่าฯ ชัชชาติ
โดย นายสุรจิตต์ ได้สอบถามทาง กทม.ว่าจะดำเนินการเร่งรัดให้เร็วขึ้นอย่างไร โดยนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม. ได้ระบุว่า ทาง กทม.ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับ จากแบบเดิมที่เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment โดยหล่อจากโรงงาน และขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วขึ้น และลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง