สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดในกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และยังเป็นความผิดพิสูจน์ได้ยากที่สุด แม้มีการยอมรับมาตั้งแต่ปี 2491 ตามอนุสัญญาของยูเอ็น

อนุสัญญาดังกล่าว กำหนดให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เป็นการกระทำ 1 ใน 5 ประการที่ “กระทำโดยมีเจตนาทำลายกลุ่มชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือศาสนาทั้งหมดหรือบางส่วน” ขณะที่การกระทำอื่น คือ การสังหารสมาชิกของกลุ่ม ทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจอย่างรุนแรง สร้างสภาพแวดล้อมที่ตั้งใจทำลายกลุ่ม ขัดขวางการเกิด และบังคับเด็กให้ออกจากกลุ่ม

ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ในกรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 เพื่อพิจารณาคดีผู้ก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขณะที่การสังหารหมู่ในอดีตหลายคดี ต้องใช้เวลาหลายปี กว่าจะพิสูจน์ยืนยันได้ว่า เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

https://twitter.com/AJEnglish/status/1900102361458135440

การสังหารหมู่ชาวอาร์เมเนียหลายแสนคน เมื่อปี 2458 เพิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอีก 70 ปีต่อมา คือเมื่อปี 2528 โดยยูเอ็นและรัฐบาลของสหรัฐ ฝรั่งเศส และเยอรมนี ขณะที่ตุรกีออกมาปฏิเสธอย่างแข็งขัน

เหตุการณ์สังหารหมู่ซเรเบนีตซา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามบิสเนีย ทำให้ชายและเด็กชายชาวมุสลิมเกือบ 8,000 ราย เสียชีวิต เมื่อเดือน ก.ค. 2538 ได้รับการยอมรับว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) หรือศาลโลก เมื่อปี 2550

ด้านศาลพิเศษคดีเขมรแดง ที่ได้รับการสนับสนุนจากยูเอ็น ตัดสินให้ผู้นำระดับสูง 2 คน ของรัฐบาลเขมรแดง ซึ่งปกครองกัมพูชา ระหว่างปี 2518-2522 มีความผิดฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในการตัดสินเมื่อปี 2561.

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES