เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 68 มีรายงานข่าวจากสำนักงาน กกต. ว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ 1.แต่งตั้ง ข้าราชการจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นเจ้าพนักงานตามมาตรา 42 พ.ร.ป.กกต. เพื่อเดินหน้าคดีฮั้ว สว. และการฟอกเงิน
2.แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน ตามระเบียบว่าด้วยการสืบสวนไต่สวน 7 คน (รองเลขาฯ กกต. 1 คน ดีเอสไอ 6 คน) มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับ ความปรากฏว่ามีการฮั้ว สว.ระดับประเทศ

3.แต่งตั้งบุคคลทั้ง 7 คน เป็นคณะอนุกรรมการตามมาตรา 37 เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานของคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนตามข้อ 2 (ซึ่งจะได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ 2,500 บาท กับ 2,000 บาท)
สำหรับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 67 มีพยานเอกสาร (โพยฮั้ว สว.) ให้เลือกหมายเลข ระดับประเทศ ชุด A และ ชุด B รวม 140 คน ปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1-2 ที่มีรายชื่อตั้งแต่กลุ่มที่ 1 ถึงกลุ่มที่ 20 พบว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งวุฒิสภา จำนวน 138 คน และเป็นสำรอง 2 คน
มีมูลเป็นการทุจริตในการเลือก หรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น อันทำให้การเลือกมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม เป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการเลือกตั้งดำเนินการสืบสวน หรือไต่ส่วน เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานโดยพลันทั้งคดีอาญา หรือการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อสั่งให้เพิกสิทธิเลือกตั้ง (เมื่อศาลฎีกาแผนกเลือกตั้งรับต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่) ตามนัยมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561
โดยคดีอาญาเป็นอำนาจของดีเอสไอทำสำนวน ซึ่งเรื่องนี้มีการกระทำผิดทั้งหมด 3 กลุ่ม และแยกเป็น 3 กรรม ประกอบด้วย 1.กลุ่มแรก/ความผิดกรรมแรก เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอั้งยี่ เป็นความผิดทันทีที่เข้าร่วมกลุ่ม/โดยหัวหน้าจะมีโทษหนักขึ้น กรณีนี้อยู่ในอำนาจของดีเอสไอที่จะดำเนินคดีได้
2.กลุ่มแรก/ความผิดกรรมที่สอง เมื่อมีการกระทำผิดตามที่ตกลงกัน ตามข้อ 1.เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง (การฮั้วเลือกตั้ง สว.) ซึ่งอยู่ในอำนาจของ กกต.
3.กลุ่มสาม/ความผิดกรรมที่สาม ในเรื่องฟอกเงินอั้งยี่ ซ่องโจร ความมั่นคง ม.116 และ พ.ร.ป. ได้มาซึ่ง สว. เมื่อมีการกระทำผิดและเปลี่ยนแปลงสภาพเงินที่ได้จากการกระทำผิดอันเข้าลักษณะฟอกเงินแล้ว ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง อยู่ในอำนาจของดีเอสไอที่จะดำเนินคดีได้