เป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ที่กระทบกับสุขภาพของประชาชนเป็นจำนวนมากอยู่ในขณะนี้ สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และทุกภูมิภาคของไทย ที่พบว่าคุณภาพอากาศอยู่ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ พบสารมลพิษทางอากาศที่ตรวจพบเกินมาตรฐาน ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) จนทำให้ประเทศไทย ติดอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ โดยเว็บไซต์ IQAir มาแล้วนั้น
-สุดพีค!ค่าฝุ่นกทม.พุ่งสูงลิบ ติดท็อป 5 เมืองที่มี ‘มลพิษโลก’
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 มี.ค. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า “ทุก ๆ ปริมาณที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของฝุ่นจิ๋ว 2.5 ถึงระดับ 33.3 และฝุ่นพีเอ็ม 10 จนถึงระดับ 57.3
จะเพิ่มความเสี่ยงของการตาย 4.14% และสำหรับไนโตรเจนไดออกไซด์เพิ่มความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นอีก 1.3% การที่ได้รับฝุ่นพิษจิ๋วเล็ก 2.5 และจิ๋วใหญ่ขึ้นขนาด 10 ไมครอนภายในหนึ่งวัน หรือในวันนั้นเอง จะส่งผลกับการตายอย่างมีนัยสำคัญ และยิ่งถ้าปริมาณสูงมากกว่านั้น…..
รายงานในวารสารของสมาคมโรคหัวใจ (Journal of American College of Cardiology) วันที่ 26 มกราคม 2021 รวมทั้งบทบรรณาธิการ
รูปจาก nasa fire map เวลา 06.34 วันที่ 14/3/2023..”
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha