กระบวนการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ทั่วโลกได้เริ่มขึ้นแล้ว ระเบียบใหม่ตามกลไกความร่วมมือนานาชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เน้นย้ำให้ทุกประเทศร่วมมือกันอย่างกว้างขวางเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิ

ไต้หวันมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับที่ 21 ของโลก มีอิทธิพลอย่างสูงต่อความมั่นคงและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ซึ่งมีฐานะสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของนานาประเทศ มีการบุกเบิกพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ โมเดลใหม่ๆ ระหว่างกระบวนการการผลิต ก็ได้พยายามลดการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนวัตกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่มีวิวัฒนาการอย่างยั่งยืน


ดร.จวงซั่วฮั่น ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย

ไต้หวันวางแผนพัฒนาพื้นฐานการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสุทธิเป็นศูนย์ ในห้าด้าน คือพลังงานยั่งยืน การลดคาร์บอน พลังงานหมุนเวียน การปล่อยคาร์บอนเป็นลบ (Carbon Negative) และวิทยาศาสตร์สังคม ขณะเดียวกันก็ได้ทำการปรับแก้ “กฎหมายการควบคุมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” (Greenhouse Gas Reduction and Management Act) เป็น “กฎหมายว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change Response Act) กำหนดให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายใน ค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ. 2593

นอกจากนี้ มีการนำมาตรการราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) มาใช้ เพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจชักนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันจะเป็นการพัฒนาการเติบโตของชีวิตคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Life) ทำให้กระบวนการรับมือความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไต้หวันมีรากฐานทางกฎหมาย

การผลักดันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เป็นภารกิจร่วมกันของโลกที่ไม่อาจบ่ายเบี่ยงได้ นานาประเทศจึงต้องร่วมแรงร่วมใจกันอย่างใกล้ชิด จึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะลดการปล่อยก๊าซสุทธิให้เป็นศูนย์ ไต้หวันมีจิตวิญญาณของมืออาชีพและปฏิบัติการจริงที่จะสร้างคุณูปการต่อการป้องกันความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สถานการณ์โควิด-19 ในสองปีที่ผ่านมาเป็นข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุดว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม ไต้หวันล้วนเป็นผู้มีศักยภาพมากที่สุดและมีความเป็นมิตรที่สุดในการสร้างคุณประโยชน์แก่โลก ดังนั้นไต้หวันจึงควรได้รับโอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลไกความร่วมมือนานาชาติว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราหวังว่าสังคมนานาประเทศจะให้การสนับสนุนและให้โอกาสไต้หวันในการเข้าร่วมอย่างมีความหมาย เท่าเทียมและทันท่วงที.

เลนซ์ซูม

ขอขอบคุณ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย