การขอสินเชื่อเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะมันไม่ใช่แค่เงินที่ได้มาง่าย ๆ แต่เป็นภาระผูกพันทางการเงินระยะยาว หลายคนมองว่าสินเชื่อเป็นทางออกของปัญหาการเงิน แต่ความจริงแล้ว หากไม่มีการวางแผนที่ดี สินเชื่อก็จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการเงินที่ยากจะแก้ไขแทน ในบทความนี้ จะพาคุณไปรู้จักกับ 5 ข้อห้ามที่ควรรู้ไว้ก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อธนาคาร เพื่อให้คุณสามารถวางแผนใช้สินเชื่อได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่กับดักที่นำไปสู่วงจรหนี้ที่ไม่สิ้นสุด


1. ห้ามกู้เงินเกินความสามารถในการชำระ

เริ่มต้นกันที่ข้อแรก ก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อ ควรประเมินรายรับ-รายจ่ายของตัวเองก่อน โดยต้องมีภาระหนี้ทั้งหมดไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน เพราะหากกู้เงินที่มากเกินไปจะทำให้คุณมีเงินไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งส่งผลเสียต่อประวัติเครดิตของคุณในระยะยาว ดังนั้น ควรพิจารณากู้เฉพาะจำนวนที่จำเป็นและสามารถผ่อนชำระได้อย่างสบาย ๆ โดยไม่กระทบต่อคุณภาพชีวิต


2. ห้ามกู้เงินโดยไม่มีแผนรับมือภาระหนี้

ถึงแม้จะมั่นใจแล้วว่า กู้เงินครั้งนี้จะมีเงินพอสำหรับการชำระค่างวดคืน แต่ถ้าขาดการวางแผนที่รอบคอบก็อาจจะทำให้ปัญหาทางการเงินในอนาคตได้ ดังนั้น ควรมีแผนรับมือที่รอบคอบว่าจะนำเงินจากแหล่งใดมาชำระคืน และมีแผนสำรองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น หากตกงานหรือมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ทั้งนี้ การวางแผนชำระหนี้ล่วงหน้าช่วยให้คุณมั่นใจว่าจะสามารถจัดการภาระหนี้ได้ตลอดระยะเวลาผ่อนชำระ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม อีกทั้งยังช่วยให้คุณสามารถจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


3. ห้ามกู้ไปชำระหนี้ให้คนอื่น

การกู้เงินไปชำระหนี้ให้คนอื่นเป็นความเสี่ยงสูงมาก และไม่ควรทำที่สุด ไม่ว่าคนนั้นเราจะสนิทขนาดไหน เพราะนอกจากคุณจะต้องรับภาระหนี้แทนแล้ว ยังไม่มีหลักประกันว่าบุคคลนั้นจะรับผิดชอบชำระคืนให้คุณ หลายกรณีพบว่า ความสัมพันธ์เสียหายเมื่อเกิดปัญหาในการชำระคืน หากคุณอยากช่วยเหลือคนอื่น ควรพิจารณาวิธีอื่นที่ไม่เสี่ยงต่อสถานะทางการเงินของตัวเอง เช่น ช่วยวางแผนการเงิน แนะนำแหล่งสินเชื่อที่เหมาะสมหรือช่วยเหลือด้านอื่นที่ไม่ใช่การเงินโดยตรง เพราะการกู้แทนอาจทำให้คุณต้องแบกรับภาระหนี้เพียงลำพัง

4. ห้ามกู้ไปลงทุน

การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ก่อนจะตัดสินใจลงทุน ควรศึกษาให้ดีว่ามีเงื่อนไขและรายละเอียดอย่างไรบ้าง ถึงแม้หลายคนจะมองว่า การทำเงินไปลงทุนจะทำให้คุณได้กำไรส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนกับดอกเบี้ยเงินกู้ได้ แต่ความจริงแล้ว ตลาดการลงทุนมีความผันผวนและไม่แน่นอน ในขณะที่ภาระการชำระหนี้เป็นสิ่งที่แน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงไม่แนะนำให้กู้เงินเพื่อมาลงทุน หากการลงทุนขาดทุน คุณจะประสบปัญหาซ้ำซ้อน คือทั้งสูญเสียเงินจากการลงทุนและยังคงมีภาระต้องชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย การลงทุนควรใช้เงินออมส่วนเกินที่คุณสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ไม่ใช่เงินกู้ที่มีต้นทุนแน่นอน


5. ห้ามหนีหนี้

การหนีหนี้เป็นทางออกที่ผิดและนำมาซึ่งผลเสียร้ายแรงในระยะยาว เมื่อคุณหยุดชำระหนี้โดยไม่มีการเจรจากับเจ้าหนี้ สถาบันการเงินจะดำเนินการติดตามทวงถามหนี้ทั้งทางโทรศัพท์ จดหมายหรือส่งเจ้าหน้าที่มาพบ และหากยังไม่มีการชำระ อาจนำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งอาจส่งผลให้ทรัพย์สินถูกยึด ถูกอายัดเงินเดือนและมีประวัติเครดิตเสียหายยาวนาน หากคุณกำลังเผชิญปัญหาในการชำระหนี้ มีหนี้หลายก้อนมากเกินไปจนรับมือไม่ไหว แนะนำให้รวมหนี้เป็นก้อนเดียวด้วยบริการโอนยอดหนี้ จากสินเชื่อส่วนบุคคล แคชทูโก รวมยอดหนี้ได้สูงสุดถึง 4 รายการ อัตราดอกเบี้ยถูกลง ยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระออกไปนานยิ่งขึ้น ช่วยให้คุณสามารถวางแผนและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ดียิ่งขึ้น ผ่อนได้ตั้งแต่ 12 – 72 เดือน ดอกเบี้ยต่ำลง พิเศษพร้อมรับส่วนลดดอกเบี้ย 2% เพียงแค่ใช้บริการผ่านบัญชี ออลล์ ฟรี 5 ครั้ง/เดือน พร้อมสมัครบริการหักบัญชีอัตโนมัติ สมัครง่าย ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือคนค้ำประกัน เตรียมเอกสารใหพร้อม ช่วยเพิ่มโอกาสในการอนุมัติภายใน 1 – 3 วัน แบ่งเบาภาระให้คุณจัดการรายการค่าใช้จ่ายได้คล่องตัวมากขึ้น

สรุปบทความ

การขอสินเชื่อควรมีการพิจารณาและวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเงินในอนาคต โดยควรระวัง 5 ข้อห้ามหลัก ได้แก่ การกู้เงินเกินความสามารถในการชำระหนี้, การกู้โดยไม่มีแผนรับมือภาระหนี้, การกู้ไปชำระหนี้ให้คนอื่น, การกู้ไปลงทุน, และการหนีหนี้ ทั้งนี้ การวางแผนการเงินที่ดีและการมีความรับผิดชอบในการจัดการหนี้สามารถช่วยให้คุณใช้สินเชื่อได้อย่างคุ้มค่าและหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของปัญหาหนี้สินที่ยากจะหลุดพ้นได้

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว : สินเชื่อส่วนบุคคล แคชทูโก อัตราดอกเบี้ย 18% – 25% ต่อปี เงื่อนไขการสมัครและอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด