เมื่อวันที่  26 มี.ค. ที่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัด เสวนา  : “พิรงรอง Effect สะเทือนอุตสาหกรรมสื่อ ?”  โดย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาองค์กรของผู้บริโภค หลังคำตัดสินของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง กรณีกรรมการ กสทช. “พิรงรอง รามสูต” กำลังส่งแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ต่อแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค และอนาคตของอุตสาหกรรมสื่อไทย

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวว่า  Effect ที่เกิดขึ้น คือ ผลกระทบต่อการคุ้มครองู้บริโภค ต่อไป เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจจะกังวล ในการคัดสินอะไร หรือมีความเห็นอะไร อาจจะกลัวว่าจะเหมือนกรณีนี้ จนทำให้ ไม่ตัดสินใจที่จะทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพราะกลัวว่าเมื่อไหร่ที่ต้องตัดสินใจอาจจะเจอแบบนี้ ซึ่งเรื่องนี้ผิวิสัยควรจะฟ้องที่ศษลปกครอง ไม่ใช่ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ซึ่งต่อไปจะมีเรื่อง OTT ที่ต้องกำกับดูแล แต่หาก กสทช. ไม่มีอำนาจ  สุดท้ายแล้วอยากจะให้มีการแก้กฎหมาย กสทช.

  น.ส. สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ และกรรมการนโยบาย สภาผู้บริโภค กล่าวว่า  ถึงเวลาที่ต้องมีการปฎิรูปกฎหมายเกี่ยวกับ กสทช. หลังจากที่ผ่านมาต้องการให้ อิสระเสรีภาพของภาคเอกชนได้ทำธุรกิจอย่างเสรี เลิกระบบ อำนาจนิยมอุปถัมภ์ และทุนนิยมอภิสิทธิ์ แต่ตอนนี้เราได้เห็นการเติบใหญ่ของเอกชนอ่าแล้วนำไปสู่การผูกขาด บทบาทของรัฐก็อ่อนแอลง ต้องดูว่าเกิดความผิดพลาดตรงไหน ที่ เหลือเรายใหญ่แค่ 2 ราย สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ อาจารย์ พิรงรอง รามสูต ได้ปกป้องอุตสาหกรรมสื่อมวลชนที่มีความยากลำบากมากในการที่เขาจะต้องเข้าสู่ระบบใบอนุญาต ที่ได้เปลี่ยนจากระบบสัปทานมาเป็นใบอนุญาต

รศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จริงๆแล้วกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องของ อาจารย์ พิรงรอง  จริงๆแล้วคือเรื่องของ กสทช. มากกว่า ที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล บทบาทหลักของ กสทช. มีอยู่ 3 คำใหญ่ๆคือ  การแข่งขันเสรี ที่เป็นธรรม และคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งสิ่งที่ อาจารย์ พิรงรอง  กำลังทำอยู่ในบทบาทของ กสทช. ถ้าเกิดไม่ทำ คือผิดปกติ เพียงแต่ว่ากลไกของ กสทช.ผิดปกติ ควรจะต้องทำนานมากๆแต่กลับไม่มีการทำ ทำให้ผู้เสียผลประโยชน์ คือ ผู้บริโภค

“อาจารย์ พิรงรอง  มีคุณสมบัติทุกอย่าง มีผลงานการันตีที่มีความชำนาญในเรื่องของการกำกับดูแลสื่อ คนที่ทำงานสื่อรู้กันดีว่าในบอร์ดของ กสทช. ที่ผ่านมาไม่ใช่ปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วคือไม่ใช่คนทำงานสื่อเลยไม่มีความรู้เรื่องสื่อดังนั้นการมาของอาจารย์ ทุกคนในวงการสื่อดีใจมาก ที่จะเป็นประโยชน์ของสังคมของผู้บริโภค แต่อยู่ๆก็เกิดเหตุขึ้น หากโกนคดีต่อไปใครจะกล้าเข้ามาทำงานด้านสื่อสารมวลชน”

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า เข้าใจความรู้สึกของอาจารย์พิรงรองเ เพราะรู้จักเป็นการส่วนตัว แต่การทำงามาตลอดชีวิตพิสูจน์ได้ว่า ไม่เคยนำมาเรื่องส่วนตัวมาเป็นหลักในการตัดสินใจถึงความถูกต้อง และตนเองก็ไม่เคยมีปัญหากับทรู ทุกวันนี้ยังเป็นลูกค้าของทรูไอดี ประเด็นนี้ข้อให้ดูว่า คดีความยังไม่ถึงที่สุดดังนั้นอย่าเพิ่งไปด่วนสรุป และ คดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรม หลายคนจึงไม่อยากเปิดเผยชื่อ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหานี้ จึงสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก มากมีการกระจุกตัวของอำนาจทางเศรษฐกิจ และการผูกขาดตลิดเวลา  เทคโนโลยีวิ่งเร็วกว่ากฎหมายไม่รู้กี่เท่าตัว เป้าหมายของภาครัฐที่ตะตุ้มครองประโยชน์สาธารณะ จึงมีอุปสรรคการทำงานขององค์กรอิสระ เพราะกฎหมานเขียนอย่างไรก็ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตประธานกรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) กล่าวว่า  ทุนไม่พอใจอาจารย์พิรงรอง และมองว่า อาจารย์พิรงรองถูกนำเอาเทคนิคทางกฎหมายมาเล่นงานมากกว่า  ซึ่งเดิมไทยมีปัญหาเสรีภาพสื่อ  จึงมีการกระจายให้เอกชนเข้ามาทำสื่อ และมี กสทช.มีหน้าที่ด฿แลและให้เสรีภาพผู้บริโภค และให้ความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการแข่งขันกัน และผลดีตกกับผู้บริโภคแต่สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ทุนขนาดใหญ่เกิดการผูกขาด  ทำให้อำนาจเงินมีอำนาจเหนือกฎและผู้กำกับดูแลได้ เช่นเดียวกับ เรื่องผู้กำกัยดูแลด้านพลังงาน  นี่คือตัวปัญหาที่แท้จริง  สิ่งที่เกิดขึ้นจะทำให้ นักวิชาการ ไม่กล้าเข้ามาเป็น กสทช. อีก