สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ว่าประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส กล่าวต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยมหาสมุทร (ยูเอ็นโอซี) ครั้งที่ 3 ณ เมืองนีซ ว่า การระงับการทำเหมืองใต้น้ำเป็น “ความจำเป็นระดับนานาชาติ”
ผู้นำสหรัฐซึ่งผลักดันการทำเหมืองใต้ทะเล ไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้นำ หรือผู้แทนรัฐบาลประมาณ 60 คน ซึ่งเดินทางมาร่วมการประชุมที่เมืองนีซ แต่แผนของทรัมป์ ในการหลีกเลี่ยงกฎระเบียบองค์กรพื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศ (ไอเอสเอ) เพื่อออกใบอนุญาตขุดแร่จากน่านน้ำ นอกเหนือเขตอำนาจศาลของสหรัฐ “ได้ถูกนำมาวิจารณ์ในการประชุม”
????️ "The globe is burning, our oceans are boiling" – French President #Macron opens the third UN #OceanConference this Monday, as nations face pressure to adopt tougher stances on overfishing, pollution and marine protection ⤵️
— FRANCE 24 English (@France24_en) June 9, 2025
➡️ Watch full speech: https://t.co/vq0Z6lpbHM pic.twitter.com/jHuEEVw2CH
ประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำบราซิล เรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแลพื้นดินท้องทะเล “ดำเนินการอย่างชัดเจน” เพื่อยุติการแข่งล่าแร่ธาตุในมหาสมุทรลึก และพวกเขาไม่สามารถปล่อยให้ “สิ่งที่เกิดขึ้นกับการค้าโลก” เกิดขึ้นกับทะเลได้
ขณะเดียวกัน มาครงเสริมว่า ทะเลลึก กรีนแลนด์ และแอนตาร์กติกา “ไม่ใช่ของซื้อของขาย” ซึ่งสื่อถึงนโยบายของทรัมป์เช่นกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้นำฝรั่งเศสเปิดเผยว่า มีผู้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาทะเลหลวงแล้ว 55 ประเทศ โดยขาดอีกเพียง 5 ประเทศสำหรับการประกาศใช้ ขณะที่ข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 ม.ค. 2568
ตามข้อมูลของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีผู้ให้สัตยาบันเพิ่มอีก 18 ประเทศ โดยตัวเลขทั้งหมดอยู่ที่ 50 ฉบับ และจะตามมาอีกในอีกไม่กี่วันข้างหน้า.
เครดิตภาพ : AFP