ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2568 “ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลและผู้ขับเคลื่อนแนวคิดอนุรักษ์ท้องทะเล ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า “มาถึงข่าวดีกันบ้าง ฉลามวาฬเริ่มเข้าอ่าวไทยแล้วครับ มีข่าวมาทั้งจากชุมพรและเกาะเต่า”

“ปกติถ้าเป็นชุมพร จะเข้ามาอยู่ยาว 1-2 สัปดาห์ วนอยู่ระหว่าง ร้านเป็ดร้านไก่-เกาะง่าม-เรือปราบ บางหนเข้ามา 2 ตัว ถือเป็นการเปิดฤดูท่องเที่ยวอ่าวไทยครับ”

สำหรับฉลามวาฬ (Whale Shark) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhincodon typus ฉลามวาฬเป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลาทั่วไปคือมีอุณหภูมิร่างกายใกล้เคียงกับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่และเป็นปลากระดูกอ่อนคือกระดูกทั้งตัวยกเว้นขากรรไกรและฟันเป็นกระดูกแข็ง กระดูกอ่อนเป็นกระดูกอ่อนแบบเดียวกับกระดูกใบหูของคน

และฉลามวาฬยังได้จัดอันดับให้เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่ใช่ปลาวาฬเพราะปลาวาฬหรือวาฬเป็นสัตว์เลือดอุ่นซึ่งมีอุณหภูมิร่างกายคงที่ไม่ใช่ปลา) ฉลามวาฬโตเต็มที่มีขนาดความยาวประมาณ 12.5 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 21.5 ตัน

ฉลามวาฬพบแพร่กระจายในทะเลในเขตร้อนและเขตบอุ่น ประเทศไทยของเราพบฉลามวาฬได้ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ฝั่งทะเลอันดามันเคยพบฉลามวาฬว่าเข้ามาในอ่าวป่าตองจังหวัดภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2540-2542 ซึ่งสันนิษฐานว่าว่ายเข้ามาหาอาหารหรือจับคู่ผสมพันธุ์ ส่วนที่อ่าวไทยเคยพบฉลามวาฬที่เกาะมันนอก จังหวัดระยอง ที่เกาะรัง จังหวัดชุมพร และที่เกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี

แม้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่อาหารที่มันกินนับได้เป็นอาหารเกือบจะมีขนาดเล็กที่สุด คือมันกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ฉลามวาฬจะกินอาหารโดยการว่ายน้ำอ้าปากให้น้ำไหลเข้าปาก แล้วใช้ซี่เหงือกกรองแพลงก์อีกด้วย…

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @Thon Thamrongnawasawat , @Phuket Aquarium