เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ที่กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) เมืองทองธานี พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) พล.ต.ต.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.กานตพงศ์ ชัยรุ่งเรือง ผบก.สอท.2 พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.5 พร้อมด้วย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา และ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงข่าวผลการจับกุมเกี่ยวกับผู้ลักลอบผลิตและ จําหน่ายเครื่องสําอางโดยไม่ได้รับอนุญาต
พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ตรวจสอบพบการโฆษณา เกินจริงของผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง ดีเอ็น ออร่า ไวท์ บอดี้ โลชั่น (DN AURA WHITE BODY LOTION) เลขที่ใบรับ จดแจ้ง 11-1-6300052215 ทางสื่อออนไลน์และอีมาร์เก็ตเพลสเป็นจํานวนมากด้วยข้อความ เช่น “เปลี่ยน ผิวดํา กรรมพันธุ์ สู่ผิวขาวใส ใน 7 วัน” ซึ่งเป็นข้อความที่แสดงสรรพคุณเกินขอบข่ายความเป็นเครื่องสําอางและไม่เป็น ธรรมต่อผู้บริโภค จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เครื่องสําอางดังกล่าวได้ยกเลิกเลขที่ใบรับจดแจ้งแล้วเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องสําอางดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ประเภท การหลอกลวงจําหน่ายสินค้าออนไลน์และการค้าขายสินค้าผิดกฎหมายผ่านสื่อออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ อย. ได้ร่วมกันขยายผลติดตาม สืบสวนแหล่ง จําหน่าย จนสืบทราบแหล่งลักลอบผลิตเครื่องสําอางรายใหญ่ยี่ห้อดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้นําหมายค้นเข้าตรวจค้นอาคาร บ้านพักใน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา บ้านหลังดังกล่าวถูกใช้เป็นสถานที่ลักลอบผลิตเครื่องสําอางประเภท ครีมจํานวนหลายยี่ห้อ เช่น ยี่ห้อดีเอ็น (DN) ยี่ห้อใหม่ (MAI) ยี่ห้อเคที (KT) จึงได้ทําการตรวจยึดของกลาง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป ยี่ห้อ MAI และ DN กว่า 460 ชิ้น ยาคีโตโคนาโซล 240 กล่อง บรรจุภัณฑ์เปล่ากว่า 10,000 ชิ้น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ครีมรอบรรจุ และฉลากสติกเกอร์ รวมมูลค่าของกลางกว่า 300,000 บาท และนํา ตัวอย่างของกลางส่งตรวจหาสารต้องห้ามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อดําเนินคดีตามกฎหมาย
พล.ต.ท.กรไชย เปิดเผยอีกว่า จากพฤติการณ์ดังกล่าว ขายของโดยหลอกลวงให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกําเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่ง ของนั้นอันเป็นเท็จ มีอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทําให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทํานองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฐาน “นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน มีอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ” พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ.2558 ฐาน ผลิตเครื่องสําอางโดยไม่จดแจ้งมีโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ผลิตเพื่อขายเครื่องสําอางปลอม มีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ หากผลตรวจวิเคราะห์พบสารห้ามใช้ มีโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า ฝากความห่วงใยถึงพี่น้องประชาชน ควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทุกครั้งก่อนที่จะทําการสั่งซื้อจากสื่อออนไลน์ กรณีเป็นสินค้า อุปโภค บริโภค ควรตรวจดูเลขที่จดแจ้ง เลข อย. หรือฉลากสินค้า ว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เว็บไซต์ ผู้จําหน่ายมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และแจ้งเตือนกลุ่มผู้ขายสินค้าไม่ซื่อสัตย์ สินค้าไม่ปลอดภัยในการใช้ หรือ โฆษณาชวนเชื่อสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อออนไลน์ อาจเข้าข่ายการกระทําผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มีโทษจําคุก สูงสุด 5 ปี หรือปรับสูงสุด 100,000 บาท หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทําความผิดสามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน 1441 ตํารวจไซเบอร์ หรือเพจ กองบัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)
ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า ครีมเถื่อนที่ยึดได้ในครั้งนี้มักขายตามร้านค้า ออนไลน์ หรือตามแพลตฟอร์ม มักโฆษณาอ้างรักษาสิว รอยแผลเป็น ฝ้า กระ ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส ดํากรรมพันธุ์ก็ขาวขึ้น เห็นผลใน 7 วัน ที่ผ่านมา อย. เคยตรวจพบสารห้ามใช้ในเครื่องสําอางประเภทนี้ เช่น สารปรอท ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ สเตียรอยด์ ซึ่งหากใช้เป็นเวลานาน อาจทําให้ผิวหน้าดําผิวบางลง แพ้แสงแดดหรือแสงไฟได้ง่าย ผิวแตกลายถาวร เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับสารปรอทในปริมาณมาก อาจเกิดพิษสะสม ส่งผลให้ไตอักเสบ ซึ่งเคยมีผู้แพ้สารปรอทในเครื่องสําอางจนเสียชีวิตมาแล้ว จึงขอเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อเครื่องสําอาง อย่าซื้อเพียงเพราะหลงเชื่อคําโฆษณาว่า เครื่องสําอางนี้ช่วยรักษาสิว ฝ้า กระ รอยดําลดลง ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ให้ผลเร็ว เพราะมักพบว่า มีการลักลอบ ใส่สารห้ามใช้ ซึ่งเมื่อใช้ไประยะหนึ่งจากผิวที่ดูขาวจะกลายเป็นดําคล้ำเป็นฝ้าถาวร หรือรอยแผลเป็นถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก่อนซื้อขอให้ตรวจสอบเลขที่จดแจ้งและติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนเครื่องสําอางที่ ไม่ปลอดภัย ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือ ไลน์ @fdathai หากพบการลักลอบผลิต นําเข้า จําหน่าย ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556