นายชัยธัช เพราะสุนทร สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมการ คนที่สอง (หัวหน้าคณะฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา) พร้อมคณะ ลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อพบปะและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการติดตามการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ ของพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ศูนย์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีนายประสิทธิ์ อินทโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมให้การต้อนรับสำหรับการจัด “โครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน” นั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนทุกภาคส่วนและเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกระดับ สามารถใช้เป็นเวที ที่ได้เข้ามาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยกันขับเคลื่อนประเทศ ตั้งแต่ระดับฐานราก ชุมชน สังคม และระดับประเทศ ให้พัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างสอดคล้องกันและเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความตระหนักสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและสังคมโดยรวม อันจะ นำไปสู่สังคมที่ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสังคมที่มีความสงบสุข เป็นธรรม ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในทุกด้านบนพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขในการลงพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

ในวันนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน กลุ่มภาคตะวันออก ที่ได้มาติดตามการดำเนินโครงการแผนพัฒนาถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทราเนื่องจากเมืองฉะเชิงเทรามีการขยายตัว เส้นทางคมนาคมขนส่งสายหลักมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา จึงเกิด ปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมือง จำเป็นต้องก่อสร้างทางแนวใหม่ขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นถนนวงแหวนรอบเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมือง ที่มีการนำเสนอโครงการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2563 นั้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขอรับงบประมาณเพื่อเวนคืน ที่ดิน ในปี 2569 ทางคณะกรรมการฯ ได้รับเรื่องไปฝากให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา งบประมาณของวุฒิสภา ช่วยพิจารณาและสนับสนุนงบประมาณให้กับโครงการ เพื่อโครงการ จะได้เดินหน้าต่อไปได้ในส่วนของการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมักจะประสบปัญหาผักตบชวาและวัชพืชกีดขวางทางน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ในทุกๆปีในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงฤดูฝน จะมีผักตบชวาไหลจากแม่น้ำตอืนบนได้แก่ จังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรี เป็นจำนวนมาก เฉลี่ยประมาณปีละ 70-80 ตัน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการระบายน้ำในฤดูฝน และอุทกภัยในจังหวัดฉะเชิงเทราและในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ซึ่งปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในแม่น้ำคูคลอง เป็นปัญหาที่รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการแก้ไข และได้ติดตามผลการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ติดตามสถานการณ์ ผักตบชวาในแม่น้ำบางปะกงของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีมาตรการในการกำจัดผักตบชวา เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ ปี 2566 เป็นต้นมา คือ1. มาตรการในการป้องกัน (เก็บเล็ก) ได้ให้อำเภอประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของจังหวัด ฉะเชิงเทรา ทำการเก็บผักตบชวาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ผักตบชวาเติบโตและขยายพันธุ์ 2.มาตรการกำจัดผักตบชวา (เก็บใหญ่) ได้ดำเนินการบูรณาการความร่วมมือ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดกิจกรรม Kick-off แก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชกีดขวางทางน้ำ ในแม่น้ำบางปะกง ด้วยการระดมสรรพกำลังและเครื่องจักรกล จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในส่วนแนวทางการดำเนินงานในปี 2567 ประชาชนได้มาประสานแนวทางการกำจัดผักตบชวาในปี 2567 ขอให้โครงการฯ ไม่ปิดประตูเขื่อนเพื่อกำจัด ผักตบชวาแบบแนวทางเดิม โดยวันที่ 15 กรกฏาคม 2567 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอรรถกร สิริลัทธยากร ลงพื้นที่ร่วมกับท้องถิ่น ชาวบ้าน และหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อหารือ แนวทางแก้ไขปัญหา ให้ประชาชนด้านเหนือเขื่อนเดือดร้อนน้อยที่สุด โดยแนวมีแนวทาง ดังนี้ 1.ให้จังหวัดนครนายก และจังหวัดปราจีนบุรี ทำการจัดเก็บผักตบชวาที่ต้นทางให้ไหลลงแม่น้ำมากที่สุด 2. จัดเก็บที่ต้นทาง คือสะพานบางขนาก โดยพยายามจัดเก็บให้ได้มากที่สุด 3. ทำการเก็บที่เขื่อนบางปะกง โดยขอให้ปิดบาน จำนวน 2 บานเพื่อจัดเก็บในส่วนที่หลุดลงมา 4. ส่วนที่ไหลผ่านเขื่อนบางปะกง ขอให้โครงการฯ ทำการติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้นซึ่งทางสมาชิกวุฒิสภาได้ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมกันบูรณาการแก้ไข ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนและหากสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในระยะยาว ก็จะเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนได้มากยิ่งขึ้น