แนวปฏิบัติดังกล่าวเรียกร้องให้ผู้คนหันมาบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และภายในปี 73 ได้ตั้งเป้าให้ประชาชนแต่ละคนบริโภคถั่วให้ถึง 14 กก. เนื้อสัตว์ 69 กก. ไข่ 23 กก. ผลิตภัณฑ์นม 47 กก. อาหารทะเล 29 กก. ผัก 270 กก. และผลไม้ 130 กก. ต่อปี

ปริมาณแคลอรีต่อวันที่แนะนำสำหรับผู้ชาย อยู่ที่ประมาณ 2,150 กิโลแคลอรี และ ผู้หญิง 1,700 กิโลแคลอรี โดยมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบริโภคโปรตีน และตั้งเป้าหมายให้โปรตีนคุณภาพสูง มีสัดส่วนเกินครึ่งหนึ่งของการบริโภคทั้งหมดต่อวัน

 ขณะเดียวกันการบริโภคไฟเบอร์ต่อวันจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 25-30 กรัม สวนทางกับน้ำมันพืชที่ควรบริโภคเพียง 25-30 กรัม ส่วนการบริโภคเกลือควรจำกัดอยู่ที่ 5-25 กรัม และน้ำตาลที่ 25 กรัมต่อวัน

นอกเหนือจากการบริโภค แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงระบบการจัดหาอาหารให้ทันสมัย และส่งเสริมวิธีการปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยจัดให้มีการปรับปรุงคุณภาพอาหาร ขยายการวิจัยด้านโภชนาการ และเผยแพร่เครื่องมือควบคุมปริมาณอาหาร เพื่อควบคุมการบริโภคเกลือ น้ำมัน และน้ำตาลมากไปกว่านั้น มีการจัดให้มีการพัฒนาครัวกลาง การใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บและปรุงอาหารอัจฉริยะ และการปรับปรุงการจัดการขยะอาหารในครัวเรือน

 ทั้งนี้ กระทรวงต่าง ๆ ของจีน จะทำงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกนโยบายและสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน เช่น สัปดาห์โภชนาการแห่งชาติ และเทศกาลเก็บเกี่ยวของเกษตรกร

ส่วน ประเทศไทย ยังไม่มีกระทรวงไหน ออกมาให้คำแนะนำอย่างเป็นทางการ ส่วนใหญ่จะเป็นการให้คำแนะนำผ่านทางนักกำหนดโภชนาการ หรือโค้ชทางด้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งทำให้คนไทย เป็นโรคอ้วน โรคไขมัน โรคความดันสูงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการที่รับประทานอาหารตามใจปาก .